การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยยอด


“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

 

อาจารย์ สุทธิรัตน์ สอนรายวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นรายวิชาที่ให้เด็กได้คิด และค้นคว้าข้อมูลอย่างอิสระ เน้นให้เด็กมีความภูมิใจในตัวเอง รู้จักตัวเองให้มากขึ้น โดยให้แนวคิดว่า “ถ้าเด็กรู้จักและรักตัวเองแล้ว เขาก็จะรักคนรอบข้าง และครอบครัวของเขามากขึ้น จากนั้นก็จะนำไปสู่ชุมชนและสังคมต่อไป”  โดยใช้วิธีกระตุ้นให้เด็กได้คิด ค้นคว้า และลงมือทำ มากกว่าที่จะให้เด็กท่องจำ เช่น การตั้งคำถามให้เด็กได้หาคำตอบจากเรื่องใกล้ตัว “ ที่ผ่านมามีอะไรที่ทำแล้วภูมิใจ ทำไม และทำอย่างไร” เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ เพื่อนๆ ในห้องยอมรับ ตัวผู้เล่าเองก็รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และอยากจะทำความดีเพื่อสังคมต่อไป
 

การ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยยอด เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จริง ๆ แล้วใช้มาก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่เข้าใจความหมายมากนัก และใช้จริงเมื่อปี พ.ศ. 2550  เมื่อได้รับป้ายสถานศึกษาพอเพียงและทำความเข้าใจเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการรู้แจ้งอย่างชัดเจนในเรื่องของ best practices 
 

“การออกแบบการเรียนรู้” : ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนให้สอนวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นวิชาใหม่ เรียกว่า “วิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง” อยู่ในกลุ่มวิชา IS  ซึ่งมีอยู่ 3 รายวิชา นำเรื่องนี้มาทำกับนักเรียนที่จะเป็น best practices  ในอนาคต เพราะเป็นวิชาที่ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างอิสระ เด็กอยากทำอะไรทำ อยากคิดอะไรคิด แต่ต้องเป็นความคิดที่เริ่มจากว่าคุณมีปัญหาอะไรก่อน และตั้งสมมติฐานขึ้นมา สอนให้เด็กได้คิด ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องการอยู่พอดี  ให้เด็กไปศึกษาค้นคว้า เราทำหน้าที่ตั้งประเด็นหรือคอยกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้พูด และได้ทำอยู่ตลอด
 

ตั้งคำถามให้เด็กรู้ตัวเองก่อน ยกตัวอย่างว่า “ที่ผ่านมามีสิ่งใดที่นักเรียนทำแล้วภูมิใจมากที่สุด ทำไมถึงภูมิใจ และทำอย่างไรถึงภูมิใจ” เรา จะไม่บอกเด็กว่าได้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาทำกิจกรรมนั้นแล้ว  จากนั้นฝึกให้เด็กเขียน แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง หลังจากนั้นให้ออกมาพูดหน้าห้องเรียน เด็กได้บอกเล่าความภูมิใจของเขาที่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังเลย ยกตัวอย่าง เด็กนักเรียนคนหนึ่ง ในอดีตสิ่งที่เขาภูมิใจมากที่สุด ตอนเขาอยู่ ป.6 อันนี้สอนเด็กม.5 เขาสอบ NT ได้ ที่ 7 ของประเทศ ครูจะคอยถามกระตุ้นให้เด็กนักเรียนตอบถึงกระบวนการของแต่ละคน  เด็กจะมีความรู้สึกว่ามีความสุขกับการได้เรียนวิชานี้ เพื่อนเกิดการยอมรับ ใช้วิธีการกระตุ้น การต่อยอดให้เด็กคิดได้เรื่อย ๆ ให้คิดอย่างอิสระ ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก หลังจากนั้นก็จะเป็นจิตอาสา จากที่เขาคิดได้แล้วว่าเขาจะทำอะไร สู่กิจกรรมจิตอาสาเด็กมีกิจกรรมที่จะทำต่อไป ถ้าทำได้จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น  เริ่มจากคิดก่อน และทำ เขาก็มีความสุขจากกิจกรรมที่เขาทำจากชุมนุมที่ผ่าน ๆ มา เพราะว่าเขาได้คุยกับเพื่อน ๆ ได้บอกเรื่องราวในอดีตที่เขาภูมิใจ  มีเด็กนักเรียนอีกคนเขาบอกว่า ตอนเขาอยู่อนุบาล เขาภูมิใจมากที่เขาขี่จักรยานได้
 

ราย วิชา IS ย่อมาจาก Independent Study หรือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง  มี 1 - 3 วิชา ซึ่งเป็นรายวิชาของโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลต้องเริ่มสอนวิชานี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ธรรมชาติวิชาคือ ตอนแรกต้องการให้เด็กตั้งปัญหา สมมติฐาน เสร็จแล้วก็ศึกษาค้นคว้า คือ  IS 1  หลังจากนั้นก็มานำเสนอผลงาน เรียกว่า IS 2 จากเรื่องที่เด็กคิด เด็กนำเสนอสิ่งที่เด็กเรียนรู้มา ก็นำสู่สังคม เป็นจิตสาธารณะ เป็น IS 3 
 

เรา จะพาไปเรื่อยๆ  ให้เด็กพาทำเรื่อย ๆ แต่เราไม่บอกเขา ต้องการให้เด็กค้นคว้าด้วยตัวเอง ตลอด รายวิชา  IS1 - 3 จะเชื่อมโยงไปด้วยกัน ต้อง IS 1 ก่อนแล้วไป 2 - 3 ตัว 2 กับ 3 จะไปพร้อมๆ กัน ควบคู่กันได้ ภาคเรียนที่ 1 จะเป็น IS 1  หนึ่งภาคเรียน เด็กนักเรียนอยากจะรู้อะไร ตั้งคำถาม เราให้เด็กเรียนรู้เรื่องใกล้ตัวก่อน ต่อไปก็ IS 2 เด็กก็จะรู้จักตัวเองมากขึ้น ถ้า IS 3 อาจจะมีการขึ้นเว็บไซต์เผยแพร่ เวลาที่มีงานวัด เด็กก็จะไปช่วย เพราะคำว่าจิตอาสานั้นฝังลึกลงไปในจิตใจของเด็ก มีความศรัทธา เป็นอุปนิสัยพอเพียง เด็กเขาจะมาเล่าให้ฟังว่าเวลาที่เขาทำแล้วเขามีความสุข ที่เราสอนเพราะเราก็ต้องการตัวนั้น