เผาถ่าน" ของเด็ก(เคย) "ไม่เอาถ่าน

"เผาถ่าน" ของเด็ก(เคย) "ไม่เอาถ่าน"


นายวิชานันต์ อัตนิวาต หรือ น้องยิม (อดีต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2) เล่าถึงจุดพลิกผันของตัวเองว่า เริ่มจากครูอันเรซึ่งเป็นครูที่ปรึกษาชมรมคนเอาถ่านเห็นว่า “ยิม” ไม่สนใจเรียน จึงได้สอนเรื่องการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ เมื่อฟังทุกวันจึงเกิดการซึบซับ เริ่มรู้สึกอยากเป็นคนดี อยากทำอะไรดีๆ เพื่อแม่ จึงลองเข้าชมรม “คนเอาถ่าน” เพราะอยากลองทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันกับเขาบ้าง

­

“เชื่อ ไหมว่าแต่ก่อนผมไม่เคยคิดว่าผมจะเรียนจบ ม.6 ผมไม่เคยฝันว่าผมจะได้เกียรติบัตร ม.6 ผมมาโรงเรียนไปวันๆ มาอยู่กับเพื่อน ทำงานแค่พอให้ตัวเองรู้ว่ามีสังกัดที่เรียน ไม่เคยคิดจะสนในเรียน มาเรียนก็นอน ฟังอาจารย์บ่น จนครูอันเรบอกว่า “คุณใกล้จะจบแล้วนะ คุณต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น” ทำให้ผมคิดได้ว่า “เออ เราก็โตแล้วนะ” แล้วผมเคยกลับบ้าน เห็นพ่อแม่นั่งร้องไห้ นั่งรอผมเข้าบ้าน ผมก็คิดได้ว่าพ่อแม่อดนอนเพราะผม และสะท้อนว่าทำไมถึงต้องทำให้พ่อแม่เสียใจได้ขนาดนี้ ก็เลยทำให้คิดได้ว่า ทำไมเราไม่ทำตัวอย่างแบบครูอันเร ลองมาใช้เวลาเหมือนคนปกติเขาบ้าง

­

ตอน แรกผมก็สงสัยว่าการเผาถ่านจะเปลี่ยนพวกผมให้เป็นคนดีได้อย่างไร แต่แล้วก็ทำได้จริงๆ เพราะครูมีแนวคิดที่ดี ทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน เริ่มแรกครูอันเรจะพาพวกผมไปเข้าค่ายสัมพันธมิตร ที่ศูนย์สังคมพัฒนา จ.สระแก้ว เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้เรื่องการทำนา วิถีชีวิตชนบท การเผาถ่าน และการทำน้ำส้มควันไม้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

­

กลับ มาจากค่าย ผมรู้สึกสนิทกับเพื่อนๆ และครูมากขึ้น รู้สึกว่าเราคุยกันได้ทุกเรื่อง และเริ่มสนุกกับการทำกิจกรรม ผมเริ่มทำกิจกรรมอย่างจริงจัง เรียนรู้วิธีการเผาถ่าน ทำถ่าน และทำผลิตภัณฑ์จากถ่านกับครูอันเร ผมรู้สึกว่าการทำกิจกรรมให้อะไรกับชีวิตมาก ไม่ใช่แค่สนุกอย่างเดียว แต่ยังให้ความรู้ ที่สำคัญที่สุดคือ ผมได้เรียนรู้เรื่อง “คุณธรรม” เกี่ยวกับความสามัคคี ความอดทน และความเสียสละ เพราะเราทำงานเป็นหมู่คณะ ร้อยพ่อ พันแม่ เราต้องอดทน ช่วยเหลือกัน งานจะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความสามัคคี

­

ผม ว่ากิจกรรมการเผาถ่านทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่ นั่นคือ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เราสามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากคนในชุมชน นอกจากนี้การเผาถ่านทำให้เราได้เรียนรู้การวางแผน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักแบ่งเวลา และเห็นคุณค่าของเงิน เพราะการทำงาน ทำให้เรารู้ว่า เราต้องทำงานหนักแค่ไหน กว่าจะได้เงินมาสักบาท ทำให้ผมรู้จักวางแผนการใช้เงินและประหยัดเงินมากขึ้น”

­

ตอน นี้วิชานันต์มีเงินเก็บสำหรับใช้เป็นทุนการศึกษาในอนาคต ที่สำคัญผลการเรียนยังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จากเมื่อก่อนได้เกรดเฉลี่ย 1 กว่า ตอนนี้ได้ประมาณ 2.1 – 2.2 อีกทั้งยังรู้สึกว่าตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น รู้จักบริหารเวลา แบ่งเวลาในการเรียน การทำกิจกรรม และมีเวลามาช่วยงานที่บ้านด้วย

­

“ถ้า เป็นเมื่อก่อน ตอนม.1-2 กลับไปบ้านก็จะขี่รถเที่ยว เสเพล กลับบ้านดึก หาเพื่อน อยู่กับเพื่อนจนถึงตี 1 ตี 2 แล้วก็นอนไม่ช่วยงานพ่อแม่เลย แต่ตอนนี้ตั้งใจเรียน มีเวลาว่างก็จะรีบทำการบ้านก่อน กลับมาถึงบ้านก็จะออกไปขายขนมหวานที่ตลาด เสาร์-อาทิตย์ก็ไปช่วยพี่ชายที่อู่รถยนต์ เพราะอยากใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่อยากทำตัวไร้ค่า ไร้สาระไปวันๆ”

­

จาก แนวคิดในการทำกิจกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับการทำงานที่เป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมกิจกรรมง่ายๆ อย่างการ “เผาถ่าน” จึงสามารถเปลี่ยน “เด็กไม่เอาถ่าน” ให้เป็นเยาวชนที่มี “คุณภาพ” ได้ในที่สุด