ประมวล ดวงนิล: การออกแบบการเรียนรู้ข้ามเครือข่ายของเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ

โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชน ได้คิดเอง ทำเอง และปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชนบนฐานความรู้ผ่านกระบวนการเติมพลังของพี่เลี้ยงหรือ โคช ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ 

เพราะเราเชื่อว่า “เด็กและเยาวชนมีศักยภาพและเป็นขุมพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาชุมชนสังคมท้องถิ่น สังคมประทศชาติและสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต” และมีความเชื่อว่า “การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการคิดและลงมือทำจริงบนฐานความรู้” โดยมีโจทย์สำคัญที่ท้าทายเพื่อหาคำตอบร่วมกัน คือ จะสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับเด็กเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษได้อย่างไร และ พลเมืองศรีสะเกษจะเป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์

ภายใต้การดำเนินงานของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 ได้ออกแบบการจัดกลุ่มโซนพื้นที่ ในการสร้างการเรียนรู้เชิงพื้นที่เพื่อสร้างสำนึกร่วมกลุ่มแกนนำเยาวชน เพื่อสร้างจุดร่วมการพัฒนาในเชิงพื้นที่ให้เกิดกลไกเชื่อมการทำงานในรูปแบบเครือข่ายในพื้นที่โซนที่กลุ่มแกนนำที่ทำโครงการในพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ให้เรียนรู้ หนุนเสริมช่วยเหลือซึ่งกันและกันขยายวงการเรียนรู้นอกเหนือจากโครงการของกลุ่มตนเองนำไปสู่การจัดการพื้นที่และชุมชนตนเองที่มีความหลากหลายสลับซับซ้อนเชื่อมโยงมีผลต่อเนื่องถึงกันและเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของจังหวัดร่วมกับภาคีเครือข่าย 

ระบบกลไกการทำงานภายในโซน

ระบบกลไกการทำงานภายในโซน เป็นการออกแบบทำงานร่วมกันของกลุ่มเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนโดยจะมีระบบบดั้งนี้ 

1. เป้าหมาย เป็นการกำหนดเป้าหมายร่วมกันของเยาวชนว่าเราอยากเห็นอะไรอยากให้เกิดอะไรในแต่ละโซนพื้นที่ 

2. วัตถุประสงค์ เป็นการพูดคุยถึงผลที่เยาวชนประสงค์อยากให้เกิดในแต่ละพื้นที่โซน 

3. กิจกรรมร่วมกันของโซน เป็นการวางแผนร่วมในแต่ในละพื้นที่โซนว่าเราจะมีกิจกรรมอะไรร่วมกันในโซน 

4. ทีมประสานงานกลาง เป็นการคัดเลือกทีมทำงานประสานงานตรงกลางโดยมีตัวแทนแต่ละโครงการเข้าร่วมเป็นทีม

ผลที่เกิดขึ้นโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเยาวชน 18 โครงการ ดำเนินการในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ 1) อ.เมือง 2)อุทุมพรพิสัย 3) อ.ห้วยทับทัน 4)อ.ปรางค์กู่ 5) อ.ขุขันธ์ 6) ขุนหาญ และได้จัดพื้นที่โซนออกเป็น 3 โซน 1) โซนอำเภอห้วยทับทัน-เมือง-อุทุมพรพิสัย (โซนห้วยเมืองสัย) จำนวน 5 พื้นที่โครงการ 2) โซนอำเภอขุขันธ์-ปรางค์กู่ จำนวน 9 พื้นที่โครงการ 3) โซนอำเภอขุนหาญ จำนวน 4 พื้นที่โครงการต

การทำงานเรียนรู้ข้ามโซนของเยาวชนเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในโซน เรียนรู้ข้ามพื้นที่โซน เพื่อนำไปสู่การเสริมพลังเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ โดยการดำเนินการให้กลุ่มแกนนำเยาวชนร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหาในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละโชนว่าจะทำอะไรที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ใครจะเข้าร่วม และออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันข้ามพื้นที่โชน ในรูปแบบพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษโดยทีมพี่เลี้ยงและโค้ชทำหน้าที่ติดตามสนับสนุนร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้สัญจรในระดับพื้นที่โซน และสรุปบทเรียนการสัญจรร่วมกัน

กิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังเป็นโซน) เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งเป็นการออกแบบการทำงานเรียนรู้ร่วมกันของเยาวชนภายในโซนและข้ามโซน โดยให้แต่ละพื้นที่โซนได้ออกแบบนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนัง) ด้วยตนเองเพื่อสร้างการเรียนร่วมกันภายในโซนและมีการเรียนรู้ข้ามโซนโดยการให้กลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่มได้เดินทางมาร่วมกิจกรรมนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) ของแต่ละพื้นที่โซน ทั้ง 3 โซนและเป็นการสร้างการเรียนรู้รูปธรรมระดับโซน โดยการจัดการเรียนรู้ข้ามกลุ่ม-ข้ามโซน ในรูปแบบ“เยาวชนสัญจรเรียนรู้” เป็นกิจกรรมที่ออกแบบไว้เพื่อให้กลุ่มเยาวชนที่ทำโครงการในพื้นที่ได้เรียนรู้การทำงานของเพื่อนในโซนเดียวกัน และข้ามโซน โดยกลุ่มที่เป็นเจ้าภาพให้เพื่อนมาเรียนรู้ จะทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรม ประสานเพื่อนต่างกลุ่ม ต่างโซน และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง แบ่งบทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ช่วยเหลือกัน โดยโคชโหนดประจำโซนจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ประสานงาน ร่วมเรียนรู้ในพื้นที่ และจัดเวทีสรุปนำเสนอผลการปฏิบัติการรูปธรรมในพื้นที่ ในรูปแบบการฉายหนังกลางแปลง โดยออกแบบกระบวนการร่วมกับกลุ่มเยาวชน 3 โซน ทีมโคชโหนดศรีสะเกษชวนน้องคิดเกี่ยวกับ รูปแบบงาน เนื้อหาที่อยากนำเสนอ สื่อการนำเสนอ คนรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ วันเวลาสถานที่ ผู้เข้าร่วม เป็นต้น และจัดนำเสนอในพื้นที่รวมกันตามโซน เพื่อให้ชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ผู้ปกครองของกลุ่มเยาวชน ได้ร่วมเรียนรู้และเห็นพลังของลูกหลานที่ทำโครงการเพื่อชุมชนตนเอง เป็นกลยุทธ์การเชื่อมต่อการเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่รูปธรรมในเชิงพื้นที่ ให้กลุ่มแกนนำเยาวชนได้รู้และเข้าใจที่ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่ชุมชนตนเองซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกัน โดยมีการสร้างการเรียนรู้โดย วิธีการเรียนรู้สัญจรภายในโซนข้ามกลุ่ม ข้ามโซน

1. กิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) โซนอำเภอขุนหาญ งานมหกรรมหนังกลางแปลง “พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ มูไฮ บองประโอญ โซนขุนหาญ ร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน” กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ณ วัดกันทรอมใต้ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเยาวชนร่วมจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอขุนหาญ 4 โครงการ 1)โครงการสร้างฐานเรียนรู้สมุนไพรไปร่ตาจูเพื่อการจัดการป่าชุมชน บ้านกันทรอม ต.กันกรอม อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 2) โครงการทอรักร่วมกันProductสร้างสรรค์ แปรรูปผลิตภัณฑ์กอนกวยSodlaway บ้านแต้พัฒนา ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 3) โครงการสะเองสืบสานจัดกระบวนการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สู่รุ่นน้องนอกห้องเรียน บ้านโพธิ์กระสังข์ ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 4) โครงการเศษผ้าสืบสานเล่าขานตำนานบ้านดู่ ต.ขุนหาญ อ.ขุนหาญ จ.หวัดศรีสะเกษ


กระบวนการดำเนินงาน เริ่มจากเยาวชนในโซนขุนหาญร่วมกันประชุมเตรียมงาน ออกแบบงาน กำหนดวันเวลาสถานที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย วางกำหนดการ แบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งงานประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ดำเนินงาน การดำเนินงาน “พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ มูไฮ บองประโอญ โซนขุนหาญ ร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน” กิจกรรมในงานมี 1) เรียนรู้ผลการดำเนินงานผ่านนิทรรศการมีชีวิตของกลุ่มเยาวชนโซนขุนหาญ 4 โครงการ 2) เวทีเสวนา “พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ มูไฮ บองประโอญ โซนขุนหาญ ร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน” โดยตัวแทนแกนนำเยาวชนโซนขุนหาญ 4 โครงการ 3) การแสดงศิลปวัฒนธรรมออนซอนอีสาน โดยกลุ่มเยาวชนสานฝัน 4) ฉายหนังกลางแปลง “พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ มูไฮ บองประโอญ โซนขุนหาญ ร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน”ของกลุ่มเยาวชนโซนขุนหาญ 4 โครงการ 5) การแสดงศิลปวัฒนธรรมพิธีกรรมสะเนงสะเองกวย โดยกลุ่มเยาวชนสะเนงสะเองกวย 6 )แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมชมงานและสรุปบทเรียนร่วมกันของคณะทำงานโซนขุนหาญ

2. กิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) โซนอำเภอห้วยทับทัน-เมือง-อุทุมพรพิสัย (โซนห้วยเมืองสัย) งานมหกรรมหนังกลางแปลง“ตุ้มโฮมพาแลง เบิ่งแยงหนังสั้น สานพลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ” กิจกรรมจัดขึ้นใน วันที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองสะมอน ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเยาวชนร่วมจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอห้วยทับทัน-เมือง-อุทุมพรพิสัย 5 โครงการ 1)โครงการไก่ไข่เพื่อการเรียนรู้ ต.คูซอต อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 2) โครงการน้ำประปาใสด้วยแรงใจฟ้าผ่าสามัคคี บ้านฟ้าผ่า ต.หนองห้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ 3) โครงการย้อนรอยศึกษาสืบสานภะซากวยโทร๊ะอึมเพิ๊ต บ้านพงพรต ต.หนองห้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ 4) โครงการยุวชนอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าหนองแสนแสบ บ้านหนองสะมอน ต.เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ 5)โครงการมะพร้าววัยใสสร้างเศรษฐกิจชาวทุ่งมน บ้านทุ่งมน ต.ห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ

กระบวนการดำเนินงาน เริ่มจากเยาวชนในโซนห้วยเมืองสัยร่วมกันประชุมเตรียมงาน ออกแบบงาน กำหนดวันเวลาสถานที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย วางกำหนดการ แบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งงานประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ดำเนินงาน การดำเนินงาน “ตุ้มโฮมพาแลง เบิ่งแยงหนังสั้น สานพลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ” กิจกรรมในงานมี 1)เรียนรู้ชมนิทรรศการกลุ่มเยาวชนโซนห้วยทับทัน เมือง อุทุมพรพิสัย (5 กลุ่ม) 2) พิธีเปิดโดย นายธวัช สุวรรณ นายอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 3) การแสดงชุดออนซอนอีสาน โดยเยาวชนบ้านฟ้าผ่า และบ้านพงพรต 4) เสวนา หัวข้อเรื่อง “เรื่องเล่าเว้าสู่กันฟัง” 5) เบิ่งแยงหนังสั้นของกลุ่มเยาวชนโซนห้วยทับทัน เมือง อุทุมพรพิสัย 5 โครงการ 6) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมชมงาน 7) รับประทานอาหาร “พาแลง” ร่วมกัน 8) พิธีปิด โดย นายศราวุฒิ ยงกุล พี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชนบ้านหนองสะมอน 9) กลุ่มแกนนำเยาวชนสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน

3. กิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) โซนอำเภอขุขันธ์-ปรางค์กู่ งานมหกรรมหนังกลางแปลง โมเมอพลังกอนกะแนน “เล่าขานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ยลยินปรางค์กู่-ขุขันธ์” กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ วัดระกา ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเยาวชนร่วมจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ 9 โครงการ 1) โครงการเยาวชนขามใหญ่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพัฒนาการทอเสื่อกก บ้านขาม ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 2)โครงการอนุรักษ์สืบสานการละเล่นกันตรึมพื้นบ้านสานความรู้สู่มือน้อง ศพอ.วัดระกา ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 3) โครงการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์จากทางมะพร้าว บ้านสวาย ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 4) โครงการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของกลุ่มเยาวชนบ้านแสนแก้ว ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 5) โครงการSpykids รุ่นใหม่ถักทอใจสู่ผลิตภัณฑ์ บ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 6) โครงการเรียนรู้และทดลองแปรรูปหัวปลาให้เป็นอาหารไก่โดยเยาวชนบ้านดงตาดทอง ต.กระโพธิ์ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 7) โครงการเยาวชนร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนบ้านโพธิ์ศรี ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 8) โครงการการจัดการพื้นที่และลำห้วยหนองบัวบานเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บ้านน้ำอ้อม ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 9) โครงการโกนเจาเล่าขานตำนานปราสาทตาเล็ง ต.ปราสาท อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

กระบวนการดำเนินงาน เริ่มจากเยาวชนในโซนอำเภอขุขันธ์-ปรางค์กู่ ร่วมกันประชุมเตรียมงาน ออกแบบงาน กำหนดวันเวลาสถานที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย วางกำหนดการ แบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งงานประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ดำเนินงาน ดำเนินงาน โมเมอพลังกอนกะแนน “เล่าขานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ยลยินปรางค์กู่-ขุขันธ์” กิจกรรมภายในงานมี 1) เยี่ยมชมนิทรรศการเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษโซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ 2) พิธีเปิด โดย นายสมบุญ วงศ์วัชรานนท์ นายอำเภอปรางค์กู่ 3) การแสดงชุดรำอัปสรา โดยเยาวชนบ้านปราสาทตาเล็งและบ้านระกา 4) เสวนา “พลังกอนกะแนนเล่าขานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นยลยินปรางค์กู่-ขุขันธ์” 5) โมเมอหนังสั้น พาแลงร่วมกัน สานสัมพันธ์กูย ขแมร์ เลียว ของกลุ่มเยาวชนโซนปรางค์กู่ขุขันธ์ 8 โครงการ 6) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมชมงาน 7) การแสดงรำ 3 เผ่า โดยเยาวชนโซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ 8) รับประทานอาหาร วงพาแลง รับฟังดนตรีกันตรึมพื้นบ้าน 9) พิธีปิด โดย พระครูปริยัติศีลาภรณ์ 10) กลุ่มแกนนำเยาวชนแลกเปลี่ยน สะท้อนการเรียนรู้

ผลที่เกิดขึ้นในกิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) 1)กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซน 2) กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนการเรียนรู้นำเสนอผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองที่เกิดจากสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง เห็นคุณค่ามีความภาคภูมิใจในตนเองไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาชุมชนตนเอง 3) กลุ่มแกนนำเยาวชนได้เผยแพร่ผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองก่อให้เกิดพลังและแรงหนุนเสริมจากผู้นำชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนการทำกิจกรรมดีๆเพื่อชุมชนตนเองของเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ 4) ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซนได้เรียนรู้ เข้าใจ ในกระบวนการวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชน เปิดมุมมอง เห็นพลังและคุณค่าของเยาวชนในการเรียนรู้ ผ่านการคิดเอง ทำโครงการเพื่อชุมชนด้วยตนเองมีความภาคภูมิใจในลูกหลานตนเอง 5) ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นศักยภาพของการทำโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มเยาวชนและพร้อมจะเปิดพื้นที่เปิดโอกาสหนุนงบประมาณให้กับเยาวชนในการดำเนินการโครงการเพื่อชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง 6) เกิดการเรียนรู้ข้ามพื้นที่โซน สร้างพลังการทำงานแบบเครือข่ายการช่วยเหลือซึ่งกันและกันข้ามโซน

บทเรียนและข้อเสนอแนะกิจกรรมสรุปบทเรียนและนำเสนอผลการปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรม (ฉายหนังโซน) 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการจัดในพื้นที่กลางแจ้งซึ่งสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไม่แน่นอน เช่นบางโซนเจอฝนตก บางโซนเจอลมแรงหนาวจัดส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมฉายหนังโซนมาได้ได้ตามเป้าที่กลุ่มแกนนำเยาวชนคาดหวังเอาไว้ 2) กิจกรรมฉายหนังโซนปีนี้ได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง 3 วันรวดใน3พื้นที่โซนทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างโซนของกลุ่มเยาวชนน้อย เนื่องจากแต่ละพื้นที่โซนต้องจัดเตรียมกิจกรรมในแต่พื้นที่โซนของตนเองทำให้การเดินทางมาร่วมเรียนรู้ข้ามพื้นที่โซนทำได้ลำบาก 3) จัดกิจกรรมฉายหนังในแต่ละพื้นที่โซนโดยการเว้นระยะห่าง1อาทิตย์ต่อพื้นที่โซน เพื่อให้กลุ่มแกนนำได้มีเวลาในการเตรียมการจัดงานของแต่ละโซนไม่เกิดข้อกังวลในการจัดงานโซนตนเองและสามารถเข้าร่วมเรียนรู้ข้ามโซนได้ 4) เน้นการมีส่วนร่วมผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการพูดคุยแสดงความคิดเห็นในการยกระดับการหนุนเสริมการทำกิจกรรมดีๆของเยาวชน

ผลลัพธ์ความสำเร็จที่เกิดขึ้น

กลุ่มเยาวชนสามารถ คิดเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้เอง สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มที่มาเรียนรู้ได้ สามารถเชื่อม มีผู้รู้ ชุดความรู้และมีผู้เรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดพื้นที่รูปธรรมการเรียนรู้ทั้งในส่วนที่เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุน และรูปธรรมผลการดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อคลี่คลายปัญหาของชุมชนสามารถนำมาเป็นโมเดลพื้นที่รูปธรรมตัวอย่างเพื่อเชื่อมเครือข่ายความร่วมมือของคนในชุมชนและหน่วยงานได้ทั้งในระดับชุมชน ระดับโซนพื้นที่ และระดับข้ามโซนพื้นที่ในจังหวัดได้ ทำให้ กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซน กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนการเรียนรู้นำเสนอผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองที่เกิดจากสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง เห็นคุณค่ามีความภาคภูมิใจในตนเองไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาชุมชนตนเองสามารถเผยแพร่ผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองก่อให้เกิดพลังและแรงหนุนเสริมจากผู้นำชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนการทำกิจกรรมดีๆเพื่อชุมชนตนเอง เข้าใจ ในกระบวนการวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชน เปิดมุมมอง เห็นพลังและคุณค่าของเยาวชนในการเรียนรู้ ผ่านการคิดเอง ทำโครงการเพื่อชุมชนด้วยตนเองมีความภาคภูมิใจในลูกหลานตนเองลูกหลานเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ


ผู้สังเคราะห์

นายประมวล ดวงนิล เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดี ศรีสะเกษ ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

บทบาทหน้าที่ในโครงการฯ

  • พัฒนาระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ความเคลื่อนไหวการดำเนินกิจกรรมโครงการผ่านสื่อ Social (FB.เพจโครงการฯ)
  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้องเยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปบทเรียน เขียนบันทึกการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการของน้องเยาวชนรับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนห้วยเมืองสัย 5 โครงการ




­