การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนกัลยาณวัตร

การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนกัลยาณวัตร

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”

วันที่ 27 พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

­

การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนกัลยาณวัตรทำผ่าน “โครงงาน” ที่สอนกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ให้เด็กอย่างได้ผล มีทีมเครือข่ายทำหน้าที่ขยายผลผ่านครูแกนนำ เมื่อครูเข้าใจแล้วจึงขยายผลสู่เด็ก ด้วยการคัดเลือกหัวหน้าห้องหรือรองหัวหน้าห้องเข้ามาร่วมขับเคลื่อน นำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารให้เพื่อนในห้องได้รับรู้ การสอดแทรกหลักปรัชญาฯ ผ่านโครงงาน ทำให้เด็กคิด “กระบวนคิด” ด้วยตัวเอง สามารถต่อยอดได้ เมื่อเด็กคิดได้ทำได้ เด็กจะนำไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนในที่สุด

­

โรงเรียนกัลยาณวัตรพื้มีนที่ 19 ไร่ มีนักเรียนประมาณ 4,000 คน การบริหารการจัดการพื้นที่จัดเป็นสวนใบเตยให้เด็กได้ศึกษา มีการปลูกผักเลี้ยงปลาให้เด็กเรียนรู้ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนกัลยาณวัตรทำผ่าน “โครงงาน” เพราะคิดว่าโครงงานเป็นการสอนกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ มีทีมเครือข่ายทำหน้าที่ขยายผล การขยายผลกับครูแกนนำ แรกๆ ครูก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้หลักปรัชญาฯ เพราะเขามุ่งไปที่การสอนอย่างเดียวคือเกษตร แต่ด้วยพื้นที่เกษตรของเรามีน้อย จึงมาคิดกันใหม่ว่าน่าจะการจัดการเรียนรู้สู่ห้องเรียนจริงๆ โดยทำเป็นโครงงาน

­

เมื่อครูแกนนำที่ไปอบรมด้วยกันมาขยายผลแล้ว ครูเริ่มเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นว่า แก่นแท้จริงของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร แต่ก็ยังมีครูบางคนไม่ยอมรับ เราต้องทลายความคิดของเขาก่อน ให้เขาก็ ใช้เวลานานพอสมควร เมื่อครูเข้าใจแล้วก็จะลงสู่เด็ก นำเด็กแกนนำมาก่อนเพื่อขยายผลในห้องเรียนอาจจะเป็นหัวหน้าหรือรองหัวหน้าก็ได้ให้เขาเลือกมาเอง เมื่อไปสื่อสารแล้วได้ผล เพราะเด็กเกินครึ่งเริ่มเข้าใจ โดยเฉพาะใน วิชาสังคมซึ่งเป็นตัวแม่ที่สอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเด็กก็ได้หมด เด็กที่ไม่ได้คือเด็ก ม.1กับ ม.4 ที่เข้ามาใหม่ แต่เรามีวิธีคือให้ครูเข้าไปพูด “การที่พวกเราเรียนนั้นไม่ได้แค่เพียงมุ่งเรียนอย่างเดียว แต่เราจะต้องมีคุณธรรมด้วย” เพราะเราเป็นเครือข่ายและเป็นแกนนำ เราพยายามหาเครือข่ายเพื่อขยายผลไปสู่จังหวัดอื่น ๆ โดยการไปเป็นวิทยากร ครูที่ไปเป็นวิทยากรส่วนใหญ่เป็นครูจิตอาสา เพราะเวลาที่เราไปให้ความรู้ส่วนใหญ่จะเป็นวันเสาร์และอาทิตย์ ตอนนี้เราเริ่มขยายผลสู่ชุมชนด้วย

­

จากเกณฑ์การประเมินของ สมศ.อัตลักษณ์ของเราคือความพอเพียง สำหรับโรงเรียนพระราชทานเราเน้นความพอเพียงและมุ่งสู่ไอซีทีด้วย ถามว่าพอเพียงได้อย่างไร ด้วยความที่บริบทของโรงเรียนเป็นความพอเพียงที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน คอมพิวเตอร์ก็ให้เด็กได้ใช้สืบค้นได้เต็มที่ ดีกว่าที่ให้เด็กต้องไปใช้ข้างนอกสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง เด็กรู้จักอดออม สอนให้เด็กทำด้วยตัวเอง เพราะเมื่อเขาทำเขาก็จะตกตะกอนและตกผลึกด้วยตัวเอง นี่คือลักษณะการขับเคลื่อนในโรงเรียน

­

โรงเรียนมีจุดเด่นอยู่ในเรื่องการทำโครงงาน ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน เด็กเริ่มคิดและตระหนักรู้มากขึ้น ประกอบกับเรามี World Class เข้ามาจับ จึงนำเอาโครงงานของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปจับด้วย “โครงงานสุขสร้างสรรค์สู่ชุมชน” เป็นการคิดสร้างสันที่เป็นครอสของ C.A.I ของโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนเราได้ทั้งความพอเพียงและ World Class เมื่อเขาได้เรียนรู้ เขาจะรู้จักเก็บเงิน เวลาจะซื้ออะไรเขาจะเริ่มคิดว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เด็กจะคิดของเขาว่าหลังจากที่เรียนตัวนี้ไปแล้ว ความพอเพียงของเขาเป็นอย่างไร แล้วเขาช่วยพ่อแม่ได้มาก เขาก็ภูมิใจ ผู้ปกครองเองก็มีส่วนร่วม พอจัดกิจกรรมโครงงานเราเชิญหมดทั้งชุมชน เช่น โครงงาน “มหัศจรรย์จิ้งหรีดน้อย” บ้านเด็กเขาเลี้ยงจิ้งหรีด เขาเอาตัวนั้นมาศึกษา เราก็เอามาบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ เขาเอาสมุดบัญชีมาจดนั่นคือตัวที่เขาทำโครงงาน ส่วนคณิตศาสตร์ก็คิดเป็นรายได้ เป็นร้อยละซึ่งกลุ่มที่ได้ ถามว่าเรียนเก่งไหม ไม่เลย แต่พอได้ทำ เขารู้ว่านี่คือวิถีชีวิต เป็นอาชีพของพ่อแม่ เขานำเอาจุดนี้มานำเสนอที่ห้อง และกลายเป็นอาชีพเสริมให้กับเด็กนักเรียนด้วย และที่สำคัญคือเขาเอาไปแก้โจทย์สมการในการหาไข่ของจิ้งหรีดโยงไปสู่การเรียนของเขา เราเองก็ภูมิใจเขา เพราะเขาสามารถต่อยอดได้ เขาจับใส่ของเขาเอง นักเรียนจะไปสังเกตดูว่าไข่วันนี้มีสี่ฟองถัดไปเป็นแปดฟองเขาก็อธิบายของเขาเอง เด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากการทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อคนเก่งก็จะเห็นแก่ตัว แต่ปัจจุบันนี้ต้องบอกว่าคนที่เรียนเก่ง เรียนอ่อน เรียนปานกลางเขาก็เริ่มดูแลกัน และมีกระบวนการกลุ่มกลุ่ม คิดอย่างไร เริ่มต้นทำอย่างไร มีการศึกษาด้วยตัวเขาเอง ครูทำหน้าที่เป็นแค่ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ถ้าเขาติดตรงไหนเขาก็มาถาม จะเหมือนกันทุกวิชา ภาษาอังกฤษบางคำเขาจะไปหาของเขาเอง ภาษาไทยแต่งกลอนเขาจะฝึกของเขา แล้วค่อยไปถาม แรกๆ จะติดขัด เพราะครูต้องลงไปด้วยเพราะโครงงานถ้าเด็กคิดไม่เป็นจะยาก แต่พอหลังจากที่เขาคิดได้ มันจะมาจากข้างในเลย การที่ทำให้เด็กตกตะกอนได้จะมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของเด็กด้วย

­

โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกภูมิใจที่นำหลักปรัชญาฯ ไปขับเคลื่อน เพราะเป็นผลดีจริงๆ เด็กมีความเอื้ออาทรมากขึ้น มีความรับผิดชอบสูงขึ้น เพราะมันอยู่ในการงานอาชีพอยู่แล้ว ที่โรงเรียนจะเขียนว่าขั้นตอนของการปฏิบัติเวลาทานข้าว เข้าแถวซื้อของให้เข้าแถวตลอดให้ติดเป็นนิสัย พอไปถึงบ้านไม่ต้องพูดยาก พ่อแม่สบายขึ้น แรกๆ ก่อนเข้ามาโรงเรียนผู้ปกครองจะบ่นมาก แต่หลังจากประชุมผู้ปกครองชื่นชม เขาเอ่ยปากว่า “ขอขอบคุณครูโรงเรียนกัลยาวัตรที่ดูแลลูกหลานได้ดี” นั่นเป็นตัวสะท้อนอย่างดีว่าเราใส่ใจเขาแค่ไหน ระบบข้างในหากเด็กทำได้จะนำไปสู่ครอบครัวของเขาเอง มุ่งสู่ชุมชนละแวกนั้น เขาก็จะไปบอกชุมชนเลย หลายคนพอจบออกไปเขาไปเรียนต่อแล้วรับงานพิเศษ พอเขาได้เรียนรู้จากกลุ่มสาระ เขาจับอะไรได้เขาก็จับ เขาจะรู้ตัวว่าเขาเก่งด้านไหน จะเดินไปด้านไหนได้ บางคนไม่กล้า แต่เมื่อเราให้โอกาสกับเขา เด็กจะกล้าขึ้น เป็นการจุดประกายในตัวของเขา เขาอยากทำอะไรให้เขาคิดเอง แล้วไปนำเสนอครูประจำชั้นกับครูที่ปรึกษา หากครูบอกทำได้ เขาจะลงมือทำ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหาได้หมด