การประชุมเชิงปฎิบัติการผู้ประสานงานภูมิภาค โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 2/2555

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมวินเซอร์สวีทส์ สุขุมวิท 20

โรงเรียนรัษฏานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) คือครูทุกคนต้องมีแผนการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อย 1 หน่วยการเรียนรู้ และครูขับเคลื่อนต้องอยู่ในทุกหมวดรายวิชาใช้หลัก “ทำให้ดู อยู่ให้เห็น” และยกย่องเชิดชูคนที่ทำดี มีการขยายผลไปสู่ชุมชน 30 แห่ง โดยดึงชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาสอนเด็ก การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัษฏาดำเนินงานในรูปแบบ “คณะกรรมการ” มีการแบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจน เชื่อว่าเมื่อผู้บริหารย้าย และมีผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาก็สามารถสานงานต่อได้ทันที

­

โรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรังได้รับแบบอย่างการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาจากการเรียนรู้ดูงานที่โรงเรียนเขลางค์นคร จังหวัดลำปางกอปรกับบริบทชุมชนเป็นชุมชนเกษตร บวกด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียน แรกเริ่มมีทีมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 10 คน ปัจจุบันมีเกือบ 40 คนแต่หากนับครูที่เข้าร่วมปฏิบัติงานแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการแล้วพบว่ามีประมาณ 100 คน

­

โรงเรียนรัษฏานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตามกลยุทธ์ต่างๆของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยครูทุกคนต้องมีแผนการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อย 1 หน่วยการเรียนรู้ ครูขับเคลื่อนจะต้องอยู่ในทุกหมวดรายวิชา ซึ่งบทบาทหน้าที่ของครูคือจะต้องแบ่งสันปันส่วนกัน ตามพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อครูคิดโครงการขึ้นมาแล้วต้องหาแกนนำ ครูผู้ช่วย และนักเรียนเพื่อทำโครงการไปพร้อมๆกัน มีการสร้างแรงจูงใจให้ครูเกิดความศรัทธาในการทำโครงการร่วมกัน ใช้หลัก “ทำให้ดู อยู่ให้เห็น” และยกย่องเชิดชูคนที่ทำดีนอกจากนี้ยังขยายผลไปสู่ชุมชน 30 แห่ง โดยดึงชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาสอนเด็ก จากบริบทที่มีอยู่ทำให้การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัษฏาค่อนข้างยั่งยืน เพราะมีการดำเนินงานในรูปแบบ “คณะกรรมการ” มีการแบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจน เมื่อผู้บริหารย้าย และมีผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาก็สามารถสานงานต่อไปได้ทันที