อาจารย์อภิญญา ภู่สะอาด หัวหน้าระดับ ม.4/อาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุม “Young Volunteer”

อาจารย์อภิญญา  ภู่สะอาด  หัวหน้าระดับ ม.4/อาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุม “Young Volunteer”

จิตวิญญาณ...ความเป็นครู หากครูท่านใดที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ถึงแม้ว่างานจะหนักหนาสักเพียงใด ครูก็จะไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือว่าท้อแท้ เนื่องจากว่าครูต้องตระหนักอยู่แล้วว่าเป็นหน้าที่ของความเป็นครู เป็นความรับผิดชอบของครู สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นจากภายในของตัวครูก่อน แต่หากถามถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่เด็ก เด็กได้รับผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด สามารถตอบได้เลยว่าเด็กได้รับประโยชน์มาก สังคมก็ได้รับประโยชน์มาก ประเทศชาติก็ได้รับประโยชน์มาก ส่วนตัวผู้ปกครองก็ได้รับผลประโยชน์จากส่วนนี้ไปด้วย
ปัจจุบันผู้ปกครองเลี้ยงบุตรหลานไม่ค่อยถูกวิธี ผู้ปกครองขาดการสอนวิธีการให้ที่ถูกต้องกับบุตรหลาน คือผู้ปกครองให้กับเด็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เด็กไม่เคยให้ตอบแก่ผู้ปกครองเลย ส่วนมากผู้ปกครองจะเป็นผู้ให้ตลอด ดังนั้นเด็กจึงเคยชินกับการรับเพียงอย่างเดียว ด้วยความที่ตอนเป็นเด็กไม่ได้ถูกฝึกให้เป็นผู้ให้ ไม่เคยถูกฝึกให้เป็นผู้เสียสละ  ในวันข้างหน้าเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ พอได้เข้าไปร่วมกับผู้อื่นในสังคมจึงกลายเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว ทำอะไรให้ใครไม่เป็น ทุกคนในสังคมจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ารอคอยที่จะรับเพียงเท่านั้น ไม่มีใครคิดจะให้ ดังนั้นเมื่อสังคมเล็กเป็นเช่นนี้ สังคมใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ และหากสังคมเป็นเช่นนี้มาก ๆ สังคมประเทศชาติจึงเกิดความรู้สึกผู้คนแล้งน้ำใจกันมากขึ้น
เรื่องของการให้จึงควรฝึกตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ ฝึกให้เด็กได้รู้จักวิธีการให้ที่ดีและรู้จักการให้ที่ถูกต้อง เด็กก็สามารถรับทราบว่าได้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า “การให้” และสังคมก็จะดีขึ้น ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองของเด็กไม่เข้าใจในส่วนนี้ เพราะคิดว่าตนเองก็ให้ลูกตลอดเวลา แต่เพราะเหตุใดลูกจึงไม่มีการให้ตอบ นั่นเป็นเพราะผู้ปกครองไม่ได้ฝึกเด็กให้เป็นผู้ให้มาก่อน
สังคมครอบครัวของเด็กในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากเด็กในสมัยก่อนต้องรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง สามารถแบ่งเบาภาระของคุณพ่อคุณแม่ได้ ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ทำงานบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน ช่วยดูแลน้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการฝึกเด็กให้รู้จักการให้ คือให้ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสังคมแรกที่เด็กได้อยู่ใกล้ชิด พอเด็กห่างจากสังคมครอบครัวคือเข้าไปในสังคมโรงเรียน เด็กก็จะรู้จักกับการให้ รู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อน ไม่เกี่ยงงานเพื่อน มีประสบการณ์ร่วมกับเพื่อน ต่อไปก็เป็นส่วนในของการทำงานร่วมกับสังคม

สิ่งที่เด็กได้รับจากจิตอาสา สิ่งที่เด็กจะได้รับคือเด็กได้รับการฝึกฝนตนเอง เนื่องจากเด็กบางคน บางกลุ่มมีครอบครัวเพียบพร้อม จึงทำให้เคยชินกับการเป็นผู้รับ แต่เมื่อเข้ามาอยู่ภายในโรงเรียนเด็กเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาของโรงเรียน กลายเป็นปัญหาของสังคม เด็กเหล่านี้จะแสดงพฤติกรรมที่โดดเด่นออกมาในทางที่ไม่ดี คณะครูในโรงเรียนจะรู้จักทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำการสอน เป็นที่รู้จักของเพื่อน ๆ คนอื่นภายในโรงเรียน
เมื่อก่อนเด็กกลุ่มนี้ รวมไปถึงน้องพลอย หากไปสมัครเรียนกันชุมนุมใด อาจารย์ที่ปรึกษาประจำชุมชนก็ไม่อยากรับ เพราะหากรับเข้าชมรมแล้วก็จะกลายเป็นการสร้างปัญหาให้กับครู สร้างปัญหาให้กับเพื่อน ๆ ในห้อง สั่งงานสิ่งใดไปเด็กเหล่านี้ก็ไม่ยอมปฏิบัติ เอาแต่นั่งนิ่งเฉย ๆ ไม่ยอมส่งงาน อาจารย์จึงคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จนกระทั่งมีชุมนุมอยู่ชุมนุมหนึ่ง โดยมีอาจารย์เพ็ญศรีในฐานะที่เป็นหัวหน้ากิจกรรม ได้รับเอาเด็กกลุ่มนั้น น้องพลอยเข้าไปอยู่ในชุมนุมด้วย ปรากฏว่าไปถึงช่วงแรกที่เปิดชุมนุมใหม่ ๆ น้องพลอยและเด็กทุกคนภายในชุมนุมนั่งนิ่งเฉยกันหมด ไม่มีใครช่วยทำกิจกรรมใดเลย อาจารย์เพ็ญศรีสั่งให้ทำอะไรก็ไม่ทำ จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่ง อาจารย์เพ็ญศรีได้นำน้องพลอยและเด็กกลุ่มนี้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกโรงเรียน
ครั้งแรกอาจารย์เพ็ญศรีได้พาเด็กกลุ่มนี้ไปบ้านเด็กกำพร้า แถวพุทธมนฑล ซึ่งวันที่กำลังจะเดินทางไปนั้น น้องพลอยแต่งหน้าทาปาก แต่เนื่องจากอาจารย์เพ็ญศรีเป็นอาจารย์สอนวิชาแนะแนวด้วย อาจารย์เพ็ญศรีจึงมีความเข้าใจในตัวเด็ก หลังจากได้ไปที่บ้านเด็กกำพร้ามาแล้ว อาจารย์เพ็ญศรีได้ให้น้องพลอยและเด็กคนอื่น ๆ ได้เขียนถึงความรู้สึก เขียนบรรยายว่าได้ไปทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง และเขียนบรรยายเรื่องที่ได้ไปบ้านเด็กกำพร้าแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง โดยเขียนลงในสมุดบันทึก
น้องพลอยและเพื่อน ๆ ได้เขียนบรรยายว่าได้มีโอกาสไปเห็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และยังมีโอกาสไปช่วยเหลือน้อง ๆ ได้ไปอาบน้ำให้น้อง ไปป้อนข้าวให้น้อง ไปเล่นกับน้อง ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่ได้กลับมาคือได้ไปเห็นประสบการณ์ตรง ได้พบเห็นว่าเด็กกำพร้าเหล่านั้นเป็นเด็กที่ขาดแคลน เป็นเด็กที่ด้อยโอกาส เมื่อเด็กกลุ่มนี้ได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เด็กจึงสามารถสะท้อนออกมาเห็นครอบครัวของตนเองว่าเพียบพร้อมทุกอย่าง มีคุณพ่อคุณแม่คอยดูแล คอยช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่ให้ได้ทุกอย่าง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจวางเงินไว้ให้ ก็ไม่ควรทำตนเองให้มีปัญหา เด็กเหล่านี้ทำตัวมีปัญหาตั้งแต่ที่บ้านทำให้ต้องถูกคุณพ่อคุณแม่บ่น มาถึงที่โรงเรียนคุณครูก็บ่นอีก
หลังจากที่น้องพลอยและเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้มีโอกาสไปพบเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บ้านเด็กกำพร้าครั้งแรก เด็กเหล่านี้ก็เริ่มมีการปรับปรุงตนเอง และพอได้ไปที่บ้านเด็กกำพร้ารอบที่ 2 เด็กก็จะเริ่มคิดได้ คิดว่าตนเองต้องกลับมาปรับปรุงตนเองอย่างไรบ้าง เด็ก ๆ ได้เขียนลงในสมุดบันทึกว่าควรปรับปรุงตนเองในด้านใดบ้าง และคอยซักถามอาจารย์เพ็ญศรีว่าเมื่อไหร่จะได้ไปหาน้อง ๆ ที่บ้านเด็กกำพร้าอีก เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีภาวะผู้นำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งน้องพลอยและเพื่อน ๆ ยังไปค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจไปแนะนำในชุมนุมและคิดว่าปีต่อ ๆ ไปควรจะไปสถานที่ใด จนกระทั่งปี 2552 นี้ น้องพลอยได้เป็นประธานชุมนุม สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าน้องพลอยสามารถปรับเปลี่ยนรูปการใช้ความคิด พลิกรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก จากเป็นเด็กที่ไม่ให้ความสนใจในเรื่องใด ๆ เลย กลับกลายเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบสูง
เด็กทุกคนภายในชุมนุมนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีปัญหา แต่พอเด็กเหล่านี้ไปพบเจอกับประสบการณ์ตรง เด็กจะกลับมาคิดทบทวน กลับมาปรับปรุงตนเอง ต้องฝึกการเป็นผู้ให้ จะคอยเป็นผู้รับอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ ทั้งที่ความจริงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นั้นคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูเองก็ได้อบรมสั่งสอน ได้บอกกล่าวให้กับเด็กไปหมดแล้ว แต่ระหว่างคำพูด คำสอน กับประสบการณ์ที่เด็กได้ไปพบเห็น ได้ไปสัมผัส ได้ไปเจอกับของจริง ได้ประสบกับตนเองมีน้ำหนักแตกต่างกัน
เมื่อใดก็ตามที่เด็กมีโอกาสได้ไปลงมือปฏิบัติจริง ไปเจอของจริง ไปเจอสถานการณ์จริง ได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ต่าง ๆ จากสิ่งที่ได้พบเห็น ได้ไปสัมผัสด้วยตนเองจึงสามารถไปสะกิดใจเด็กได้มากกว่า และซึมซาบเข้าไปในตัวของเด็กได้รวดเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเด็กจึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพราะเด็กเกิดการยอมรับ เด็กจึงสามารถฝึกความเป็นผู้นำ ฝึกให้มีความรับผิดชอบ เป็นการฝึกความคิดของเด็กเอง ทำให้เด็กมีโอกาสใช้สมองด้านที่เกี่ยวกับความคิด เกี่ยวกับเหตุผลมากขึ้น แต่เดิมเด็กปิดสมองด้านนี้ ต่อให้ผู้ใหญ่พูดหรือสอนอะไรเด็กก็ไม่สนใจ พูดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา แต่หากเด็กได้มีโอกาสไปเจอของจริง เด็กสามารถรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ทั้ง 100 หลังจากนั้นก็จะนำมาพัฒนาตนเองต่อไป ทำให้พฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไป เด็กมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความเป็นผู้นำมากขึ้น และการดำเนินกิจกรรมจิตอาสายังฝึกให้เด็กมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น หากเด็กเรียนรู้จากในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เรียนรู้จากตำรา เรียนรู้จากบทเรียน   ต่าง ๆ คงช่วยเด็กไม่ได้มาก เพราะเด็กไม่ได้เห็นของจริง

กิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ ลักษณะของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ เป็นลักษณะแบบ OPEN HOUSE นักเรียนเป็นผู้เลือก นักเรียนจะตั้งกิจกรรม ต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยตัวของนักเรียนเอง เปรียบเสมือนกับการเป็นความสุขเริ่มต้น เพราะนักเรียนได้คิดขึ้นมาเอง เท่ากับเป็นความคิดของเด็ก เป็นกิจกรรมของเด็ก จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม และเมื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของแล้ว ความรักที่มีในตัวกิจกรรม  ต่าง ๆ มันก็จะเพิ่มมากขึ้น เด็กจะพยายามทำให้สิ่งที่ตนเองรักได้มีการพัฒนาขึ้นมา
หากเด็กคนใดทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยใจ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะเป็นสิ่งที่ดี ครูจึงต้องทำให้เด็กได้มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้น ๆ การทำมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นการบังคับ เพราะฉะนั้นกิจกรรมจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่เด็กเหล่านั้น “อาสา” เด็กมาทำกิจกรรมนี้เพราะใจรัก ต้องการทำด้วยตัวของเด็กเอง ไม่มีใครไปบังคับ

ความโดดเด่นของกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาล ความจริงแล้วกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่เด็กคิด และเด็กให้ความสนใจ เพียงแต่ว่าไม่สามารถหาสถานที่ที่จะไปรองรับความคิดของเด็ก เพราะฉะนั้นเมื่อทางมูลนิธิกระจกเงาได้มายื่นข้อเสนอว่าต้องการให้เด็กได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาล ทางคณะครูก็เกิดความรู้สึกดีใจ เนื่องจากคณะครูได้พยายามหาเวทีเช่นนี้มาให้เด็กหลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่เมื่อไปทำกิจกรรมแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมื่อก่อนหากเด็กไปเอง ทางเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก็ไม่เข้าใจและไม่ทราบว่าเด็กมาทำอะไร แต่หากมีหน่วยงานจากภายนอกที่คอยทำหน้าที่ประสานงานให้ ทางโรงเรียนก็สามารถส่งเด็กไป และเด็กก็สามารถทำได้อย่างที่เด็กต้องการ และอาจารย์เองก็มีความรู้สึกว่าความจริงแล้วควรเป็นเช่นนี้ตั้งแต่ต้น ตรงกับความต้องการของทางโรงเรียน เพราะควรมีหน่วยงานมาร่วมมือกับทางโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น
ทางโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ได้เคยให้เด็กนักเรียนไปทำกิจกรรมที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ไม่อนุญาตให้เด็ก ๆ ถ่ายรูป ไม่อนุญาตให้เด็กได้พูดคุยกับผู้ป่วย เด็ก ๆ สามารถทำได้เพียงแค่นำสิ่งของไปให้กับผู้ป่วยเท่านั้น จึงไม่เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่เด็กมากนัก เด็กไม่ได้เกิดความรู้สึกว่าได้ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง เพราะเด็กไม่ได้ใกล้ชิด ไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วย ไม่ได้มีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึกที่ต้องมาเฝ้าผู้ป่วย ไม่ได้พบชีวิตที่แท้จริงในการต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
หากได้มีโอกาสได้ไปพบเห็นชีวิตที่แท้จริง ได้ไปใกล้ชิดผู้ป่วยอย่างแท้จริง สมองของเด็กตอนนี้คล้ายกับต้นไม้ที่กำลังแตกกิ่งก้าน และหากเด็กได้รับการกระตุ้น ได้รับการเติมเต็ม สมองของเด็กจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกมากและสามารถที่จะพัฒนาไปได้อีกไกล เพราะฉะนั้นต้องสร้างให้สมองของเด็กเกิดการพัฒนาในทางที่ดีและถูกต้อง เป็นการสร้างให้เกิดความเข้าใจในชีวิตมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเด็กจึงต้องการทำอะไรที่ดี ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมให้ดีขึ้น และสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชีวิตของเด็กดีมากยิ่งขึ้น

เด็กเก่งหรือเด็กดี การสอนให้เด็กแตกแขนงในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม จำเป็นต้องฝึกที่ตัวของเด็กก่อน โดยเริ่มจากการฝึกเป็นผู้ให้ รู้จักการเป็นผู้ให้ และเมื่อได้รู้จักการเป็นผู้ให้แล้ว เด็กจะเกิดการสะท้อนกลับมาว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้น ได้รับอะไรกลับมา ได้ฝึกในเรื่องของอะไร เกิดประโยชน์อะไรแก่ตนเองบ้าง ในขณะเดียวกันเด็กก็เกิดความรู้สึกภูมิใจว่าได้ช่วยเหลือสังคม รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น แม้ว่าตนเองยังเป็นเพียงแค่เด็กตัวเล็ก ๆ แต่ยังมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเด็ก ๆ อยู่ เช่น เด็ก ๆ มาเล่าให้ฟังว่าได้ไปเข็นรถของคุณตาที่เพิ่งลงจากรถยนต์ แล้วไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือ
คุณธรรมเริ่มต้นจากที่ตัวของเด็กก่อน โดยเริ่มจากการที่เด็กได้เห็นใจคนอื่น เกิดความรู้สึกอยากช่วยเหลือผู้อื่น สิ่งเหล่านี้อยู่ภายในจิตใจของเด็ก คุณธรรมเกิดการก่อตัวขึ้นมาภายในตนเอง หลังจากนั้นเด็กจึงแสดงออกมาให้เห็นโดยการคิดว่าจะไปช่วยเหลือใคร ที่ไหน และทำอะไรต่อไป สิ่งนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา แต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ภายในตัวเด็ก ฉะนั้นเด็กจึงเกิดความภาคภูมิใจและต้องการปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นในตัวเด็ก และทำให้เด็กเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรมในลักษณะนี้จึงเป็น “การสร้างคน” “คนเต็มคน” กิจกรรมในลักษณะนี้จึงถือเป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์
ดังนั้นจึงไม่ควรเน้นเด็กแต่เรื่องวิชาการ ไม่ควรเน้นเฉพาะให้เรียนเก่ง และไม่ควรเน้นเพื่อให้สามารถสอบเข้าสถานศึกษาต่าง ๆ แต่เพียงเท่านั้น เพราะเด็กจะรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว เด็กจะคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง คิดว่าแต่ตนเองต้องทำอย่างไร ตนเองจะได้รับอะไร คิดแต่ว่าตนเองต้องเรียนให้เก่ง แต่ไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลอื่น ทำให้เด็กเป็นคนที่เห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองมากขึ้น เด็กจะเรียนอย่างเดียวเพื่อให้เอาตนเองรอด เมื่อเด็กมีความคิดเช่นนี้มากขึ้น ดังนั้นการศึกษาของประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นการยึดความดีมาก่อนความเก่ง
เนื่องจากในสมัยก่อนเราจะชื่นชมเด็กเก่ง แต่ปัจจุบันให้การชื่นชมเด็กที่มีความดีเพราะเด็กดีมีประโยชน์แก่สังคม แต่เด็กเก่งไม่ทราบว่าจะเป็นเช่นไร เด็กเก่งบางครั้งอาจเอาแต่ผลประโยชน์ของตนเอง จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีแพทย์ที่มีความสามารถสูงแต่ไม่มีทางด้านคุณธรรมก็มาก ไม่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้ เนื่องจากรักษาไข้ ไม่ได้รักษาคน เพราะฉะนั้นจึงต้องร่วมกันหาคนดี เพื่อให้สังคมดีขึ้น คนเก่งอาจช่วยเหลือสังคมได้ส่วนหนึ่ง และตักตวงผลประโยชน์จากสังคม เอาเปรียบผู้อื่น แต่ว่าคนดีสามารถช่วยเหลือสังคมได้มากกว่า เพราะคนดีมีจิตใจที่จะสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องสร้างคนที่จิตใจและคุณธรรมก่อน (คุณธรรมกับคนต้องมาก่อน) คนดีจะสร้างสังคมให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ หากเด็กที่มีจิตในพัฒนาทางด้านนี้ จึงควรให้การชื่นชม อีกทั้งยังต้องดึงคนเก่งให้เป็นคนที่มีคุณธรรมไปในตัวด้วย ทั้งความดีและความเก่งต้องควบคู่กันไป หากคนเก่งมีคุณธรรมประเทศชาติก็สามารถดีขึ้นได้อีกมาก

การเติมเต็มศักยภาพของเด็กเก่ง สมัยก่อนทุกคนมีความเห็นว่าเด็กที่เรียนเก่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียนได้มาก สามารถไปแข่งขันกับโรงเรียนต่าง ๆ และได้รับชัยชนะกลับมา ทางโรงเรียนให้คุณค่ากับเด็กที่เรียนเก่ง แต่หากขอความร่วมมือจากเด็กเก่งเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เด็กเหล่านี้ให้ความร่วมมือน้อยมาก เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีเวลาให้ และมีข้ออ้างอยู่เป็นประจำ เช่น ต้องเรียนพิเศษ ต้องทำการบ้าน ต้องอ่านหนังสือ ดังนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องที่เด็กจะเรียนเก่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีความเห็นแก่ตัว ฉะนั้นจึงต้องทำให้เด็กเก่งนั้นเห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นบ้าง เป็นการดึงความเก่งของเด็กออกมาและต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมด้วย
คำว่า “จิตอาสา” ไม่ใช่หมายถึงการทิ้งหรือไม่สนใจเด็กเก่ง เป็นการนำเด็กเก่งมาและนำมากระตุ้นให้เกิดสำนึกทางด้านจิตอาสาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเด็กจึงจะสามารถเป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมกัน เด็กเก่งที่มีคุณภาพ ต้องพยายามทำให้เด็กมีความดีควบคู่กันไปด้วย เพราะความเป็นจริงแล้วหากประเทศชาติต้องการเป็นผู้นำก็จำเป็นต้องใช้คนเก่ง เพียงแค่เป็นคนดีเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถปกครองประเทศชาติได้ แต่เก่งเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สามารถบริหารประเทศชาติได้อีกเช่นกัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจออกมาให้ได้ ฉะนั้นจึงต้องฝึกในเรื่องคุณธรรมให้แก่เด็กทุกคน “คุณธรรมต้องมีอยู่ตัวของทุกคน”
ต้องพยายามกระตุ้นคนเก่งให้เกิดความรับผิดชอบในเรื่องของคุณธรรม เมื่อมีความเก่งก็จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม รับผิดชอบต่อคนอื่น ๆ ด้วย คนเก่งต้องคิดถึงผู้อื่น ไม่คิดว่าตนเองโดดเด่นเพียงคนเดียว ไม่หลงตนเอง หากคนเก่งมีลักษณะเป็นเช่นนี้ ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันเพราะไม่มีคุณธรรม จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าคนเก่งที่ฆ่าตัวตายจะไม่เคยคิดถึงผู้อื่น คิดถึงเพียงแต่ตนเอง คิดว่าตนเองเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว เมื่อไม่ได้รับอย่างที่ตนเองคาดหวังไว้ ก็เกิดความรู้สึกผิดหวัง จึงคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ทำให้ไม่ต้องการอยู่ในโลกใบนี้อีกต่อไป เรื่องคุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่คนเก่งจำเป็นต้องฝึก เพราะคนเก่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไป
กิจกรรมจิตอาสาสามารถช่วยเติมเต็มเด็กเก่งให้มีคุณธรรม และยังช่วยดึงเด็กคนอื่น ๆ ให้เห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น สามารถแสดงให้คนอื่น ๆ เห็นได้ว่าตนเองก็มีประโยชน์แม้ว่าจะไม่ใช่เด็กที่เรียนเก่งก็ตาม ปัจจุบันนี้สังคมไทยขาดแคลนเรื่องการให้ ขาดการอยู่ร่วมกัน ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สังคมไทยขาดไปมาก เพราะในสมัยก่อนคนในสังคมไทยสามารถอยู่ด้วยกันได้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีน้ำใจให้กัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นสังคมไทยในสมัยก่อนจึงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากสังคมต่างชาติมาก
เดิมสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตอนหลังคนในสังคมเห็นแก่ตนเองมากขึ้น จึงได้ละทิ้งความสุขตรงส่วนนี้ไป แต่ละคนมีอัตตาสูงมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะนี้จึงทำให้สังคมไม่มีความสุข จึงหันกลับมาหาเรื่องของคุณธรรม เรื่องการของให้ใหม่ อย่างไรก็ตามคนไทยยังทิ้งในส่วนนี้ไปได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียกสิ่งเหล่านี้กลับคืนมาใหม่ได้เพราะสังคมไทยไม่เหมือนกับสังคมต่างชาติ สังคมไทยควรฟื้นฟูในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
กระทรวงศึกษาธิการควรทำการฟื้นฟูในเรื่องคุณธรรมให้มากขึ้น ช่วยทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรเน้นแต่ในเรื่องของวิชาการเพียงอย่างเดียว เพราะวิชาการไม่สามารถทำให้โลกมีความสุขได้ตลอดไป เรื่องของวิชาการถูกทำให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นก็จำเป็นต้องเน้นคุณธรรมให้สามารถควบคู่กันไปให้ได้ด้วยเช่นกัน อย่าทิ้งในเรื่องของคุณธรรมเป็นอันขาด ควรมีการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาโดยเน้นให้มีในเรื่องของคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ควบคู่ไปกับวิทยาการที่ทันสมัยต่อไป ต้องมีการประสานกันทั้งหมด ต้องมีการถักทอรวมกันไปให้เป็นผืนเดียวกัน
ควรมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นนโยบายของชาติ เพื่อให้ได้ภาพรวมที่สวยงาม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสามารถทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมีความสุข ตัวอย่างเช่น นโยบายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสถึงเรื่อง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวกับหลักคุณธรรม ที่จะส่งผลให้สังคมนี้มีความสุข ดังนั้นภาพโดยรวมที่สังคมประเทศชาติต้องการขณะนี้คือความสุขของประเทศชาติ ทุกคนในประเทศอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน      

พลัง...แรงบันดาลใจ มาจากสามัญสำนึกของการที่ต้องช่วยกันทำสังคมนี้ให้ดีขึ้น ความเป็นครู หน้าที่ ความคิดพื้นฐานของคน หากอาศัยเพียงแค่แรงดลใจเพียงอย่างเดียวก็จะทำให้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นและสามารถหายไปได้ แต่หาก “การให้” อยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา เป็นตัวเราตลอดเวลา ก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่สามารถให้ได้ตลอด เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจของครูที่อยู่ “จิตวิญญาณ”
จิตวิญญาณของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจิตวิญญาณของ “การให้” หรือมีจิตวิญญาณของ “การทำความดี” อยู่ในตัวทุกคน แม้ว่าจิตวิญญาณของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ว่าทุกควรนำออกมาให้มากที่สุดเท่าที่ตนเองจะสามารถทำได้ เพื่อเป็นการช่วยเติมเต็มสังคมนี้ให้ดีมาก ๆ ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความทุกคนต้องสามารถให้ได้เท่ากัน ดังนั้นเวลาที่เด็กทำกิจกรรมไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องสามารถทำให้ได้เท่า ๆ กัน เด็กที่มีความพร้อมมากก็สามารถทำได้มาก แต่หากเด็กที่มีความพร้อมไม่มากนักก็ให้เด็กทำเท่าที่เด็กสามารถจะทำได้ ทำให้สุดกำลังความสามารถเท่าที่เด็กมี
ครูมีหน้าที่เพียงแค่ดึงความสามารถดึงจิตวิญญาณของเด็กออกมาเท่านั้น เพราะเราคงไม่สามารถวัดจิตวิญญาณของความเป็นคนได้ คงไม่สามารถหาตัวเลขหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ มาวัดคุณธรรมและมาวัดความเป็นคนได้ เพราะ “ความเป็นคน คือความเป็นคน” และที่สำคัญคนแต่ละคนก็ไม่ได้เท่ากัน คงสามารถบอกได้เพียงแต่ว่าทำได้ดีหรือไม่ดี แต่จะให้วัดออกมาเป็นตัวเลขคงไม่สามารถจะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องความขยันสามารถบอกได้เพียงแต่ว่ามีความขยันหรือไม่ แต่คงไม่สามารถบอกได้ว่ามีความขยันอยู่มากเท่าไหร่ เรื่องความประหยัดก็เช่นเดียวกันคงไม่สามารถหาตัวเลขใด ๆ มาบอกได้ว่ามีความประหยัดอยู่มากเท่าใด

สิ่งที่ครูได้รับจากจิตอาสา ครูได้สังคมที่ดี เพราะหน้าที่ที่แท้จริงและจิตสำนึกของของครูคือ “ผู้สร้าง” เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่สังคมได้ก้าวหน้าไปตามที่ครูต้องการสิ่งนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถือว่าครูได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว ครูได้ทำหน้าที่ด้วยใจเช่นกัน เพราะคำว่า  “จิตสาธารณะ” คือการทำด้วยใจ มีความพร้อมที่จะให้ โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นสั่ง หากต้องรอให้ผู้อื่นสั่งผลงานที่ออกมาจะไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น หากมีส่วนใดขาดตกบกพร่องและทุกคนในสังคมพร้อมเติมเต็มก็จะทำให้สังคมออกมาดี ได้ประเทศชาติที่ดี ทำให้คนในสังคมสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
อาจารย์อภิญญาสอนวิชาคณิตศาสตร์ จึงได้ยกตัวอย่างของการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ฟังว่า การสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นจิตอาสาไม่ได้ช่วยในเรื่องของเนื้อหาวิชา แต่ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจเด็กได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ครูสามารถใกล้ชิดกับเด็กได้มากยิ่งขึ้น เพราะครูได้มีโอกาสได้คุยกับเด็กมากขึ้น มีโอกาสได้ทำกิจกรรมกับเด็กมากขึ้น เพราะฉะนั้นครูจะเข้าใจความคิดของเด็ก ครูสามารถเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของเด็กมากยิ่งขึ้น รับทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังและรับทราบเหตุผลที่แท้จริงที่เด็กคิด เพราะบางครั้งความแตกต่างระหว่างวัยทำให้ครูไม่เข้าใจเด็ก แต่เมื่อได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ครูสามารถรับทราบแนวคิดของเด็กได้ และที่สำคัญครูต้องยอมรับเด็กด้วย
กิจกรรมทุกอย่างการสอนทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเด็ก ไม่ใช่ตัวครู อย่าเอาตัวครูเป็นเกณฑ์ ฉะนั้นหากจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมใด ๆ ต้องดูว่าเด็กคิดอย่างไร เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็ก เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างเด็กกับครูให้มากยิ่งขึ้น ครูก็จะสามารถเข้าใจธรรมชาติของเด็กได้มากยิ่งขึ้น และหากเด็กไม่เข้าใจในสิ่งใด เด็กกล้าที่จะสอบถาม กล้าปรึกษา กล้าพูดคุยและกล้าเข้าหาครูมากขึ้น บางครั้งแม้แต่ปัญหาครอบครัวเด็กก็กล้าที่จะเข้ามาให้เล่าให้ครูฟัง เพราะเด็กเกิดความรู้สึกไว้วางใจ อีกทั้งครูยังสามารถช่วยผู้ปกครองได้ในการที่จะอบรมสั่งสอนบุตรหลาน เพราะบางครั้งผู้ปกครองไม่มีเวลามาดูแล แต่หากเด็กมาอยู่กับครู เด็กก็จะมีหลักยึด ไม่ไปทำอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์หรือเสียหาย แต่ในทางกลับกันเด็กสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ภาคภูมิใจ เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจารย์อภิญญาสามารถสัมผัสได้ผ่านพฤติกรรมของเด็ก โดยเด็กที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา เด็กจะมีความกตัญญู เด็กจะมาขอบคุณ ทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ร้องเพลงเกี่ยวกับคุณครู นำพวงมาลัย หรือนำดอกไม้มาให้แก่คุณครูเพื่อเป็นการตอบแทนที่อบรมสั่งสอนให้พวกเขาเป็นคนดี เด็กต้องการ “ขอบคุณ” ในสิ่งที่ครูได้ให้พวกเขา และสิ่งที่เด็กได้รับนั้น เด็กรู้สึกว่าตนเองพอใจ ตนเองมีความสุข เด็กมีความเป็นผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น เด็กเรียนรู้ที่จะขอบคุณครู เด็กรู้จักการวางตัวที่ดี เด็กรู้จักที่จะขอบคุณ มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง กล้าที่จะกล่าวขอบคุณ และสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กไปตลอด หากอนาคตภายหน้ามีใครที่ทำอะไรดี ๆ ให้ เด็กสามารถขอบคุณเป็น รู้สึกกตัญญูเป็น ความรู้สึกดี ๆ เช่นนี้จะติดตัวเด็กไปตลอด
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงเด็กได้ซาบซึ้งและได้รับรู้ในเรื่องของการให้ของครู เพียงเท่านี้อาจารย์อภิญญาก็มีความสุขแล้ว เพราะว่านักเรียนได้รู้ว่าครูได้ให้อะไรไปบ้าง อีกทั้งนักเรียนยังซาบซึ้งและรู้จักบุญคุณของผู้ให้ เด็กได้แสดงถึงคุณธรรมของความกตัญญู หากเด็กเป็นเช่นนี้ไปตลอดเท่ากับเป็นการแสดงว่าจิตใจของเด็กนั้นยอมรับความดี เด็กซาบซึ้งและสามารถรับรู้ได้ถึงความดีที่ครูได้อบรมสั่งสอนไป และทำให้คนที่ได้รับการขอบคุณเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ

สิ่งที่ต้องการ อาจารย์อภิญญาต้องการได้องค์กรต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยงานภายนอกที่ต้องการส่งเด็ก ๆ ไปกับตัวเด็ก เพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถดำเนินงานได้คล่องแคล่ว ทางโรงเรียนคงประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ จากภายนอกไม่ได้ทั้งหมด แต่หากมีองค์กรจากภายนอกเข้ามาสนับสนุนจะทำให้การปฏิบัติงานสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำให้งานขยายผลได้มากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้เด็ก ๆ ให้ความสนใจในการไปทำกิจกรรมจิตอาสาค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามทางโรงเรียนมีข้อจำกัด เช่น ไม่สมารถหาสถานที่ที่ต้องการไปทำกิจกรรมจิตอาสาได้ แต่หากเป็นองค์กรจากภายนอกจะมีเครือข่ายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถหาสถานที่ที่จะมารองรับได้มากยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากทางโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์แล้ว โรงเรียนอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงก็ต้องเข้าร่วมโครงการกิจกรรมจิตอาสานี้ด้วยเช่นกัน หากมีองค์กรต่าง ๆ จากภายนอกเข้ามาให้กับการสนับสนุนก็เท่ากับเป็นการขยายเครือข่ายไปในตัว ยิ่งหากหน่วยงานหรือองค์กรสามารถขยายเครือข่ายได้ไปไกลมากเท่าไหร่ ก็จะเห็นกิจกรรมจิตอาสาได้มากขึ้นเท่านั้น เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ มากขึ้นทำให้สามารถ “สร้างคน” ได้เพิ่มมากขึ้น คนที่สมบูรณ์ก็จะมีอยู่ในสังคมมากขึ้น ก็สามารถทำให้สังคมนี้ดีขึ้นมาได้มากกว่าเดิม    จิตวิญญาณ...ความเป็นครู หากครูท่านใดที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ถึงแม้ว่างานจะหนักหนาสักเพียงใด ครูก็จะไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือว่าท้อแท้ เนื่องจากว่าครูต้องตระหนักอยู่แล้วว่าเป็นหน้าที่ของความเป็นครู เป็นความรับผิดชอบของครู สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นจากภายในของตัวครูก่อน แต่หากถามถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่เด็ก เด็กได้รับผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด สามารถตอบได้เลยว่าเด็กได้รับประโยชน์มาก สังคมก็ได้รับประโยชน์มาก ประเทศชาติก็ได้รับประโยชน์มาก ส่วนตัวผู้ปกครองก็ได้รับผลประโยชน์จากส่วนนี้ไปด้วย
ปัจจุบันผู้ปกครองเลี้ยงบุตรหลานไม่ค่อยถูกวิธี ผู้ปกครองขาดการสอนวิธีการให้ที่ถูกต้องกับบุตรหลาน คือผู้ปกครองให้กับเด็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เด็กไม่เคยให้ตอบแก่ผู้ปกครองเลย ส่วนมากผู้ปกครองจะเป็นผู้ให้ตลอด ดังนั้นเด็กจึงเคยชินกับการรับเพียงอย่างเดียว ด้วยความที่ตอนเป็นเด็กไม่ได้ถูกฝึกให้เป็นผู้ให้ ไม่เคยถูกฝึกให้เป็นผู้เสียสละ  ในวันข้างหน้าเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ พอได้เข้าไปร่วมกับผู้อื่นในสังคมจึงกลายเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว ทำอะไรให้ใครไม่เป็น ทุกคนในสังคมจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ารอคอยที่จะรับเพียงเท่านั้น ไม่มีใครคิดจะให้ ดังนั้นเมื่อสังคมเล็กเป็นเช่นนี้ สังคมใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ และหากสังคมเป็นเช่นนี้มาก ๆ สังคมประเทศชาติจึงเกิดความรู้สึกผู้คนแล้งน้ำใจกันมากขึ้น
เรื่องของการให้จึงควรฝึกตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ ฝึกให้เด็กได้รู้จักวิธีการให้ที่ดีและรู้จักการให้ที่ถูกต้อง เด็กก็สามารถรับทราบว่าได้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า “การให้” และสังคมก็จะดีขึ้น ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองของเด็กไม่เข้าใจในส่วนนี้ เพราะคิดว่าตนเองก็ให้ลูกตลอดเวลา แต่เพราะเหตุใดลูกจึงไม่มีการให้ตอบ นั่นเป็นเพราะผู้ปกครองไม่ได้ฝึกเด็กให้เป็นผู้ให้มาก่อน
สังคมครอบครัวของเด็กในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากเด็กในสมัยก่อนต้องรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง สามารถแบ่งเบาภาระของคุณพ่อคุณแม่ได้ ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ทำงานบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน ช่วยดูแลน้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการฝึกเด็กให้รู้จักการให้ คือให้ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสังคมแรกที่เด็กได้อยู่ใกล้ชิด พอเด็กห่างจากสังคมครอบครัวคือเข้าไปในสังคมโรงเรียน เด็กก็จะรู้จักกับการให้ รู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อน ไม่เกี่ยงงานเพื่อน มีประสบการณ์ร่วมกับเพื่อน ต่อไปก็เป็นส่วนในของการทำงานร่วมกับสังคม

สิ่งที่เด็กได้รับจากจิตอาสา สิ่งที่เด็กจะได้รับคือเด็กได้รับการฝึกฝนตนเอง เนื่องจากเด็กบางคน บางกลุ่มมีครอบครัวเพียบพร้อม จึงทำให้เคยชินกับการเป็นผู้รับ แต่เมื่อเข้ามาอยู่ภายในโรงเรียนเด็กเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาของโรงเรียน กลายเป็นปัญหาของสังคม เด็กเหล่านี้จะแสดงพฤติกรรมที่โดดเด่นออกมาในทางที่ไม่ดี คณะครูในโรงเรียนจะรู้จักทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำการสอน เป็นที่รู้จักของเพื่อน ๆ คนอื่นภายในโรงเรียน
เมื่อก่อนเด็กกลุ่มนี้ รวมไปถึงน้องพลอย หากไปสมัครเรียนกันชุมนุมใด อาจารย์ที่ปรึกษาประจำชุมชนก็ไม่อยากรับ เพราะหากรับเข้าชมรมแล้วก็จะกลายเป็นการสร้างปัญหาให้กับครู สร้างปัญหาให้กับเพื่อน ๆ ในห้อง สั่งงานสิ่งใดไปเด็กเหล่านี้ก็ไม่ยอมปฏิบัติ เอาแต่นั่งนิ่งเฉย ๆ ไม่ยอมส่งงาน อาจารย์จึงคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จนกระทั่งมีชุมนุมอยู่ชุมนุมหนึ่ง โดยมีอาจารย์เพ็ญศรีในฐานะที่เป็นหัวหน้ากิจกรรม ได้รับเอาเด็กกลุ่มนั้น น้องพลอยเข้าไปอยู่ในชุมนุมด้วย ปรากฏว่าไปถึงช่วงแรกที่เปิดชุมนุมใหม่ ๆ น้องพลอยและเด็กทุกคนภายในชุมนุมนั่งนิ่งเฉยกันหมด ไม่มีใครช่วยทำกิจกรรมใดเลย อาจารย์เพ็ญศรีสั่งให้ทำอะไรก็ไม่ทำ จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่ง อาจารย์เพ็ญศรีได้นำน้องพลอยและเด็กกลุ่มนี้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกโรงเรียน
ครั้งแรกอาจารย์เพ็ญศรีได้พาเด็กกลุ่มนี้ไปบ้านเด็กกำพร้า แถวพุทธมนฑล ซึ่งวันที่กำลังจะเดินทางไปนั้น น้องพลอยแต่งหน้าทาปาก แต่เนื่องจากอาจารย์เพ็ญศรีเป็นอาจารย์สอนวิชาแนะแนวด้วย อาจารย์เพ็ญศรีจึงมีความเข้าใจในตัวเด็ก หลังจากได้ไปที่บ้านเด็กกำพร้ามาแล้ว อาจารย์เพ็ญศรีได้ให้น้องพลอยและเด็กคนอื่น ๆ ได้เขียนถึงความรู้สึก เขียนบรรยายว่าได้ไปทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง และเขียนบรรยายเรื่องที่ได้ไปบ้านเด็กกำพร้าแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง โดยเขียนลงในสมุดบันทึก
น้องพลอยและเพื่อน ๆ ได้เขียนบรรยายว่าได้มีโอกาสไปเห็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และยังมีโอกาสไปช่วยเหลือน้อง ๆ ได้ไปอาบน้ำให้น้อง ไปป้อนข้าวให้น้อง ไปเล่นกับน้อง ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่ได้กลับมาคือได้ไปเห็นประสบการณ์ตรง ได้พบเห็นว่าเด็กกำพร้าเหล่านั้นเป็นเด็กที่ขาดแคลน เป็นเด็กที่ด้อยโอกาส เมื่อเด็กกลุ่มนี้ได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เด็กจึงสามารถสะท้อนออกมาเห็นครอบครัวของตนเองว่าเพียบพร้อมทุกอย่าง มีคุณพ่อคุณแม่คอยดูแล คอยช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่ให้ได้ทุกอย่าง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจวางเงินไว้ให้ ก็ไม่ควรทำตนเองให้มีปัญหา เด็กเหล่านี้ทำตัวมีปัญหาตั้งแต่ที่บ้านทำให้ต้องถูกคุณพ่อคุณแม่บ่น มาถึงที่โรงเรียนคุณครูก็บ่นอีก
หลังจากที่น้องพลอยและเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้มีโอกาสไปพบเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บ้านเด็กกำพร้าครั้งแรก เด็กเหล่านี้ก็เริ่มมีการปรับปรุงตนเอง และพอได้ไปที่บ้านเด็กกำพร้ารอบที่ 2 เด็กก็จะเริ่มคิดได้ คิดว่าตนเองต้องกลับมาปรับปรุงตนเองอย่างไรบ้าง เด็ก ๆ ได้เขียนลงในสมุดบันทึกว่าควรปรับปรุงตนเองในด้านใดบ้าง และคอยซักถามอาจารย์เพ็ญศรีว่าเมื่อไหร่จะได้ไปหาน้อง ๆ ที่บ้านเด็กกำพร้าอีก เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีภาวะผู้นำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งน้องพลอยและเพื่อน ๆ ยังไปค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจไปแนะนำในชุมนุมและคิดว่าปีต่อ ๆ ไปควรจะไปสถานที่ใด จนกระทั่งปี 2552 นี้ น้องพลอยได้เป็นประธานชุมนุม สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าน้องพลอยสามารถปรับเปลี่ยนรูปการใช้ความคิด พลิกรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก จากเป็นเด็กที่ไม่ให้ความสนใจในเรื่องใด ๆ เลย กลับกลายเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบสูง
เด็กทุกคนภายในชุมนุมนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีปัญหา แต่พอเด็กเหล่านี้ไปพบเจอกับประสบการณ์ตรง เด็กจะกลับมาคิดทบทวน กลับมาปรับปรุงตนเอง ต้องฝึกการเป็นผู้ให้ จะคอยเป็นผู้รับอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ ทั้งที่ความจริงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นั้นคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูเองก็ได้อบรมสั่งสอน ได้บอกกล่าวให้กับเด็กไปหมดแล้ว แต่ระหว่างคำพูด คำสอน กับประสบการณ์ที่เด็กได้ไปพบเห็น ได้ไปสัมผัส ได้ไปเจอกับของจริง ได้ประสบกับตนเองมีน้ำหนักแตกต่างกัน
เมื่อใดก็ตามที่เด็กมีโอกาสได้ไปลงมือปฏิบัติจริง ไปเจอของจริง ไปเจอสถานการณ์จริง ได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ต่าง ๆ จากสิ่งที่ได้พบเห็น ได้ไปสัมผัสด้วยตนเองจึงสามารถไปสะกิดใจเด็กได้มากกว่า และซึมซาบเข้าไปในตัวของเด็กได้รวดเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเด็กจึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพราะเด็กเกิดการยอมรับ เด็กจึงสามารถฝึกความเป็นผู้นำ ฝึกให้มีความรับผิดชอบ เป็นการฝึกความคิดของเด็กเอง ทำให้เด็กมีโอกาสใช้สมองด้านที่เกี่ยวกับความคิด เกี่ยวกับเหตุผลมากขึ้น แต่เดิมเด็กปิดสมองด้านนี้ ต่อให้ผู้ใหญ่พูดหรือสอนอะไรเด็กก็ไม่สนใจ พูดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา แต่หากเด็กได้มีโอกาสไปเจอของจริง เด็กสามารถรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ทั้ง 100 หลังจากนั้นก็จะนำมาพัฒนาตนเองต่อไป ทำให้พฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไป เด็กมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความเป็นผู้นำมากขึ้น และการดำเนินกิจกรรมจิตอาสายังฝึกให้เด็กมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น หากเด็กเรียนรู้จากในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เรียนรู้จากตำรา เรียนรู้จากบทเรียน   ต่าง ๆ คงช่วยเด็กไม่ได้มาก เพราะเด็กไม่ได้เห็นของจริง

กิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ ลักษณะของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ เป็นลักษณะแบบ OPEN HOUSE นักเรียนเป็นผู้เลือก นักเรียนจะตั้งกิจกรรม ต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยตัวของนักเรียนเอง เปรียบเสมือนกับการเป็นความสุขเริ่มต้น เพราะนักเรียนได้คิดขึ้นมาเอง เท่ากับเป็นความคิดของเด็ก เป็นกิจกรรมของเด็ก จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม และเมื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของแล้ว ความรักที่มีในตัวกิจกรรม  ต่าง ๆ มันก็จะเพิ่มมากขึ้น เด็กจะพยายามทำให้สิ่งที่ตนเองรักได้มีการพัฒนาขึ้นมา
หากเด็กคนใดทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยใจ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะเป็นสิ่งที่ดี ครูจึงต้องทำให้เด็กได้มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้น ๆ การทำมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นการบังคับ เพราะฉะนั้นกิจกรรมจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่เด็กเหล่านั้น “อาสา” เด็กมาทำกิจกรรมนี้เพราะใจรัก ต้องการทำด้วยตัวของเด็กเอง ไม่มีใครไปบังคับ

ความโดดเด่นของกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาล ความจริงแล้วกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่เด็กคิด และเด็กให้ความสนใจ เพียงแต่ว่าไม่สามารถหาสถานที่ที่จะไปรองรับความคิดของเด็ก เพราะฉะนั้นเมื่อทางมูลนิธิกระจกเงาได้มายื่นข้อเสนอว่าต้องการให้เด็กได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาล ทางคณะครูก็เกิดความรู้สึกดีใจ เนื่องจากคณะครูได้พยายามหาเวทีเช่นนี้มาให้เด็กหลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่เมื่อไปทำกิจกรรมแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมื่อก่อนหากเด็กไปเอง ทางเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก็ไม่เข้าใจและไม่ทราบว่าเด็กมาทำอะไร แต่หากมีหน่วยงานจากภายนอกที่คอยทำหน้าที่ประสานงานให้ ทางโรงเรียนก็สามารถส่งเด็กไป และเด็กก็สามารถทำได้อย่างที่เด็กต้องการ และอาจารย์เองก็มีความรู้สึกว่าความจริงแล้วควรเป็นเช่นนี้ตั้งแต่ต้น ตรงกับความต้องการของทางโรงเรียน เพราะควรมีหน่วยงานมาร่วมมือกับทางโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น
ทางโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ได้เคยให้เด็กนักเรียนไปทำกิจกรรมที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ไม่อนุญาตให้เด็ก ๆ ถ่ายรูป ไม่อนุญาตให้เด็กได้พูดคุยกับผู้ป่วย เด็ก ๆ สามารถทำได้เพียงแค่นำสิ่งของไปให้กับผู้ป่วยเท่านั้น จึงไม่เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่เด็กมากนัก เด็กไม่ได้เกิดความรู้สึกว่าได้ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง เพราะเด็กไม่ได้ใกล้ชิด ไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วย ไม่ได้มีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึกที่ต้องมาเฝ้าผู้ป่วย ไม่ได้พบชีวิตที่แท้จริงในการต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
หากได้มีโอกาสได้ไปพบเห็นชีวิตที่แท้จริง ได้ไปใกล้ชิดผู้ป่วยอย่างแท้จริง สมองของเด็กตอนนี้คล้ายกับต้นไม้ที่กำลังแตกกิ่งก้าน และหากเด็กได้รับการกระตุ้น ได้รับการเติมเต็ม สมองของเด็กจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกมากและสามารถที่จะพัฒนาไปได้อีกไกล เพราะฉะนั้นต้องสร้างให้สมองของเด็กเกิดการพัฒนาในทางที่ดีและถูกต้อง เป็นการสร้างให้เกิดความเข้าใจในชีวิตมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเด็กจึงต้องการทำอะไรที่ดี ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมให้ดีขึ้น และสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชีวิตของเด็กดีมากยิ่งขึ้น

เด็กเก่งหรือเด็กดี การสอนให้เด็กแตกแขนงในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม จำเป็นต้องฝึกที่ตัวของเด็กก่อน โดยเริ่มจากการฝึกเป็นผู้ให้ รู้จักการเป็นผู้ให้ และเมื่อได้รู้จักการเป็นผู้ให้แล้ว เด็กจะเกิดการสะท้อนกลับมาว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้น ได้รับอะไรกลับมา ได้ฝึกในเรื่องของอะไร เกิดประโยชน์อะไรแก่ตนเองบ้าง ในขณะเดียวกันเด็กก็เกิดความรู้สึกภูมิใจว่าได้ช่วยเหลือสังคม รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น แม้ว่าตนเองยังเป็นเพียงแค่เด็กตัวเล็ก ๆ แต่ยังมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเด็ก ๆ อยู่ เช่น เด็ก ๆ มาเล่าให้ฟังว่าได้ไปเข็นรถของคุณตาที่เพิ่งลงจากรถยนต์ แล้วไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือ
คุณธรรมเริ่มต้นจากที่ตัวของเด็กก่อน โดยเริ่มจากการที่เด็กได้เห็นใจคนอื่น เกิดความรู้สึกอยากช่วยเหลือผู้อื่น สิ่งเหล่านี้อยู่ภายในจิตใจของเด็ก คุณธรรมเกิดการก่อตัวขึ้นมาภายในตนเอง หลังจากนั้นเด็กจึงแสดงออกมาให้เห็นโดยการคิดว่าจะไปช่วยเหลือใคร ที่ไหน และทำอะไรต่อไป สิ่งนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา แต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ภายในตัวเด็ก ฉะนั้นเด็กจึงเกิดความภาคภูมิใจและต้องการปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นในตัวเด็ก และทำให้เด็กเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรมในลักษณะนี้จึงเป็น “การสร้างคน” “คนเต็มคน” กิจกรรมในลักษณะนี้จึงถือเป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์
ดังนั้นจึงไม่ควรเน้นเด็กแต่เรื่องวิชาการ ไม่ควรเน้นเฉพาะให้เรียนเก่ง และไม่ควรเน้นเพื่อให้สามารถสอบเข้าสถานศึกษาต่าง ๆ แต่เพียงเท่านั้น เพราะเด็กจะรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว เด็กจะคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง คิดว่าแต่ตนเองต้องทำอย่างไร ตนเองจะได้รับอะไร คิดแต่ว่าตนเองต้องเรียนให้เก่ง แต่ไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลอื่น ทำให้เด็กเป็นคนที่เห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองมากขึ้น เด็กจะเรียนอย่างเดียวเพื่อให้เอาตนเองรอด เมื่อเด็กมีความคิดเช่นนี้มากขึ้น ดังนั้นการศึกษาของประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นการยึดความดีมาก่อนความเก่ง
เนื่องจากในสมัยก่อนเราจะชื่นชมเด็กเก่ง แต่ปัจจุบันให้การชื่นชมเด็กที่มีความดีเพราะเด็กดีมีประโยชน์แก่สังคม แต่เด็กเก่งไม่ทราบว่าจะเป็นเช่นไร เด็กเก่งบางครั้งอาจเอาแต่ผลประโยชน์ของตนเอง จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีแพทย์ที่มีความสามารถสูงแต่ไม่มีทางด้านคุณธรรมก็มาก ไม่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้ เนื่องจากรักษาไข้ ไม่ได้รักษาคน เพราะฉะนั้นจึงต้องร่วมกันหาคนดี เพื่อให้สังคมดีขึ้น คนเก่งอาจช่วยเหลือสังคมได้ส่วนหนึ่ง และตักตวงผลประโยชน์จากสังคม เอาเปรียบผู้อื่น แต่ว่าคนดีสามารถช่วยเหลือสังคมได้มากกว่า เพราะคนดีมีจิตใจที่จะสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องสร้างคนที่จิตใจและคุณธรรมก่อน (คุณธรรมกับคนต้องมาก่อน) คนดีจะสร้างสังคมให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ หากเด็กที่มีจิตในพัฒนาทางด้านนี้ จึงควรให้การชื่นชม อีกทั้งยังต้องดึงคนเก่งให้เป็นคนที่มีคุณธรรมไปในตัวด้วย ทั้งความดีและความเก่งต้องควบคู่กันไป หากคนเก่งมีคุณธรรมประเทศชาติก็สามารถดีขึ้นได้อีกมาก

การเติมเต็มศักยภาพของเด็กเก่ง สมัยก่อนทุกคนมีความเห็นว่าเด็กที่เรียนเก่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียนได้มาก สามารถไปแข่งขันกับโรงเรียนต่าง ๆ และได้รับชัยชนะกลับมา ทางโรงเรียนให้คุณค่ากับเด็กที่เรียนเก่ง แต่หากขอความร่วมมือจากเด็กเก่งเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เด็กเหล่านี้ให้ความร่วมมือน้อยมาก เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีเวลาให้ และมีข้ออ้างอยู่เป็นประจำ เช่น ต้องเรียนพิเศษ ต้องทำการบ้าน ต้องอ่านหนังสือ ดังนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องที่เด็กจะเรียนเก่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีความเห็นแก่ตัว ฉะนั้นจึงต้องทำให้เด็กเก่งนั้นเห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นบ้าง เป็นการดึงความเก่งของเด็กออกมาและต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมด้วย
คำว่า “จิตอาสา” ไม่ใช่หมายถึงการทิ้งหรือไม่สนใจเด็กเก่ง เป็นการนำเด็กเก่งมาและนำมากระตุ้นให้เกิดสำนึกทางด้านจิตอาสาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเด็กจึงจะสามารถเป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมกัน เด็กเก่งที่มีคุณภาพ ต้องพยายามทำให้เด็กมีความดีควบคู่กันไปด้วย เพราะความเป็นจริงแล้วหากประเทศชาติต้องการเป็นผู้นำก็จำเป็นต้องใช้คนเก่ง เพียงแค่เป็นคนดีเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถปกครองประเทศชาติได้ แต่เก่งเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สามารถบริหารประเทศชาติได้อีกเช่นกัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจออกมาให้ได้ ฉะนั้นจึงต้องฝึกในเรื่องคุณธรรมให้แก่เด็กทุกคน “คุณธรรมต้องมีอยู่ตัวของทุกคน”
ต้องพยายามกระตุ้นคนเก่งให้เกิดความรับผิดชอบในเรื่องของคุณธรรม เมื่อมีความเก่งก็จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม รับผิดชอบต่อคนอื่น ๆ ด้วย คนเก่งต้องคิดถึงผู้อื่น ไม่คิดว่าตนเองโดดเด่นเพียงคนเดียว ไม่หลงตนเอง หากคนเก่งมีลักษณะเป็นเช่นนี้ ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันเพราะไม่มีคุณธรรม จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าคนเก่งที่ฆ่าตัวตายจะไม่เคยคิดถึงผู้อื่น คิดถึงเพียงแต่ตนเอง คิดว่าตนเองเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว เมื่อไม่ได้รับอย่างที่ตนเองคาดหวังไว้ ก็เกิดความรู้สึกผิดหวัง จึงคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ทำให้ไม่ต้องการอยู่ในโลกใบนี้อีกต่อไป เรื่องคุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่คนเก่งจำเป็นต้องฝึก เพราะคนเก่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไป
กิจกรรมจิตอาสาสามารถช่วยเติมเต็มเด็กเก่งให้มีคุณธรรม และยังช่วยดึงเด็กคนอื่น ๆ ให้เห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น สามารถแสดงให้คนอื่น ๆ เห็นได้ว่าตนเองก็มีประโยชน์แม้ว่าจะไม่ใช่เด็กที่เรียนเก่งก็ตาม ปัจจุบันนี้สังคมไทยขาดแคลนเรื่องการให้ ขาดการอยู่ร่วมกัน ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สังคมไทยขาดไปมาก เพราะในสมัยก่อนคนในสังคมไทยสามารถอยู่ด้วยกันได้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีน้ำใจให้กัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นสังคมไทยในสมัยก่อนจึงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากสังคมต่างชาติมาก
เดิมสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตอนหลังคนในสังคมเห็นแก่ตนเองมากขึ้น จึงได้ละทิ้งความสุขตรงส่วนนี้ไป แต่ละคนมีอัตตาสูงมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะนี้จึงทำให้สังคมไม่มีความสุข จึงหันกลับมาหาเรื่องของคุณธรรม เรื่องการของให้ใหม่ อย่างไรก็ตามคนไทยยังทิ้งในส่วนนี้ไปได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียกสิ่งเหล่านี้กลับคืนมาใหม่ได้เพราะสังคมไทยไม่เหมือนกับสังคมต่างชาติ สังคมไทยควรฟื้นฟูในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
กระทรวงศึกษาธิการควรทำการฟื้นฟูในเรื่องคุณธรรมให้มากขึ้น ช่วยทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรเน้นแต่ในเรื่องของวิชาการเพียงอย่างเดียว เพราะวิชาการไม่สามารถทำให้โลกมีความสุขได้ตลอดไป เรื่องของวิชาการถูกทำให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นก็จำเป็นต้องเน้นคุณธรรมให้สามารถควบคู่กันไปให้ได้ด้วยเช่นกัน อย่าทิ้งในเรื่องของคุณธรรมเป็นอันขาด ควรมีการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาโดยเน้นให้มีในเรื่องของคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ควบคู่ไปกับวิทยาการที่ทันสมัยต่อไป ต้องมีการประสานกันทั้งหมด ต้องมีการถักทอรวมกันไปให้เป็นผืนเดียวกัน
ควรมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นนโยบายของชาติ เพื่อให้ได้ภาพรวมที่สวยงาม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสามารถทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมีความสุข ตัวอย่างเช่น นโยบายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสถึงเรื่อง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวกับหลักคุณธรรม ที่จะส่งผลให้สังคมนี้มีความสุข ดังนั้นภาพโดยรวมที่สังคมประเทศชาติต้องการขณะนี้คือความสุขของประเทศชาติ ทุกคนในประเทศอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน      

พลัง...แรงบันดาลใจ มาจากสามัญสำนึกของการที่ต้องช่วยกันทำสังคมนี้ให้ดีขึ้น ความเป็นครู หน้าที่ ความคิดพื้นฐานของคน หากอาศัยเพียงแค่แรงดลใจเพียงอย่างเดียวก็จะทำให้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นและสามารถหายไปได้ แต่หาก “การให้” อยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา เป็นตัวเราตลอดเวลา ก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่สามารถให้ได้ตลอด เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจของครูที่อยู่ “จิตวิญญาณ”
จิตวิญญาณของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจิตวิญญาณของ “การให้” หรือมีจิตวิญญาณของ “การทำความดี” อยู่ในตัวทุกคน แม้ว่าจิตวิญญาณของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ว่าทุกควรนำออกมาให้มากที่สุดเท่าที่ตนเองจะสามารถทำได้ เพื่อเป็นการช่วยเติมเต็มสังคมนี้ให้ดีมาก ๆ ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความทุกคนต้องสามารถให้ได้เท่ากัน ดังนั้นเวลาที่เด็กทำกิจกรรมไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องสามารถทำให้ได้เท่า ๆ กัน เด็กที่มีความพร้อมมากก็สามารถทำได้มาก แต่หากเด็กที่มีความพร้อมไม่มากนักก็ให้เด็กทำเท่าที่เด็กสามารถจะทำได้ ทำให้สุดกำลังความสามารถเท่าที่เด็กมี
ครูมีหน้าที่เพียงแค่ดึงความสามารถดึงจิตวิญญาณของเด็กออกมาเท่านั้น เพราะเราคงไม่สามารถวัดจิตวิญญาณของความเป็นคนได้ คงไม่สามารถหาตัวเลขหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ มาวัดคุณธรรมและมาวัดความเป็นคนได้ เพราะ “ความเป็นคน คือความเป็นคน” และที่สำคัญคนแต่ละคนก็ไม่ได้เท่ากัน คงสามารถบอกได้เพียงแต่ว่าทำได้ดีหรือไม่ดี แต่จะให้วัดออกมาเป็นตัวเลขคงไม่สามารถจะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องความขยันสามารถบอกได้เพียงแต่ว่ามีความขยันหรือไม่ แต่คงไม่สามารถบอกได้ว่ามีความขยันอยู่มากเท่าไหร่ เรื่องความประหยัดก็เช่นเดียวกันคงไม่สามารถหาตัวเลขใด ๆ มาบอกได้ว่ามีความประหยัดอยู่มากเท่าใด

สิ่งที่ครูได้รับจากจิตอาสา ครูได้สังคมที่ดี เพราะหน้าที่ที่แท้จริงและจิตสำนึกของของครูคือ “ผู้สร้าง” เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่สังคมได้ก้าวหน้าไปตามที่ครูต้องการสิ่งนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถือว่าครูได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว ครูได้ทำหน้าที่ด้วยใจเช่นกัน เพราะคำว่า  “จิตสาธารณะ” คือการทำด้วยใจ มีความพร้อมที่จะให้ โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นสั่ง หากต้องรอให้ผู้อื่นสั่งผลงานที่ออกมาจะไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น หากมีส่วนใดขาดตกบกพร่องและทุกคนในสังคมพร้อมเติมเต็มก็จะทำให้สังคมออกมาดี ได้ประเทศชาติที่ดี ทำให้คนในสังคมสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
อาจารย์อภิญญาสอนวิชาคณิตศาสตร์ จึงได้ยกตัวอย่างของการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ฟังว่า การสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นจิตอาสาไม่ได้ช่วยในเรื่องของเนื้อหาวิชา แต่ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจเด็กได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ครูสามารถใกล้ชิดกับเด็กได้มากยิ่งขึ้น เพราะครูได้มีโอกาสได้คุยกับเด็กมากขึ้น มีโอกาสได้ทำกิจกรรมกับเด็กมากขึ้น เพราะฉะนั้นครูจะเข้าใจความคิดของเด็ก ครูสามารถเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของเด็กมากยิ่งขึ้น รับทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังและรับทราบเหตุผลที่แท้จริงที่เด็กคิด เพราะบางครั้งความแตกต่างระหว่างวัยทำให้ครูไม่เข้าใจเด็ก แต่เมื่อได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ครูสามารถรับทราบแนวคิดของเด็กได้ และที่สำคัญครูต้องยอมรับเด็กด้วย
กิจกรรมทุกอย่างการสอนทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเด็ก ไม่ใช่ตัวครู อย่าเอาตัวครูเป็นเกณฑ์ ฉะนั้นหากจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมใด ๆ ต้องดูว่าเด็กคิดอย่างไร เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็ก เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างเด็กกับครูให้มากยิ่งขึ้น ครูก็จะสามารถเข้าใจธรรมชาติของเด็กได้มากยิ่งขึ้น และหากเด็กไม่เข้าใจในสิ่งใด เด็กกล้าที่จะสอบถาม กล้าปรึกษา กล้าพูดคุยและกล้าเข้าหาครูมากขึ้น บางครั้งแม้แต่ปัญหาครอบครัวเด็กก็กล้าที่จะเข้ามาให้เล่าให้ครูฟัง เพราะเด็กเกิดความรู้สึกไว้วางใจ อีกทั้งครูยังสามารถช่วยผู้ปกครองได้ในการที่จะอบรมสั่งสอนบุตรหลาน เพราะบางครั้งผู้ปกครองไม่มีเวลามาดูแล แต่หากเด็กมาอยู่กับครู เด็กก็จะมีหลักยึด ไม่ไปทำอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์หรือเสียหาย แต่ในทางกลับกันเด็กสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ภาคภูมิใจ เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจารย์อภิญญาสามารถสัมผัสได้ผ่านพฤติกรรมของเด็ก โดยเด็กที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา เด็กจะมีความกตัญญู เด็กจะมาขอบคุณ ทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ร้องเพลงเกี่ยวกับคุณครู นำพวงมาลัย หรือนำดอกไม้มาให้แก่คุณครูเพื่อเป็นการตอบแทนที่อบรมสั่งสอนให้พวกเขาเป็นคนดี เด็กต้องการ “ขอบคุณ” ในสิ่งที่ครูได้ให้พวกเขา และสิ่งที่เด็กได้รับนั้น เด็กรู้สึกว่าตนเองพอใจ ตนเองมีความสุข เด็กมีความเป็นผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น เด็กเรียนรู้ที่จะขอบคุณครู เด็กรู้จักการวางตัวที่ดี เด็กรู้จักที่จะขอบคุณ มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง กล้าที่จะกล่าวขอบคุณ และสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กไปตลอด หากอนาคตภายหน้ามีใครที่ทำอะไรดี ๆ ให้ เด็กสามารถขอบคุณเป็น รู้สึกกตัญญูเป็น ความรู้สึกดี ๆ เช่นนี้จะติดตัวเด็กไปตลอด
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงเด็กได้ซาบซึ้งและได้รับรู้ในเรื่องของการให้ของครู เพียงเท่านี้อาจารย์อภิญญาก็มีความสุขแล้ว เพราะว่านักเรียนได้รู้ว่าครูได้ให้อะไรไปบ้าง อีกทั้งนักเรียนยังซาบซึ้งและรู้จักบุญคุณของผู้ให้ เด็กได้แสดงถึงคุณธรรมของความกตัญญู หากเด็กเป็นเช่นนี้ไปตลอดเท่ากับเป็นการแสดงว่าจิตใจของเด็กนั้นยอมรับความดี เด็กซาบซึ้งและสามารถรับรู้ได้ถึงความดีที่ครูได้อบรมสั่งสอนไป และทำให้คนที่ได้รับการขอบคุณเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ

สิ่งที่ต้องการ อาจารย์อภิญญาต้องการได้องค์กรต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยงานภายนอกที่ต้องการส่งเด็ก ๆ ไปกับตัวเด็ก เพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถดำเนินงานได้คล่องแคล่ว ทางโรงเรียนคงประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ จากภายนอกไม่ได้ทั้งหมด แต่หากมีองค์กรจากภายนอกเข้ามาสนับสนุนจะทำให้การปฏิบัติงานสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำให้งานขยายผลได้มากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้เด็ก ๆ ให้ความสนใจในการไปทำกิจกรรมจิตอาสาค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามทางโรงเรียนมีข้อจำกัด เช่น ไม่สมารถหาสถานที่ที่ต้องการไปทำกิจกรรมจิตอาสาได้ แต่หากเป็นองค์กรจากภายนอกจะมีเครือข่ายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถหาสถานที่ที่จะมารองรับได้มากยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากทางโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์แล้ว โรงเรียนอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงก็ต้องเข้าร่วมโครงการกิจกรรมจิตอาสานี้ด้วยเช่นกัน หากมีองค์กรต่าง ๆ จากภายนอกเข้ามาให้กับการสนับสนุนก็เท่ากับเป็นการขยายเครือข่ายไปในตัว ยิ่งหากหน่วยงานหรือองค์กรสามารถขยายเครือข่ายได้ไปไกลมากเท่าไหร่ ก็จะเห็นกิจกรรมจิตอาสาได้มากขึ้นเท่านั้น เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ มากขึ้นทำให้สามารถ “สร้างคน” ได้เพิ่มมากขึ้น คนที่สมบูรณ์ก็จะมีอยู่ในสังคมมากขึ้น ก็สามารถทำให้สังคมนี้ดีขึ้นมาได้มากกว่าเดิม