การเรียนรู้จาการทำโครงการฟื้นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ

สุกัญญา คำพิมพ์ (เลย์) กำลังศึกษา ม.6 โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ จ.เพชรบูรณ์

­

“เมื่อก่อนต้องรอรถขายผัก อาหารกับข้าวมาขาย แล้วก็ไปซื้อจากรถพุ่มพวง(รถขายกับข้าว) เวลารถพุ่มพวงไม่มาขายกับข้าวก็จะไม่มีกับข้าวกิน วันนั้นเหลือวุ้นเส้นถุงเดียวในตู้เย็น เลยนึกได้ว่าเรารอไม่ได้แล้ว”

เลย์ ได้บอกเล่าถึงการเข้ามาทำโครงการ “เพื่อนชวนให้เข้ากลุ่มก็เข้าไปไม่ได้สนใจกิจกรรมมากนัก ด้วยคิดว่ามันไม่ได้สำคัญอะไรกับเรามากนัก “เข้าไปเฉยๆ เขาชวนไปไหนก็ไป” ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมในชุมชนว่าจะมีมากแค่ไหนเหลือน้อยแค่ไหน พันธุ์พืชอะไรจะสูญพันธุ์ พันธุ์พืชอะไรที่เหลือน้อย เมื่อก่อนเราไม่สนใจสิ่งแวดล้อมแต่ทำไมเดี่ยวนี้เราสนใจ ที่ชุมชนทำเรื่องศูนย์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน การปลูกพืชสวนครัวไว้กินเอง เป็นพืชในท้องถิ่นที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ เช่น ชะอมป่า

แรงสนับสนุนที่สำคัญของการทำงานของเด็กเยาวชน คือ การที่พี่เลี้ยงโครงการเป็นคนในพื้นที่ อยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่และสถานการณ์ ทำให้สามารถปรับและประยุกต์การทำงานในพื้นที่ได้หลากหลาย และบูรณาการการทำงานให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมได้ในทุกกิจกรรมในชุมชนไม่ให้แยกส่วน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เมื่อเด็กเยาวชนได้เข้ามาอยู่ในวงกิจกรรมของผู้ใหญ่ก็จะทำให้เข้าใจมากขึ้น นอกจากเด็กเยาวชนจะได้เรียนรู้แล้ว ชาวบ้านและพี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้การทำงานกับเด็กเยาวชนด้วยเช่นกัน