รื่องเล่า จากการลงพื้นที่... ว่าด้วยเรื่อง ลูกหลานบ้านห้วยม้าลอย

หลัง จากการดำเนินงานพัฒนาลูกหลานบ้านห้วยม้าลอยในรูปแบบ “โรงเรียนครอบครัว” มาระยะหนึ่ง (มีนาคม - พฤษภาคม 2555) ที่ผ่านมา วันนี้ครูใหญ่และทีมของโรงเรียนครอบครัวได้ตั้งวงพูดคุย เพื่อดูว่าหลังจากเปิดโรงเรียนครอบครัวไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงกับลูกหลาน และครอบครัว ชุมชนอย่างไร ซึ่งนอกจากครูใหญ่และทีมแล้วยังมีผู้มาเยือนจากองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนา เด็ก เยาวชน คือ ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอแก่น และศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน จังหวัดตรัง เข้ามาร่วมพูดคุยด้วยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกัน

หลัก ใหญ่หัวใจสำคัญของวงพูดคุยนี้คือ เพื่อให้ครูใหญ่และทีมเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ โดยถอดบทเรียนจากกิจกรรมที่ทำมา เพื่อฝึกทักษะการคิด ฝึกทักษะการมองการตีความ การให้คุณค่ากับสิ่งที่เห็น สิ่งที่ทำ รวมถึงการคิดงานต่อไปข้างหน้า โดย สรส. (สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข) โดยอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ เป็นผู้ทำหน้าที่ชวนคิด ชวนคุย และให้คำแนะนำต่างๆ

เรียนรู้จากที่อื่น “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้”
ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน กับการพัฒนาเด็กเยาวชนผ่านวัฒนธรรมประเพณี

 

หลัง จากทุกคนในวงพูดคุยได้ตื่นตาตื่นใจกับเนื้อหา รูปแบบในซีดีที่ผู้ดำเนินรายการได้เปิดให้ชมแล้ว พี่อ้อย (วราภรณ์ หลวงมณี) พี่ใหญ่แห่งศูนย์เรียนรู้ชาวดิน ได้ถูกเชื้อเชิญให้บอกเล่าเพิ่มเติมในฐานะที่เป็นเจ้าของซีดีชุดนี้ (ซีดีการพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณี ของศูนย์เรียนรู้ชาวดิน)

 

“ การพัฒนาเด็กเยาวชนที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ออกแบบกิจกรรมให้เด็กๆ ในหมู่บ้านโคกกลางได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองผ่านวัฒนธรรมงานบุญ ฮีต 12 ครอง 14 ซึ่งเป็นเทศกาลงานบุญของชุมชนที่มีขึ้นทุกเดือน วิธีการ คือ ให้เด็กทำการสืบค้นความเป็นมาของประเพณี และเล่นสะท้อนเรื่องราวออกมาเป็นละคร หรือการเรียนรู้จากผู้รู้แล้วนำมาลงมือทำ เช่น การทำอาหารพื้นบ้านเป็นต้น...”  

“การ พัฒนาเด็กเยาวชนเป็นเครื่องมือการพัฒนาเด็ก เป็นแนวคิดที่น่าเอาอย่างคือ การมีเทศกาลในชุมชนน่าจะเป็นเวทีให้เด็ก ได้แสดงออก” (พี่รินทร์ : ทีมครูใหญ่)

 

“ดู แล้วเห็นความร่วมมือ ห้วยม้าลอยน่าจะทำได้ แต่ยังมองจุดเข้าอยู่ ซึ่งจุดเด่นที่ห้วยม้าลอย คือมีหน่วยงานทุกหน่วยเข้ามา วัด หมอ อบต. โรงเรียนเข้ามาร่วมกัน ประเด็นคือ จะเดินอย่างไร มีต้นแบบอย่างไร”  (คุณเตียง : ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวห้วยม้าลอย)

 

“เรา พึ่งเริ่ม เรากำลังหานางทาง หาวิธีการ หากเราช่วยกัน เราก็จะสำเร็จ ประเพณีดีๆ เรามีอยู่แล้ว เราค่อยๆ ทำไป” (ผอ.โรงเรียนห้วยม้าลอย)

 

“วัฒนธรรมเป็นเรื่องสนุก เราต้องออกแบบการผสมผสานกับการเรียนรู้ด้วย” (พี่อ้อย : ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน ขอนแก่น)

 



“การ ใช้วัฒนธรรมเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมได้ วัฒนธรรมเป็นการรวมตัวคนได้ดี ที่จังหวัดตรังทำเริ่มทำเรื่องเด็ก เยาวชนที่โรงเรียน ทางใต้ไม่มีงานบุญครบ 12 เดือน งานที่ตรังเริ่มจากที่เด็กในโรงเรียนแล้วขยายสู่พ่อแม่ สู่ขุมชนภายหลัง” (น้องปาล์ม : ศูนย์ประสานงานฯ ตรัง)

 

เสียง แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นดังขึ้นโดยมีต้องรอให้มีใครมาตั้งคำถาม  ดูเหมือนทุกคนตื่นตัวที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน สมกับเป็นวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้จริงๆ

อย่าง ไรก็ตาม การทำอะไรย่อมมีทั้งความสำเร็จเล็กๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนคิดดีทำดี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหาข้อติดขัดให้ต้องขบคิดต่อ พี่อ้อยได้เล่าต่อว่า

 

“ข้อ ติดขัดของการทำงานพัฒนาเด็ก เยาวชน คือ หากทำเป็นโครงการเป็นเรื่องยาก ชาวบ้านวิ่งออกข้างนอกเยอะ อีกทั้งการเมืองในชุมชน เวลาเลือกตั้งมีการแบ่งฝ่าย มีผลกระทบต่อการทำงานเยาวชน เพราะงานจะต้องมีคนในชุมชนเข้ามา และหากเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง เด็กจะต้องฝืนตัวเองออกจากทีวีออกจากการเล่นเกมให้ได้ บางครั้งเด็กก็ถอยออกไปจากกิจกรรม รวมถึงการที่พ่อแม่ไม่เข้าใจ ที่จะให้เด็กเข้ามาร่วมกิจรรม เพราะช่วงปิดเทอม เด็กต้องออกไปช่วยพ่อแม่หารายได้ ที่สำคัญอีกอย่าง คือการให้ความร่วมมือขององค์กรในชุมชน เช่น อบต. โรงเรียน...”

จะใช้วัฒนธรรมประเพณีพัฒนาลูกหลานบ้านห้วยม้าลอย อย่างไร 

 

อาจารย์ ทรงพลให้ความเห็นและคำแนะนำว่า การพัฒนาเด็ก โดยใช้วัฒนธรรมประเพณี เราต้องถอยกลับไปทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมประเพณีคืออะไร คือ กิจกรรมที่ดึงทุกเพศ ทุกวัยเข้ามาร่วมกัน เป็นความสนุกสนาน เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับฤดูกาล ช่วง จังหวะเวลา

 

หาก จะนำมาประยุกต์ใช้ เราจะต้องออกแบบให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเช่นวันวิสาขบูชา เคยซื้อเทียนสำเร็จรูปถวายวัด เปลี่ยนใหม่มาให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการหล่อเทียนได้หรือไม่ เปิดโอกาสให้โรงเรียนครอบครัวเข้ามาช่วยกัน อบต. แทนที่จะออกเงินซื้อเทียน ลองปรับมาเป็นออกเงินเพื่อให้ชุมชน ครอบคัว เยาวชนมาทำกิจกรรมร่วมกันหล่อเทียนได้หรือไม่

 

ความ ร่วมมือเกิดจากความสนใจร่วม ได้ความสนุกสนาน ได้บุญได้ความสุขกลับไป วัฒนธรรมสร้างใหม่ได้ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นการสร้างความสามัคคี วัฒนธรรมบางตัวตายไปแล้ว แต่เราสร้างใหม่ได้ โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ...ห้วยม้าลอยก็ทำได้หากมีหลัก

 

การ ใช้วัฒนธรรมพัฒนาเด็ก ทำได้ทุกภาค อยู่ที่การออกแบบ เด็กพัฒนามากยากหากผู้ใหญ่เข้าใจ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้ทำ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องเอากิจวัตรประจำวันเป็นตัวตั้ง ดูจังหวะของเด็กครอบครัวและจัดการเวลาให้ลงตัว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความต่อเนื่อง

เรียนรู้จาก  “โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย”
เกิดอะไรบ้างจากการดำเนินงานที่ผ่านมา

เมื่อฉายภาพกิจกรรม โรงเรียนครอบครัวห้วยม้าลอย (เวทีการเรียนรู้ของแกนนำ เวทีผู้ปกครอง) จบแล้ว ในวงได้เริ่มมีการพูดคุยกัน

 

พี่ เก๋ (ธนภรณ์  แวงวรรณ) .ในฐานะเลขานุการทีมครูใหญ่และเป็นพี่เลี้ยงของแกนนำเยาวชนได้บอกเล่า กิจกรรมโรงเรียนที่ทำมา (มีนาคม ถึงพฤษภาคม 2555) ว่า

“กิจกรรม ที่ทำไปแล้ว คือ การคัดเลือกแกนนำเยาวชน การเสริมศักยภาพแกนนำเยาวชนผ่านเวทีการเรียนรู้โดยให้เรียนรู้ผ่านการลงมือ ทำจริงคือพาน้องทำกิจกรรมและเรียนรู้จากการทำ เมื่อทำกิจกรรมแล้วมีการถอดบทเรียนจากการทำ ส่วนผู้ปกครองได้จัดเวทีพูดคุยพ่อแม่ผู้ปกครองไปแล้ว”

   

ข้อสังเกตต่อกิจกรรมที่ผ่านมา

แต่ละท่านให้ข้อสังเกตผ่านมุมมองของตัวเองที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมโรงเรียนครอบครัว

 

“ผลที่เกิด การเปลี่ยนแปลงของเด็ก แรกๆ เด็กไม่กล้าแสดงออกเพราะไม่เคยฝึกมาก่อน

 

แต่พอผ่านการทำกิจกรรม โดยให้แกนนำเรียนรู้ฝึกทักษะต่างๆ กับน้องๆ กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นนัก เรียน ป.3 - ป.6 ของโรงเรียนห้วยม้าลอย เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำทำให้แกนนำเด็กมีความกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูดมากขึ้น  และมีการบันทึกความดีประจำวันด้วย” (พี่เก๋) 

 

“ผู้ ปกครองไม่ค่อยมาร่วมกิจกรรม เพราะเป็นกิจกรรมนอกโรงเรียน ดังนั้น จึงใช้วิธีการประสานผ่านโรงเรียน  ตอนนี้เด็กติดกิจกรรม มาถามเรื่อยว่าเมื่อไหร่จะมีกิจกรรมอีก ที่จะต้องคิดต่อคือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก หากมีคนช่วยชี้แนะในการออกแบบก็จะไปได้ดี”  คุณเตียงในฐานะครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวได้บอกเล่าสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการ ทำงานของตัวเอง

การ บอกเล่าส่วนใหญ่ หลานท่านสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของลูกหลานในทางที่ดีขึ้น เด็กมีการเปลี่ยนแปลง กล้าแสดงออกมากขึ้น พฤติกรรมของเด็กดีขึ้น ในส่วนของโรงเรียน ครูในโรงเรียนกำชับให้นักเรียนบันทึกความดีทุกวัน  เพราะเด็กจะเชื่อครูมากกว่าพ่อแม่

 

จากการบอกเล่าเห็นแต่ละท่านมีความตั้งใจที่จะไปต่อ

สิ่งที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

ใน วงได้แสดงความเห็นว่า เรื่องที่จะต้องคิดต่อ คือ การออกแบบเพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชน และการเผยแร่กิจกรรมให้เป็นที่รู้จักของชุมชนในวงกว้างมากขึ้น เวลาจัดกิจกรรมผู้ปกครองไม่ได้ค่อยเข้ามาดู ทำให้ผู้ปกครองไม่เห็นการพัฒนาการของลูก ผู้ปกครองก็ยังคิดว่าหวังให้คนอื่นหรือโรงเรียนช่วยทำกิจกรรมกับลูก แต่ตัวผู้ปกครองไม่ค่อยเข้ามาร่วม  อีกทั้งเด็กในหมู่บ้านอื่นก็ไม่ได้รับรู้รับทราบ เพราะเราพึ่งเริ่มทำ แต่ก็ได้ผลเกินคาด 

ข้อคิดความรู้ใหม่ที่ได้จากโรงเรียนครอบครัว

 

แต่ ละท่านได้บอกเล่าความคิด ความรู้ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม เช่น ได้เห็นแล้วว่า ความคิดของเด็กออกมาจากใจ เด็กมีความฝัน มีจุดมุ่งหมาย ความสำเร็จของลูกคือความฝันของพ่อแม่

 

บาง ท่านเกิดการเรียนรู้ว่า เกิดความคิดจากการพาเด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ทำอะไรก็พาหลานทำด้วย ส่วนตัวเองใจเย็นลงเยอะ เด็กคือหนังสือที่อ่านยากมาก...ได้ความรู้ใหม่ เมื่อก่อนเป็นคนไม่รับฟัง  พอเข้าร่วมกิจกรรมรู้จักฟังลูกฟังหลานมากขึ้น เฝ้าดูเฝ้าสังเกตลูกมากขึ้น ไม่สั่ง ไม่ตัดสินเหมือนแต่ก่อน

 

“ที่ ผ่านมาเราดูถูกเด็กเกินไป ว่าความคิดเด็กไปไมได้ แต่ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำคือ เราจะต้องเปลี่ยนความคิดผู้ปกครอง เวลาเด็กมีอยู่ด้วยกันเขาจะมีความคิดของเขา กิจกรรมที่ทำมีแนวโน้มให้เขาคิดแต่ในเรื่องดีๆ เมื่อก่อนหน้านี้เด็กร่วมกันพูดถึงเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่แนวทางโรงเรียนครอบครัว เป็นการรวมกลุ่มให้เด็กได้คิดดีทำดี เมื่อเด็กมีการคิดก็ทำให้เป็นการปลูก ฝังการคิดดีให้เข้าไปอยู่ในตัว กระบวนการคิดดี ทำดีอย่างต่อเนื่อง ...ซึ่งที่สำคัญจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง” (หมออนามัย)

มุมมองของผู้มาเยือน

“ที่ บ้านห้วยม้าลอยเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก พื้นที่ที่สร้างสรรค์และเป้าหลอมที่ดี ต้องใช้เวลา และต้องมีความต่อเนื่อง เรื่องพ่อแม่ก็สำคัญ มีส่วนร่วม มีส่วนในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ดังนั้น พ่อแม่ก็ต้องเรียนรู้...การทำงานกับเด็กบางครั้งก็ท้อ เราจะต้องใช้โอกาสนี้กลับมาดูใจตัวเอง ดูความรู้สึกของตัวเอง ดูแลตัวเองเพื่อให้เกิดพลังต่อไป  เด็กเขาก็มีวิธีกรเรียนรู้ของเขา เราต้องวางใจและคอยสังเกต”  (พี่อ้อย : ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน)

การจัดการต่อของโรงเรียนครอบครัวห้วยม้าลอย

ก่อนจบการพูดคุยครั้งนี้ อาจารย์ทรงพล ได้ให้แนวทางในการดำเนินงานโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย ว่าครู ใหญ่และทีมต้องคิดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ในรูปแบบของออมทรัพย์ ในรูปแบบของวัฒนธรรม ...การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ร่วมสังเกตลูกหลานตอนเข้าร่วมกิจกรรม และร่วมถอดบทเรียน ร่วมดูแลลูกเมื่อลูกอยู่บ้าน..การทำแผนพัฒนาแกนนำเยาวชน เช่น รับผิดชอบฐานการเรียนรู้ มอบหมายหน้าที่ให้เขาทำเป็นคู่ เขาจะพยายามทำให้ดีที่สุด ผู้ใหญ่จะต้องช่วยเขาทำให้ดีที่สุด เพราะเขาอยากเป็นคนเก่ง แกนนำแต่ละคนจะมีน้องเล็กๆในกลุ่มกี่คน แกนนำจะพาน้องทำกิจกรรมอะไร ให้เขาคิดเอง พาน้องเล่นเอง ซึ่งไม่ต้องรอผู้ใหญ่ เขาได้ทำเยอะเขายิ่งได้ฝึกตัวเอง ส่วนผู้ใหญ่ทำหน้าที่แนะนำ ดังนั้น แกนนำต้องรู้ว่าเยามีน้องๆในกลุ่มคือใคร พี่คน และใน 1 สัปดาห์เขาจะมีแผนพาน้องๆทำอะไร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายไม่ต้องใช้เงิน

ในส่วนของการดำเนินงานเกี่ยวกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอยอาจารย์ทรงพล แนะนำว่าต่อว่า

 

ครู ใหญ่และทีมต้องทำวาระการประชุมกรรมการ เพื่อขอคำชี้แนะ เพื่อขอความเห็น ทำปฏิทินการประชุมกรรมการ โดยครูใหญ่และทีมเป็นคณะทำงาน  ประชุมกรรมการ 2 เดือน/ครั้ง – ควรกำหนดวันประชุมไว้ล่วงหน้า ซึ่งการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีผู้สรุปการประชุม

 

ส่วนทางโรงเรียนห้วยม้าลอย มีครูคนไหนสนใจงานวิจัย ควรทำเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

การ พูดคุยครั้งนี้จบลงด้วยทุกคนมีความสุขจากการได้ทำเพื่อลูกหลาน เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีของลูกหลาน ซึ่ง...นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น ยังมีอีกหลายอย่าง หลายเรื่องที่แต่ละท่านจะต้องร่วมคิด ร่วมทำกันต่อไป..ขอขอบคุณแทนเด็กค่ะ.


การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค)
(พื้นที่บ้านห้วยมาลอย หมู่ 4 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี)

สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)