บทบาทการหนุนเสริมเยาวชนในโครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน

กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ครูที่ปรึกษา

­

แรงบันดาลใจ “อยากพัฒนาศักยภาพการทำงานของกลุ่มชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กเยาวชนให้รักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง”

ความสามารถ/เด่น การบูรณาการโครงการและกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชน การ

ระสานความมือกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนในเครือข่าย การแสวงหาแหล่งทุนในการสนับสนุนกิจกรรมนักเรียน

บทบาท การหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน / กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ การแสวงหาทุนและพื้นที่ให้เด็กเยาวชนเข้ามาแลกเปลี่ยนและมีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อม และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหนุนเสริมกระบวนการให้กับนักเรียนในชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยสนับสนุนกระตุ้นให้เด็กได้คิดวิเคราะห์วางแผนการทำงานร่วมกัน

จากครูผู้สอนเป็นครูที่ปรึกษาให้กับเด็ก ซึ่งคุณครูได้มีกระบวนการในการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับเด็ก ทำให้ลดช่อว่างระหว่างวันของครูและนักเรียน และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับเด็ก ๆ ได้ทุกเรื่อง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากบทบาทในการเป็นครูพี่เลี้ยงกับกลุ่มเยาวชนในฐานะผู้ให้คำปรึกษา ผู้ให้กำลัง ใจ เป็นเพื่อนทางความคิดและประสบการณ์กับเด็ก

“ก่อนเข้าร่วมโครงการเป็นคนพูดน้อยแต่ทำมาก แต่พอเด็กมามีส่วนร่วม และเข้าร่วมโครงการ กลายเป็นเปลี่ยนตนเองว่าเป็นคนพูดมากแต่ทำน้อย ก็เป็นเพียงแค่การสร้างความเข้าใจให้กับเด็กเท่านั้น”

“กิจกรรมช่วยลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็กลดน้อยลง การทำงานอย่างมีส่วนร่วมจะเป็นการลดช่องว่างได้อย่างดีมาก คือเขาก็เข้าใจเรา เราก็เขา ซึ่งถือว่าเราเป็นมิตรแท้กับเขา แต่ว่าต่างวัยเท่านั้นเอง” ซึ่งเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของครูด้วย ต่อมาเราก็เลยมาคิดว่า เอ๊ะ เราจะทำอะไรกับเด็กดีนะ จะได้กลมกลืนกับวิชาเรียนก็คือทำเรื่องกิจกรรมให้มีสาระ แล้วสาระวิชาก็มีกิจกรรม ก็เลยเกิดโครงการที่มีชื่อว่า “โครงงานวิทย์ฯ สู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งชื่อก็เป็นวิชาการหน่อย ก็คือเอาโครงงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนเลย การเรียนการสอนก็เปลี่ยนไป แต่เดิมครูจะเป็นคนสอนอย่างเดียว เราก็เรียนรู้จากเด็กและนำไปสอนในสาระวิชาการที่เราสอนได้ด้วย การเรียนเก่งเราก็มองว่าไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน แต่ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก....โครงการนี้ที่มันแตกต่างจากโครงการอื่น โครงการอื่นทำเสร็จแล้วจบ แต่โครงการนี้สอนในเรื่องความยั่งยืน ตรงนี้มีคุณค่ามากกว่ารางวัลที่เราได้รับ สิ่งที่เด็กและครูได้มันคือความยั่งยืนในการเรียนรู้” ครูกล่อมจิต ดอนภิรมณ์ กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้

สิ่งที่เห็นและสัมผัสได้จากกิจกรรมในวันนี้ คือความตั้งใจ และ เอาใจใส่ดูแลร่วมกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นในการทำกิจกรรมเล็ก ๆ ในชุมชน หากช่วยกันทำอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดความยั่งยืน แค่เพิ่มเติมรายละเอียดใส่ความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนร่วมคิดร่วมสร้างวิธี จัดการเพื่อให้ต้นไม้ได้เติบใหญ่กลายเป็นป่า ให้คนในชุมชนได้ร่วมกันใช้และร่วมกันดูแลรักษานี่แหละคือความงดงามของชุมชน เล็กๆ ที่ อ.ร่องคำ ที่ช่วยกันสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน พลิกฟื้นฟูห้วยทรายให้กลับคืนมา“มีน้ำ มีป่า มีความสมบูรณ์ทางอาหาร” ดั่งที่ทุกคนคาดหวังคงอีกไม่ไกล”