การหนุนเสริมเยาวชนในโครงการรักษ์ส้มรังสิตคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม

ครูขวัญชีวิต นุชบัว (ขวัญ) จบการศึกษาปริญญาตรีศึกษาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเป็นครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี

ครูขวัญ เล่าถึงแรงบันดาลใจและเหตุผลที่ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนว่า “อยากสร้างเยาวชนให้เป็นผู้นำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม”

ครูขวัญซึ่งมีทักษะของคุณครูนักวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การสำรวจ การสังเกต ตั้งข้อสงสัย ทดลองและตรวจสอบให้เห็นข้อเท็จจริง ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษา และช่วยประสานงานการจัดกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม อีกทั้งนำ สร้างแรงจูงใจในการทำโครงการและโครงงาน

การทำงานในโครงการนี้ทำให้ครูขวัญวางแผนและทำงานอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้

สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันการได้ค้นพบหลักการทำงานกับเยาวชนและผู้อื่นคือการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของเยาวชน เพราะเยาวชนแต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน การฟังเสียงสะท้อนจากบุคคลอื่นต่อเนื้องานของตัวเอง พร้อมกันนั้นครูขวัญชี้ให้เห็นว่าการที่จะทำงานสำเร็จคือการรู้จักยอมรับผู้อื่น โดยการให้ความสำคัญกับตนเองให้น้อยลง และให้ความสำคัญกับผู้อื่นให้มากยิ่งขึ้น นั่นหมายถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จนั่นเอง “เราเป็นพี่เลี้ยงก็จริง เราก็ต้องยกย่องให้คนอื่นเป็นพี่เลี้ยงสำหรับเราด้วย เพราะฉะนั้นเราต้อง drop ความสำคัญของตัวเองให้น้อยที่สุด แต่ยกความสำคัญของคนอื่นให้มากที่สุด งานถึงจะประสบผลสำเร็จ” อยากสอนเด็ก เราก็ต้องเข้าใจเด็ก เด็กแต่ละคนมีความเป็นตัวเองสูงมาก แต่เราก็ต้องให้เขารับฟังคนอื่นบ้าง อีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำคือ เราต้องทุ่มเทพาให้เขาเข้าไปร่วมกิจกรรมภายนอก พาเขาไปร่วมกิจกรรมภายนอก เขาจะได้สิ่งที่ดีๆ กลับไป แล้วกลับจากกิจกรรมตัวเขาก็ต้องกลับไปทำกิจกรรมกับน้องๆ อย่างเช่นจะเรียกน้องประชุมอย่างนี้ ไม่ได้ทำครั้งเดียวสำเร็จ ต้องวางแผนหลายๆครั้ง อย่างของน้ำมนต์นี้สามครั้ง ทำอย่างไรให้เด็กที่เข้ามาทำกิจกรรมรู้สึกว่าเข้าร่วมแล้วได้ความรู้ สนุกสนาน บางครั้งเราไม่ไปดูนะ เราจะนั่งอยู่ที่ห้องอย่างเดียว เพราะเราเป็น Trainer ให้เขาไปทำ แล้วก็จะมีเด็กคนอื่นมาบอกเรา ก็จะรู้ว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเขา” ความเปลี่ยนแปลงไปนี้ก็คือ จากที่ครูขวัญต้องเป็นตัวหลัก เป็นคนวางแผนให้กับเด็กในการทำโครงการการ กลับกลายเป็นครูขวัญไม่ทำ แต่ให้เด็กๆ เขาทำกันเอง ให้เขาช่วยกันปรับ ช่วยกันดู ตอนนั้นครูขวัญก็เพียงบอกเด็กว่า “เธอ 15 คน เธอไปแบ่งกันมาว่าอยากทำอะไร จนมารู้อีกทีคือตอนอบรม เห็นผลที่เกิดขึ้น” จึงทำให้ครูคนนี้ต้องกลับมาทบทวนตนเองเป็นระยะ แล้วค่อยๆ ก้าวไปและเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ เพราะตัวเองก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเช่นกัน