รุ่งวิชิต คำงาม: การออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน PBL

โดย นายรุ่งวิชิต คำงาม โคชพัฒนาเยาวชน active citizen จังหวัดศรีสะเกษ

หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ , ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

บทบาทหน้าที่ในโครงการฯ

  • พัฒนาพลเมืองเยาวชนเยาวชนรุ่นใหม่ (Active Citizen) และพัฒนาศักยภาพโคช โดยการออกแบบสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม ปลูกจิตสำนึกความพลเมืองเด็กเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนโดยให้เยาวชนคิดเองทำเอง และมีผู้ใหญ่ช่วยหนุน ประสานเชื่อมพลังภาคีเครือข่ายผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมพัฒนาเยาวชน และพัฒนาเป็นกลไกการพัฒนาเยาวชนในระดับโซนพื้นที่และในระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การสร้างพลังพลเมืองศรีสะเกษให้เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์
  • บริหารจัดการองค์กรและโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้โดยคอยกำกับ ดูแล กำหนดทิศทาง สร้างการเรียนรู้ทีมทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการวางแผน ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดตามงาน ระบบการบริหารงบประมาณ ระบบรายงาน และการสื่อสารสร้างการเรียนรู้ภายในและภายนอกองค์กร

ฐานคิดและความเป็นมาในการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชน ได้คิดเอง ทำเอง และปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชนบนฐานความรู้ผ่านกระบวนการเติมพลังของพี่เลี้ยงหรือโคช ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ เพราะเราเชื่อว่า “เด็กและเยาวชนมีศักยภาพและเป็นขุมพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาชุมชนสังคมท้องถิ่น สังคมประทศชาติและสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต” และมีความเชื่อว่า “การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการคิดและลงมือทำจริงบนฐานความรู้” โดยมีโจทย์สำคัญที่ท้าทายเพื่อหาคำตอบร่วมกัน คือ จะสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับเด็กเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษได้อย่างไร และ พลเมืองศรีสะเกษจะเป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร

ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงบนกระแสการพัฒนายุคทุนนิยมที่มีเงินเป็นศูนย์กลางอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย รวดเร็วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกันในทุกระดับ ทุกหน่วย ทุกพื้นที่ทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อการเกิดช่องว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่มีความเลื่อมล้ำ และเกิดช่องว่างความแตกต่างของความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ทำให้ความรู้ความชำนาญและทักษะในการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองเลือกรับ ปรับปรุงนำใช้ปฏิบัติการในพื้นที่จริงชีวิตจริงในภาวะวิกฤติความเสี่ยงและความเปราะบางของสังคมปัจจุบันอย่างมีเหตุผลลดน้อยลง อีกทั้งหลักยึดเหนี่ยวที่พึ่งทางใจที่เป็นจุดร่วมในสิทธิความเป็นพลเมืองโดยสิทธิธรรมชาติของชุมชนสังคมท้องถิ่นที่เคยมีมาร่วมกันมีความเลือนราง ทำให้พลังความรู้สึกนึกคิดความเป็นพลเมืองที่มีจิตอาสาสำนึกในการทำประโยชน์ต่อชุมชนสังคมส่วนรวมในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขลดน้อยถอยลง

ดังนั้น การดำเนินโครงการฯนี้จึงมุ่งเน้นการให้คุณค่าความสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และ เด็กเยาวชนจึงเป็นเป้าหมายสำคัญและเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา การสร้างการเรียนรู้อย่างรอบรู้เท่าทัน เท่าเทียมในทุกมิติ ทุกระดับ ทุกหน่วย ทุกพื้นที่ทางสังคมบนฐานความรู้ความเข้าใจเชิงระบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องถึงกันจะนำไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สมดุลและยั่งยืนร่วมกัน การเปิดโอกาส เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กเยาวชนได้คิดเองทำเองแสดงศักยภาพของตนเองในทางที่สร้างสรรค์ บนสถานการณ์พื้นที่จริงและชีวิตจริงของชุมชนและสังคมผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นตนเอง (Community Project) จะสามารถสร้างการเรียนรู้การพัฒนาพลังพลเมืองรุ่นใหม่ให้เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการกอบกู้วิกฤติสังคมบ้านเมืองชุมชนท้องถิ่นตนเอง และเป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้เชื่อมโยงเป็นพลังเครือข่ายสำนึกความเป็นพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจแผ่นดินเกิดเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาจังหวัดและการพัฒนาสังคมประเทศชาติโดยรวมได้

C:\Users\HP\Desktop\กระบวนการทำงานช่วงต้นน้ำ1.jpg

แผนภาพแสดงแนวคิดการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ


เป้าหมาย/วัตถุประสงค์/ภารกิจโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

C:\Users\Kcom\Desktop\งานนำเสนอ1.jpg

การออกแบบกระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงในโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

กระบวนการสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่จังหวัดศรีสะเกษนี้ ไม่เพียงเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนเท่านั้น ยังเป็นการสร้างการเรียนรู้ กับพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์กรท้องถิ่น ที่เป็นพลังพลเมืองผู้ใหญ่ ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กเยาวชน ได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองผ่านการทำโครงการของเด็กเยาวชนในพื้นที่ไปพร้อมกัน เริ่มตั้งแต่กระบวนการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจร่วมกัน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การศึกษาข้อมูลความรู้ในชุมชน การปฏิบัติการรูปธรรมบนฐานข้อมูลความรู้ การสรุปบทเรียน และการสื่อสารสู่สาธารณะ ซึ่งในระหว่างกระบวนการสร้างการเรียนรู้นี้ มีการเติมเต็มเสริมสร้างแนวคิดสำนึกความเป็นพลเมือง เพื่อให้เด็กเยาวชนมีคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองที่ดี สำนึกรักท้องถิ่น สานึกความเป็นพลเมือง คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ ใช้ข้อมูลความรู้ในการทำงาน รู้จักตนเอง มีทักษะการจัดการโครงการ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อและเป็นแกนนำพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแผ่นดินเกิดของตนเอง และการเสริมสร้างแนวคิดกระบวนการการทำงานพัฒนาเยาวชน (Active citizen) ของที่ปรึกษา/พี่เลี้ยงโครงการเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ใหญ่ เปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้จากการลงมือทำจริง ชีวิตจริง ในพื้นที่จริงของชุมชน ในลักษณะที่เด็กเยาวชนเป็นผู้ทำ ผู้ใหญ่เป็นผู้หนุนและร่วมสร้างคนพลเมืองรุ่นใหม่เพื่อชุมชนที่เข้มแข็งร่วมกัน โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 มีดังนี้

C:\Users\HP\Desktop\โครง.jpg


การออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ ปี3

1) การหาคน หาพื้นที่ และหาโจทย์ทำโครงการเพื่อชุมชน โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน ดังนี้

  1. การประชาสัมพันธ์โครงการ และรับข้อเสนอโครงการ โดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินโครงการกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้ความเข้าในการจัดทำข้อเสนอโครงการ และเพื่อให้ได้กลุ่มแกนนำเยาวชนในการเข้าร่วมทำโครงการในจังหวัดศรีสะเกษ วิธีการและเครื่องมือ ประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อ Social Page Facebook โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดี ศรีสะเกษ กลุ่มเยาวชนชักชวนเพื่อนมาทำโครงการ พี่เลี้ยงชุมชนประสานผู้นำ กลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่ ทีม Node/พี่เลี้ยงลงพื้นที่และประสานกับภาคีครือข่ายในพื้นที่เพื่อค้นหากลุ่มแกนนำเยาวชนที่สนใจ โดยการพูดคุยแนะนำศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ความเป็นมาของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ รวมทั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ ทำให้มีกลุ่มเยาวชนที่ทำโครงการในปีที่ 1 - 2 ต้องการพัฒนาต่อยอดโครงการเดิมของตนเอง จำนวน 9 โครงการ และมีกลุ่มเยาวชนกลุ่มใหม่ที่สนใจที่จะเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตนเองผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน จำนวน 9 โครงการ ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นคือ
  1. การประชาสัมพันธ์โดยกลุ่มเยาวชนที่มีประสบการณ์ทำโครงการฯ ในปีที่ 1และ 2

สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน ชุมชนใกล้เคียง และคนใกล้ชิด (เพื่อนชวนเพื่อน / พี่ชวนน้อง)

  1. พี่เลี้ยงชุมชนมีศักยภาพในการประสาน เชื่อมกับผู้นำชุมชนที่มีจิตอาสา สนับสนุน

ส่งเสริมให้เยาวชนมีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพที่สร้างสรรค์เพื่อชุมชน

1.2) การจัดระบบกลไกการทำงานร่วมกันเป็นโซนของกลุ่มแกนนำเยาวชน มี

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดระบบและกลไกการทำงานร่วมกันเป็นโซน เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ร่วมกันของเยาวชน โดยมีวิธีการเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้กัน โดยการจัดเวทีโซน 3 โซน คือ โซนขุนหาญจำนวน 4 โครงการ โซนขุขันธ์-ปรางค์กู่ จำนวน 9 โครงการ โซนห้วยทับทัน-เมือง-อุทุมพรพิสัย จำนวน 5 โครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมในรูปแบบกลไกการทำงานของเยาวชนเชิงพื้นที โดยกลุ่มแกนนำเยาวชนได้ร่วมกันคิด กำหนดเป้าหมาย ภารกิจ แผนงาน คณะผู้รับผิดชอบ ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นคือ

1.2.1) เยาวชนมีจุดร่วมในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม รู้จักของดี และปัญหาใน

ระดับระดับโซนร่วมกัน

1.2.2) เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์ของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่โซน แนวทางการสร้างพลัง

เครือข่ายในการพัฒนา หนุนเสริมในระดับพื้นที่โซนร่วมกัน

1.2.3) เยาวชนมีเป้าหมาย ภารกิจ แผนงานที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่โซน

เพื่อสร้างสำนึกพลเมืองร่วมกันและอาสาเข้าไปมีบทบาทในการขับเคลื่อนการทำงานเป็นโซนร่วมกัน

1.2.4) การจัดระบบกลไกโซนสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของพี่เลี้ยง ผู้นำ ผู้ปกครองและ

หน่วยงานในระดับพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ จัดการ สนับสนุนการสร้างพลังพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพร่วมกันได้

1.2.5) ทีมเจ้าหน้าที่โครงการได้เรียนรู้และเห็นแนวทางในการออกแบบจัดกระบวนการ

เรียนรู้ผ่านปฏิบัติการของเยาวชนในพื้นที่โซน และเห็นแนวทางการเชื่อมสำนึกพลเมืองจากระดับพื้นที่โซนสู่ระดับจังหวัด

1.3)การศึกษาเรียนรู้ชุมชนตนเอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้รู้จักชุมชนของตนเอง เพื่อให้เยาวชนมีข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีวิธีการและเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ในการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนตนเอง คือให้กลุ่มเยาวชนร่วมกันกำหนดประเด็นในการศึกษาชุมชนและการแตกกรอบการศึกษา ออกแบบการเก็บข้อมูล การแบ่งบทบาทหน้าที่ในกลุ่มเพื่อเก็บข้อมูลชุมชน และสนับสนุนทุนเบื้องต้นในการศึกษาเรียนรู้ชุมชนตนเอง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

1.3.1) เยาวชนได้เรียนรู้ เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน ปัญหาและข้อจำกัดของ

ชุมชนตนเอง รู้จักและตระหนักว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

1.3.2) ข้อมูลจากการศึกษาชุมชนสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจว่าตนองจะทำ

อะไรเพื่อชุมชนตนเองได้

1.3.3) การสร้างการเรียนรู้โดยการศึกษาข้อมูลไม่เพียงทำให้เยาวชนได้ข้อมูลเท่านั้น แต่ยัง

เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชน คนในชุมชนก่อนทำโครงการในพื้นที่จริง

1.3.4) การศึกษาเรียนรู้ชุมชน ทำให้เยาวชนได้ออกแบบการทำงานด้วยตนเอง คือ ข้อมูล

เรื่องที่ต้องเก็บ เก็บกับใคร เมื่อไหร่ อย่างไร เช่น การไปสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน การสำรวจพื้นที่ ชุมชนตนเอง การสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

1.4) เวที Zone วิเคราะห์ข้อมูลชุมชน หาโจทย์ทำโครงการเพื่อชุมชนร่วมกับกลุ่มเยาวชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้สรุปและเล่าข้อมูลการศึกษาชุมชนสู่กันฟัง เกี่ยวกับเรื่องที่เก็บ บทบาทในทีม เก็บกับใคร เครื่องมือที่ใช้ ได้ข้อมูลเรื่องอะไรบ้าง ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเก็บข้อมูลชุมชน และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลกำหนดโจทย์เพื่อทำโครงการเพื่อชุมชนร่วมกัน โดยให้กลุ่มเยาวชนชนกันคุยในกลุ่ม วิเคราะห์ปัญหาในชุมชนตนเอง มีเรื่องอะไรบ้าง ด้านไหนบ้าง เรื่องที่อยากทำคืออะไร เกี่ยวข้องกับปัญหาของชุมชน จังหวัดของตัวเองอย่างไร ทำแล้วจะเกิดผลต่อตนเอง ชุมชน จังหวัดและสังคมอย่างไร ถ้าหากทำในชุมชนมีทุน ของดีอะไรบ้างที่จะสนับสนุนการทำโครงการให้สำเร็จ ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

1.4.1) เยาวชนได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ ถึงปัญหา สาเหตุ ผลกระทบจากปัญหาของชุมชนที่มี

ในแต่ละด้าน และรู้ทุน หรือของดีในชุมชนที่จะสามารถนำมาใช้ประกอบการทำโรงการของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนตนเองได้

1.4.2) เยาวชนได้ฝึกทักษะการสรุป เรียบเรียง การจัดระบบข้อมูลของชุมชนตนเอง

1.4.3) เยาวชนได้ฝึกทักษะการเชื่อมโยงข้อมูลชุมชนกับโจทย์ปัญหาการทำโครงการเพื่อ

พัฒนาชุมชนและคลี่คลายปัญหาอื่นในชุมชนได้

2) พัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อชุมชน เป็นกระบวนการเรียนรู้ทักษะการเขียนและการออกแบบ

ข้อเสนอโครงกรมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มแกนนำเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อชุมชนร่วมกัน เพื่อสร้างการเรียนรู้โครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มเพื่อนในโซนและช่วยกันเติมเต็มโครงการเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนร่วมกัน โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน ดังนี้



2.1)จัดเวที Zone ออกแบบการเขียนข้อเสนอโครงการ และการพิจารณาโครงการในโชน

พื้นที่ โดยการสร้างการเรียนรู้ กลุ่มแกนนำเยาวชนในการ ทบทวนเป้าหมายกระบวนการพัฒนาโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 และเติมความรู้องค์ประกอบการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อชุมชม กลุ่มแกนนำเยาวชนทบทวนข้อมูลและโจทย์การทำโครงการเพื่อชุมชนตนเอง ร่วมกันจัดทำร่างข้อเสนอโครงการกลุ่มตนเองนำเสนอ เล่าสู่กันฟัง และกลุ่มแกนนำเยาวชนพร้อมพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาร่วมวิเคราะห์โครงการพร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการและกลุ่มแกนนำเยาวชนจัดปรับข้อเสนอโครงการ โดยมีการดำเนินการ 2 ครั้ง แบ่งเป็น 2 โชน ครั้งที่1 คือ โซนขุนหาญกับ โซนขุขันธ์-ปรางค์กู่ ครั้งที่ 2 คือ โชนห้วยทับทัน-เมือง –อุทุมพรพิสัย ผลการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้น คือ

2.1.1) เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนข้อเสนอโครงการสามารถออกแบบการเขียน

โครงการเพื่อชุมชนตนเองได้

2.1.2) เยาวชนมีทักษะการคิด วิเคราะห์ ความเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการเขียน เรียบเรียง

เป็นข้อเสนอโครงการได้ด้วยตัวเอง

2.2.3) เยาวชนได้ร่วมกันฝึกทักษะการนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มโครงการให้กัน

และกัน

2.2.4) เยาวชนได้ข้อเสนอโครงการเพื่อชุมชนตนเองที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อ

เตรียมนำเสนอในเวทีพิจารณาโครงการระดับจังหวัดร่วมกันได้

2.2 เวทีพิจารณาโครงการในระดับจังหวัด มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนมีความรู้ความ

เข้าใจในการดำเนินโครงการ และสามารถนำข้อเสนอแนะไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการของตนเองได้ เพื่อให้กลุ่มพี่เลี้ยง ที่ปรึกษามีความเข้าใจโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชน สามารถออกแบบการเป็นโค้ชให้กับกลุ่มแกนนำเยาวชนได้ และเพื่อสร้างการเรียนรู้การทำงานโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ผ่านการนำเสนอโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชน วิธีการและเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ คือ การทบทวนสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานโครงการ ปี3 เติมความรู้การสร้างพลังพลเมืองผ่านกิจกรรมการเล่นเกมส์ และการสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาท แนวทางการเป็น coach พี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาเยาวชน เยาวชนทบทวนและวิเคราะห์โครงการโดยใช้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเตรียมนำเสนอ และในส่วนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกำหนดเกณฑ์และวิธีพิจารณาโครงการร่วมกัน กลุ่มเยาวชนนำเสนอโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ห้อง ห้องละ 6 โครงการ ตามประเด็นโครงการด้าน วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้านสัมมาชีพชุมชน ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ ผลการเรียนรู้ คือ

2.2.1) เยาวชนมีพลัง มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ มั่นใจในการทำโครงในพื้นที่ชุมชน

บ้านเกิดตนเอง

2.2.2) พี่เลี้ยงชุมชนมีความรู้ความเข้าใจบทบาทการเป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนา

เยาวชนผ่านการทำโครงการในพื้นที่

2.2.3) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นพลัง ศักยภาพของกลุ่มแกนนำเยาวชนในจังหวัดศรีสะเกษ และสนใจ

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่

3) เวทีเติมความรู้ทักษะการสื่อสารและการบริหารจัดการโครงการ โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน ดังนี้

3.1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสื่อสารและการผลิตสื่อ วัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มแกนนำเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการการออกแบบผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารภายในกลุ่ม ชุมชนและสาธารณะ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “เยาชนนักสื่อสารสาธารณะ” มีมูลนิธิสยามกัมมาจลและสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เป็นทีมจัดกระบวนการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่กระบวนการค้นหาความหมายของพลเมืองสื่อนักสื่อสาร ระดมความคิด งานสื่อแบบไหนที่เราอยากดูพร้อม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครื่องมือสื่อสารแบบ “มัลติแพลตฟอร์ม” ลงพื้นที่ ค้นหาประเด็น และแง่มุมชวนสื่อสาร การถ่ายภาพนิ่ง การทำBanner โพสต์ลงfacebook พร้อมแคปชั่นเรื่องราวที่เราอยากสื่อสาร การวางโครงสร้างเรื่องที่เราอยากสื่อสาร รูปแบบการเล่าเรื่อง การออกแบบการสื่อสาร การถ่ายภาพวิดีโอ การตัดต่อสื่อวีดีโอ การชมผลงานการเล่าเรื่องผ่านสื่อวิดีโอของแต่ละทีมและการถอดบทเรียนการลงชุมชนในการทำสื่อร่วมกัน ผลการเรียนรู้ คือ

3.1.1) แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจการเป็นนักสื่อสารสาธารณะ

3.1.2) แกนนำเยาวชนเกิดการเรียนรู้การสื่อสารด้วยภาพนิ่งPhoto Banner พร้อมกับการ

เขียนเล่าเรื่องในประเด็นที่เราอยากนำเสนอต่อสาธารณะ

3.1.3) แกนนำเยาวชนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงพื้นที่ชุมชนค้นหาประเด็นและแง่มุมต่างๆใน

ชุมชนมาสื่อสาร

3.1.4) แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้การวางลำดับโครงเรื่อง รูปแบบในการเล่าเรื่องในการสื่อสาร

เพื่อให้ประเด็นที่จะนำเสนอน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับชุมชนและสาธารณะ

3.1.5) แกนนำเยาวชนมีทักษะสามารถตัดต่อวิดีโอได้และสามารถออกสื่อ ผ่านสถานีโทรทัศน์

Thai PBS ในรายการนักข่าวพลเมืองได้

3.1.6) เกิดนักสื่อสารสาธารณะ ที่สามารถสื่อสารเรื่องราวในชุมชนและสามมารถสื่อสารการ

ทำกิจกรรมของโครงการตัวเองได้

3.1.7) แกนนำเยาวชนสามารถนำชุดความรู้และทักษะการผลิตสื่อไปปรับใช้ในการออกแบบ

การสื่อสารจุดเด่นหรือคุณค่าของของการเของตนเองได้ อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบหนังสั้นได้




3.2) เวทีเติมทักษะการบริหารจัดการโครงการของกลุ่มเยาวชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้

เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการทีมการทำงานเป็นทีม การเงิน บัญชีโครงการ และ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้ออกแบบแผนงาน Timeline กิจกรรมดำเนินโครงการร่วมกัน วิธีการและเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ คือ เยาวชนทบทวนโครงการ ออกแบบกิจกรรม กำหนดบทบาทหน้าที่และกำหนดแผนงาน Time Line การดำเนินโครงการร่วมกัน เติมความรู้การบริหารจัดการโครงการ เอกสารการเงิน บัญชี การเบิกจ่าย และการจัดทำรายงาน เติมความรู้ความสำคัญของการทำงานเป็นทีมเพื่อให้โครงการสำเร็จ และ เติมความรู้การคิดวิเคราะห์โครงการเพื่ออกแบบการสื่อสารโครงการของกลุ่มตนเอง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

3.2.1) เยาวชนได้คิดทบทวนออกแบบ วางแผนปฏิบัติการโครงการร่วมกันและสามารถ

วิเคราะห์ตนเอง เพื่อนในทีมเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการร่วมกันได้

3.2.2) เยาวชนสามารถวิเคราะห์คุณค่าโครงการตนเองเพื่อออกแบบการผลิตสื่อ เพื่อวาง

แผนการผลิตและเขียนโครงเรื่องการสื่อสารผลงานโครงการที่ดำเนินการร่วมกันได้

4) การปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชน โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน ดังนี้

4.1) การปฏิบัติการรูปธรรมโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่ วัตถุ

ประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่รูปธรรมการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มแกนนำเยาวชนกับชุมชนเพื่อสร้างพลเมืองเยาวชนศรีสะเกษร่วมกัน โดยมีกรดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน ทุนชุมชน วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ ผลกระทบที่มีต่อชุมชนเพิ่มเติม และออกแบบการปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละพื้นที่โครงการ โดยทีมพี่เลี้ยง และโค้ช ทำหน้าที่เข้ร่วมชวนคิดชวนคุย ชวนสรุปบทเรียนหลังการดำเนินกิจกรรมปฏิบัติการโครงการของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ และติดตามการดำเนินกิจกรรมผ่านเครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์ Facebook Line ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

4.1.1) กลุ่มแกนนำเยาวชนสามารถดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้วางไว้ในพื้นที่ร่วมกัน

เป็นทีมได้

4.1.2) กลุ่มแกนนำเยาวชนสามารถดำเนินการปฏิบัติการสร้างการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและ

เกิดพื้นที่รูปธรรมที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนและชุมชนได้

4.1.3) เข้าใจปัญหาข้อจำกัด และปัจจัยหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ เพื่อ

สนับสนุน ช่วยเหลือการทำงานของกลุ่มเยาวชนได้

4.1.4) กลุ่มแกนนำเยาวชนมีชุดบทเรียนและประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อ

ชุมชนเป็นของตนเองเพื่อผลิตสื่อเผยแพร่สู่สาธารณะได้

4.1.5) กลุ่มแกนนำเยาวชนเข้าใจเงื่อนไข ข้อจำกัดและศักยภาพของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง

ผู้นำชุมชนมากขึ้น

4.1.6) ชุมชนให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชน เปิด

พื้นที่เปิดโอกาส หนุนเสริมและสนับสนุน

4.2) การจัดระบบกลไกเยาวชนในระดับจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดเครือข่าย

เยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีการดำเนินการ สรุปผลการดำเนินโครงการในแต่ละพื้นที่ การสรุปผลการดำเนินการโนพื้นที่ และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละระดับ เพื่อทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็ง ศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การจัดระบบกลไกการทำงานร่วมของกลุ่มแกนนำเยาวชนในระดับจังหวัดร่วมกัน และกำหนดเป้าหมายร่วมการเป็นกลไกจังหวัด คณะทำงานกลไกเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ และ กำหนดTimeline แผนงานกิจกรรมร่วมกลไกเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

4.2.1) กลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละกลุ่มได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและได้แผน

กิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องร่วมกัน

4.2.2) กลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละโซนได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลใน

พื้นที่โซนวางแผนงานของการดำเนินกิจรรมในระดับ โซนร่วมกัน

4.2.3) เกิดกลไกการทำงานร่วมกันของเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัด

4.2.4) มีคณะทำงานกลางของเครือข่ายเยาวชนศรีสะเกษ ที่มาจากตัวแทนแต่ละพื้นที่โซน

และแผนงานกิจกรรมในการขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนศรีสะเกษร่วมกัน

4.3) เวทีเรียนรู้สัญจรในระดับพื้นที่โซนและข้ามพื้นที่โซน วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกร

เรียนรู้ร่วมกันภายในโซน เรียนรู้ข้ามพื้นที่โซน เพื่อนำไปสู่กรเสริมพลังเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ โดยการดำเนินการให้กลุ่มแกนนำเยาวชนร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหาในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละโชนว่าจะทำอะไรที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ใครจะเข้ร่วม และออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันข้ามพื้นที่โชน ในรูปแบบพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษโดยทีมพี่เลี้ยงและโค้ชทำหน้าที่ติดตามสนับสนุนร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้สัญจรในระดับพื้นที่โซน และสรุปบทเรียนการสัญจรร่วมกัน ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

4.3.1) กลุ่มแกนนำเยาวชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงการระหว่างกลุ่มและโซน

พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

4.3.2) เกิดระบบการเชื่อมเครือข่าย สานความสัมพันธ์กลุ่มแกนนำเยาวชนปี 3 ในระดับพื้นที่

โซน

4.3.3) ชุมชนได้เรียนรู้และเห็นพลังความสามารถของกลุ่มแกนนำเยาวชนศรีสะเกษในการทำ

โครงการเพื่อชุมชน

4.3.4) เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกำลังใจให้กลุ่มเพื่อนเยาวชนที่ทำโครงการเพื่อ

ชุมชนร่วมกัน

4.3.5) เกิดพลังเครือข่ายที่ช่วยหนุนเสริมในการดำเนินการโครงการร่วมกันในระดับพื้นที่โซน

และระดับจังหวัด

4.3.6) กลุ่มแกนเยาวชนได้เรียนรู้การประสานงานพื้นที่ในการขอความร่วมมือในการ

ปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

4.3.7) แกนเยาวชนได้เรียนรู้และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ 4.3.8) กลุ่มแกนเยาวชนตระหนักในปัญหาที่พบเจอและร่วมด้วยช่วยกันลงมือแก้ไขปัญหา4.3.9) เกิดพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

4.3.10) เกิดพลังความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัด

4.3.11) เกิดเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเป็นพลังในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัด

ศรีสะเกษ

5) การถอดบทเรียน โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน คือการสรุปผลและบทเรียนการดำเนินโครงการของเยาวชนทั้งในระดับพื้นที่โครงการ ระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มแกนนำเยาวชนได้เรียนรู้ทบทวนกระบวนการ วิธีการทำงานของตนเอง ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อน และชุมชน และเพื่อให้ได้ชุดความรู้การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัด ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยทีมพี่เลี้ยงและโค้ช ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

5.1) กลุ่มแกนเยาวชนรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อน รู้ว่าตนเองเกิดการแปลงแปลงอย่างไรเช่นกล้า

แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ เป็นแกนนำพัฒนาชุมชนชวนเพื่อนชวนผู้นำชุมชนมาทำงานร่วมกันได้ คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ มีความอดทน รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีสำนึกรักท้องถิ่น และความเป็นพลเมือง รู้เท่าทันสื่อมีทักษะในการสื่อสาร มีทักษะการบริหารจัดการโครงการ และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนและชุมชนได้

5.2) มีชุดความรู้การสร้างการเรียนรู้การพัฒนาเยาวชน (Active Citizen) เช่น ชุดความรู้การ

หาคน หาพื้นที่ หาโจทย์ในการทำโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชน การจัดระบบกลไกการทำงานร่วมกันเป็นโซน และระดับจังหวัดของกลุ่มแกนนำเยาวชน เครื่องมือและวิธีการสร้างการเรียนรู้การศึกษาเรียนรู้ชุมชนตนเองและการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เพื่อหาโจทย์ทำโครงการเพื่อชุมชน ของกลุ่มแกนนำเยาวชน การสร้างการเรียนรู้การออกแบบและเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชน การสื่อสารสาธารณะในรูปแบบมหกรรมหนังกลางแปลง การปฏิบัติการเรียนรู้พื้นที่รูปธรรมโครงการ ระดับโซน ข้ามพื้นที่โซน และระดับจังหวัด

6) งานมหกรรมการเรียนรู้พลังเยาวชน (Learning Festival) โดยมีการออกแบบกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำเยาวชน ดังนี้

6.1) มหกรรมหนังกลางแปลงในระดับพื้นที่โซน วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการ

ปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรมโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละพื้นที่เผยแพร่สู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซนและ เพื่อสร้างพลังการเรียนรู้ร่วมเยาวชนกับผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซนโดยมีการดำเนินการให้กลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่โซนร่วมกันออกแบบจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อหนังกลางแปลง นิทรรศการการเรียนรู้มีชีวิต การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และวงเสวนาผลงานรูปธรรมโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่โซน 3 โซน ประกอบด้วย โซนขุนหาญ ดำเนินการในชื่องานมหกรรมหนังกลางแปลง “พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ มูไฮ บองประโอญ โซนขุนหาญ ร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน” โซนห้วยทับทัน เมือง อุทุมพรพิสัย (โซนห้วยเมืองสัย) ดำเนินการในชื่องาน“ตุ้มโฮมพาแลง เบิ่งแยงหนังสั้น สานพลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ”โซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ ดำเนินการในชื่องาน โมเมอพลังกอนกะแนน“เล่าขานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ยลยินปรางค์กู่-ขุขันธ์” ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

6.1.1) กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชน

ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซน

6.1.2) กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่โซนการเรียนรู้นำเสนอผลงานรูปธรรมการทำ

โครงการเพื่อชุมชนตนเองที่เกิดจากสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง เห็นคุณค่ามีความภาคภูมิใจในตนเองไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาชุมชนตนเอง

6.1.3) กลุ่มแกนนำเยาวชนได้เผยแพร่ผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเอง

ก่อให้เกิดพลังและแรงหนุนเสริมจากผู้นำชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนการทำกิจกรรมดีๆเพื่อชุมชนตนเองของเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ

6.1.4) ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่โซนได้

เรียนรู้ เข้าใจ ในกระบวนการวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชน เปิดมุมมอง เห็นพลังและคุณค่าของเยาวชนในการเรียนรู้ ผ่านการคิดเอง ทำโครงการเพื่อชุมชนด้วยตนเองมีความภาคภูมิใจในลูกหลานตนเอง

6.1.5) ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นศักยภาพของ

การทำโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มเยาวชนและพร้อมจะเปิดพื้นที่เปิดโอกาสหนุนงบประมาณให้กับเยาวชนในการดำเนินการโครงการเพื่อชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง

6.2) มหกรรมหนังกลางแปลงในระดับพื้นที่จังหวัด มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วม

ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเยาวชนแนวใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชื่องาน มหกรรมหนังกลางแปลง “พลังเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ทำดีเพื่อแผ่นดินเกิด”วัตถุประสงค์เพื่อ เปิดพื้นที่การเรียนรู้รูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกระบวนการและวิธีการพัฒนาเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และ เพื่อสร้างพลังร่วมภาคีเครือข่ายในการพัฒนาแนวใหม่ที่มีเยาวชนเป็นฐานเพื่อนำไปสู่กาพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการดำเนินการรวมพลังกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ทำโครงการเพื่อชุมชนใน 3 ซน 18 โครงการร่วมกันออกแบบจัดการเรียนรู้ คือพิธีเปิดงานและบรรยายแนวนโยบายการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่จังหวัดศรีสะเกษ โดยนายนพ พงศ์ผลาดิสัย นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ การเรียนรู้ผ่านนิทรรศการมีชีวิต “เรียนรู้รูปธรรมการปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษปี 3” จำนวน 18 โครงการ การเรียนรู้ผ่านการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นศรีสะเกษ โดยกลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 การเรียนรู้ผ่านการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาแนวใหม่ที่มีเยาวชนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ผศ.ดร. ชูพักตร์ สุทธิสา ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การเรียนรู้ผ่านเวทีเสวนา “พลังเยาวชนรุ่นใหม่ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ” โดย กลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ และเวทีเสวนา “ผู้ร่วมสร้างเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ทำดีเพื่อแผ่นดินเกิด” โดยพี่เลี้ยงโครงการ/ที่ปรึกษา/โค้ชเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ การเรียนรู้ผ่านการฉายหนังกลางแปลง “พลังและคุณค่าการทำโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ” โดยกลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ 15 เรื่อง และพิธีมอบเกียรติบัตร และกล่าวปิดงานมหกรรมหนังกลางแปลง“พลังเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ทำดีเพื่อแผ่นดินเกิด” โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3โดยนายนพ พงศ์ผลาดิสัย นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ และการสร้างพลังร่วมผ่านบทเพลง “พลังแห่งรัก” และ “เปิดใจรักฮักศรีสะเกษ” และการสรุปผลการดำเนินงาน มหกรรมหนังกลางแปลง “พลังเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ทำดีเพื่อแผ่นดินเกิด” โครงการพัฒนาเยาชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 ร่วมกัน ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ

6.2.1) กลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่ศรีสะเกษมีพื้นที่ในการเรียนรู้นำเสนอผลงานรูปธรรมการ

ทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองที่เกิดจากสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง เห็นคุณค่ามีความภาคภูมิใจในตนเองไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาชุมชนตนเอง

6.2.2) กลุ่มแกนนำเยาวชนได้เผยแพร่ผลงานรูปธรรมการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองสู่

สังคมและสาธารณะและกลุ่มแกนนำเยาวชนศรีสะเกษมีพลังร่วมกันในการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาแนวใหม่ที่มีเยาวชนเป็นฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

6.2.3) กลุ่มแกนนำเยาวชนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการสื่อสารผลการดำเนินงานโครงการ

ตนเอง ได้เรียนรู้การบริหารจัดการในการจัดงาน เกิดความภาคภูมิใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีภาวะความเป็นผู้นำ มีกำลังใจในการทำงานเพื่อชุมชนร่วมกัน

6.2.4) ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่และ

ระดับจังหวัดในพื้นที่ศรีสะเกษเรียนรู้ เข้าใจ ในกระบวนการวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชน เปิดมุมมอง เห็นพลังและคุณค่าของเยาวชนในการเรียนรู้ ผ่านการคิดเอง ทำโครงการเพื่อชุมชนด้วยตนเองมีความภาคภูมิใจในลูกหลานตนเอง

6.2.5) เกิดพลังร่วมการพัฒนาแนวใหม่ที่มีเยาวชนเป็นฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของ

พลเมืองผู้ใหญ่ เช่น ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่และระดับจังหวัดในพื้นที่ศรีสะเกษ เห็นความสำคัญการพัฒนาพลเมืองเด็กเยาวชนว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นการสร้างคนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษที่เข้มแข็งและน่าอยู่ร่วมกันและร่วมสร้างสำนึกพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีพลังต่อการพัฒนาชุมชน สังคมท้องศรีสะเกษร่วมกัน



4. โครงสร้างการทำงานในโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ



















5. บทบาทหน้าที่การทำงานในในโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

5.1) บทบาทหน้าที่ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ บทบาทในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (Node ศรีสะเกษ) มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานหลัก 2 บทบาท คือ

5.1.1) บทบาทในการดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

บนฐานความรู้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ใหม่ผ่านการทำโครงการวิจัยของชุมชนท้องถิ่น (Community Based Research: CBR) โดยการสร้างและพัฒนานักวิจัยชาวบ้านที่เป็นผู้นำชุมชนไทยและผู้นำชุมชนกัมพูชา จัดการความรู้งานวิจัยท้องถิ่นความสัมพันธ์ข้ามแดนบนฐานชุมชนท้องถิ่นชายแดนไทย-กัมพูชา สนับสนุนการนำใช้ความรู้จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นไทย-กัมพูชาเพื่อเชื่อมต่องานพัฒนากับเยาวชนในพื้นที่

5.1.2) บทบาทในการดำเนินงานโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ โดยการพัฒนา

เยาวชน เสริมศักยภาพเยาวชนผ่านการเรียนรู้ คิดเองทำเอง ผ่านการทำโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำชวนคิด ชวนคุยตั้งคำถามสร้างการเรียนรู้ ให้เยาวชน คิดเอง ทำเอง เติมความรู้เสริมทักษะ การวิเคราะห์ ชวนออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูล การวางแผนการทำงานเป็นทีมการเก็บรวมรวมข้อมูล การสรุปข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การออกแบบการสื่อสารเรื่องราวผลการทำโครงการของตนเองผ่านสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อสร้างการเรียนรู้ และสื่อสารสังคม ในระดับกลุ่มแกนนำ ชุมชน โซน จังหวัดและสาธารณะ การจัดทำฐานข้อมูล จัดการความรู้เพื่อนำใช้ในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ การระดมทุน ประสานทุนหนุนเสริมการพัฒนาเยาวชนให้กลุ่มแกนนำเยาวชนมีพื้นที่ มีโอกาสในการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาโครงการเยาวชนในพื้นที่ให้มีกระบวนคิดและทักษะการทำงานกับกลุ่มแกนนำเยาวชนให้สามารถเรียนรู้ผ่านการคิดเองทำเองได้ และการเชื่อมพลังพลเมืองภาคีเครือข่ายผู้ใหญ่เป็นกลไกร่วมพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัด

5.2) บทบาทหน้าที่ทีมงานโค้ชโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

5.2.1) นายรุ่งวิชิต คำงาม ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

และ หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • สร้างและพัฒนานักวิจัยชาวบ้านที่เป็นผู้นำชุมชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ ในพื้นที่ศรีสะเกษ ผ่าน

กระบวนการเรียนรู้การทำโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการจัดการปัญหาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองบนฐานข้อมูลความรู้ และการจัดการความรู้เพื่อการขยายผลความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสื่อสารสังคม หรือสาธารณะการเพื่อสร้างพลังทางสังคมในชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ และกัมพูชา พัฒนาครือข่ายนักวิจัยชาวบ้าน ข้ามแดนระหว่างชุมชนท้องถิ่นไทยศรีสะเกษกับชุมชนท้องถิ่นกัมพูชา

  • พัฒนาเยาวชนพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่ (Active Citizen) และพัฒนาศักยภาพ

Coach โดยการออกแบบสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม ปลูกจิตสำนึกความพลเมืองเด็กเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนโดยให้เยาวชนคิดเองทำเอง และมีผู้ใหญ่ช่วยหนุน ประสานเชื่อมพลังภาคีเครือข่ายผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมพัฒนาเยาวชน และพัฒนาเป็นกลไกการพัฒนาเยาวชนในระดับโซนพื้นที่และในระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การสร้างพลังพลเมืองศรีสะเกษให้เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์

  • บริหารจัดการองค์กร และโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้โดยคอย

กำกับ ดูแล กำหนดทิศทาง สร้างการเรียนรู้ทีมทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการวางแผน ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดตามงาน ระบบการบริหารงบประมาณ ระบบรายงาน และการสื่อสารสร้างการเรียนรู้ภายในและภายนอกองค์กร

5.2.2) นางสาวเบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์ ผู้ช่วยผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่ฐานข้อมูล และการเงินบัญชีโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลโครงการของกลุ่มเยาวชนและฐานข้อมูลการดำเนินโครงการ จัดทำฐานข้อมูลโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เช่น ฐานข้อมูลโครงการของน้องเยาวชนและพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ โครงการเยาวชน ประวัติข้อมูลทั่วไปของกลุ่มแกนนำเยาวชน พื้นที่โครงการเยาวชนในจังหวัด การเปลี่ยนแปลงของเยาวชน การเรียนรู้ของพี่เลี้ยงในพื้นที่ บันทึกเวทีเยาวชน รายงานโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน
  • พัฒนาระบบบัญชีและจัดแฟ้มตรวจเอกสารรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินโครงการ บันทึกบัญชีโครงการเพื่อส่งบริษัทตรวจสอบบัญชี
  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้องเยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ รับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ 9 โครงการ

5.2.3) นางปราณี ระงับภัย ผู้ช่วยผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษและเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้อง

เยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปบทเรียน เขียนบันทึกการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการของน้องเยาวชนรับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนขุนหาญ 4 โครงการ

  • ติดต่อประสานงานสรรพากรเพื่อดำเนินการหักภาษีรายได้ ณ ที่จ่ายในการดำเนินโครงการ

พัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

5.2.4) นายประมวล ดวงนิล เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดี ศรีสะเกษ ศูนย์

ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • พัฒนาระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ความเคลื่อนไหวการดำเนินกิจกรรมโครงการผ่านสื่อ

Social

  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้อง

เยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปบทเรียน เขียนบันทึกการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการของน้องเยาวชนรับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนห้วยเมืองสัย 5 โครงการ




5.2.5) นางสาวเพ็ญศรี ชิตบุตร เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ศูนย์

ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้องเยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปบทเรียน เขียนบันทึกการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการของน้องเยาวชนรับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ 9 โครงการ

5.3) บทบาทหน้าที่กลุ่มคนหรือหน่วยงานภาคีในพื้นที่จังหวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

5.3.1) ครูโรงเรียนในชุมชน ผู้มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษากลุ่มแกนนำเยาวชนที่ทำโครงการเพื่อ

ชุมชน เช่น โรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข์ โรงเรียนบ้านปราสาท โรงเรียนบ้านดู่

5.3.2) อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มีบทบาทเป็นกรรมการโครงการ เป็นนักวิชาการ

ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเยาวชนที่คอยช่วยสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนเป็นกรรมการโครงการและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรองโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชน

5.3.3) พระสงฆ์ วัดในชุมชน เป็นที่ปรึกษาโครงการเยาวชน สนับสนุนพื้นที่ให้เยาวชนได้มีพื้นที่ทำ

กิจกรรมร่วมกันของกลุ่มแกนนำเยาวชน เช่น วัดบ้านระกา วัดบ้านกันทรอมใต้

5.3.4) ผู้นำชุมชน เช่นผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกองค์การ

บริหารส่วนตำบล มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง อำนวยความสะดวก เปิดพื้นที่เปิดโอกาสให้แกนนำเยาวชนมีพื้นที่เรียนรู้ผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนในพื้นที่

5.3.5) ผู้ปกครอง เด็กเยาวชน มีบทบาทสนับสนุนลูกหลานตนเอง เปิดโอกาสให้ลูกหลานตนเองได้

เรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองและร่วมให้กำลังใจหนุนเสริมลูกหลานตนเองในเวทีมหกรรมการเรียนรู้ทั้งในพื้นที่โซนและพื้นที่จังหวัด

5.3.6) ผู้รู้ภูมิปัญญาเป็นผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ให้กลุ่มแกนนำเยาวชนตามประเด็นการ

ทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองของกลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละโครงการ เช่น เรื่องสมุนไพร เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาดุก การปลูกและการทอเสื่อกก การทอผ้าไหมลายลูกแก้ว ผ้าไหมโซดละเว การเล่นดนตรีพื้นบ้าน ฯลฯ

5.3.7) นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีบทบาทการประสานงานสร้างความเข้าใจชุมชนในพื้นที่เพื่อเปิด

โอกาสให้กลุ่มแกนนำเยาวชนมีส่วนร่วมในการทำโครงการเพื่อชุมชนและกระบวนการเก็บข้อมูลชุมชนตนเอง

5.3.8) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอมีบทบาท เป็นกรรมการโครงการ และเป็นที่ปรึกษากลุ่มแกน

นำเยาวชนในพื้นที่ในการทำโครงการเพื่อชุมชน เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ พัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน

5.3.9) เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบล เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

เจ้าหน้าที่กองการศึกษา เจ้าหน้าที่ทะเบียน/บัตร มีบทบาท เป็นพี่เลี้ยง อำนวยความสะดวก สร้างการเรียนรู้กับกลุ่มแกนนำเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนในพื้นที่ เช่นองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย ตำบลปราสาท ตำบลพิมาย และเทศบาลโพธิ์กระสังข์

5.4) บทบาทหน้าที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายในการหนุนเสริมสร้างการเรียนรู้

5.4.1) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการสร้างการเรียนรู้ พัฒนาเสริมความรู้ แนวคิด ทักษะกระบวนการทำงาน พี่เลี้ยง/Coach ระดับจังหวัดในการทำงานพัฒนาเยาชนให้เยาวชน คิดเองทำเองผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน

5.4.2) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนทุนสร้างการเรียนรู้พัฒนาเยาวชน Active citizen ผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่

5.4.3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เปิดพื้นที่และโอกาสให้ Node ทำโครงการพัฒนาเยาวชน ให้คำแนะนำ ทิศทางการพัฒนาในพื้นที่ บนฐานงานวิจัย

5.4.4) เครือข่ายพี่เลี้ยง ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคอีสานเป็นภาคีเครือข่ายร่วมสร้างการเรียนรู้ให้พิจารณาโครงการและให้ข้อเสนอแนะการของกลุ่มแกนนำเยาวชน

6. องค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงการ

จากการทำโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ บทเรียนและข้อค้นพบที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนให้มีสำนึกพลเมือง (Active Citizen) ดังนี้

6.1) การสร้างการเรียนรู้และเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองเยาวชนในเชิงประเด็น (Issue Based) โดยการจัดกลุ่มประเด็นโครงการที่เป็นประเด็นเดียวกันอยู่กลุ่มเดียวกัน เช่น ประเด็นสัมมาชีพ ประเด็นสังคมวัฒนธรรม ประเด็นสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน สามารถสร้างและเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่โครงการในชุมชนสามารถตอบโจทย์ปัญหาได้ในระดับชุมชนได้และสร้างการเรียนรู้ข้ามกลุ่มพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกันได้ แต่มีข้อจำกัดในการสร้างและเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองเพื่อให้เกิดพลังพลเมืองเยาวชนในการจัดการปัญหาร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีพื้นติดต่อกับชายแดนประเทศกัมพูชาตลอดแนวชายแดนด้านทิศใต้ มีความยาว 127 กิโลเมตร และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ เขมร กูย กวย ลาว เยอ ประกอบกับประเด็นปัญหามีความหลากหลายซับซ้อนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หาจุดร่วมยาก ในทางยุทธศาสตร์การสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างและเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองผ่านประเด็นปัญหา (Issue Based) นี้ ควรเป็นชุดประเด็นไดประเด็นหนึ่งที่เป็นจุดร่วมในการพัฒนาจังหวัดทีละประเด็นที่เป็นพลังร่วมของคนศรีสะเกษ ไม่ควรมีหลายชุดประเด็นในคราวเดียวกัน จึงจะสามารถสร้างการเรียนรู้และเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองเพื่อให้เกิดพลังพลเมืองเยาวชนในการจัดการปัญหาร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่จังหวัดได้

6.2) การสร้างการเรียนรู้และเชื่อมสำนึกพลเมืองเยาวชนในเชิงพื้นที่ (Area Based) โดยมีการจัดกลุ่มเยาวชนที่ทำโครงการ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จัดให้อยู่ในโซนพื้นที่เดียวกัน แม้ว่าประเด็นโครงการจะมีความแตกต่างกัน แต่ใช้โซนพื้นที่เป็นจุดร่วม และใช้โครงการเป็นเครื่องมือเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสร้างและเชื่อมสำนึกความเป็นพลเมืองเยาวชนในระดับพื้นที่โครงการ ระดับโซนพื้นที่และข้ามโซนพื้นที่ได้ก่อเกิดกลไกพลังพลเมืองเยาวชนในการจัดการปัญหาร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัดได้กระบวนการเรียนรู้ร่วมในรูปแบบโซนพื้นที่สามารถสร้างพลังร่วมของเยาวชน ภาคีเครือข่าย active citizen ในท้องถิ่น ที่เป็นแนวทางการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาเยาวชนแนวใหม่นำไปสู่กลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่ในทุกระดับโดยมีเยาวชนเป็นแกนกลางและมีชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาได้ในทุกระดับ

6.3) การติดตั้งระบบความคิดสำนึกความเป็นพลเมือง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน การออกแบบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพราะว่าในการสร้างสำนึกพลเมือง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการปรับจูนสร้างความเข้าใจร่วมกับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ดี มีความศรัทธา และมีทิศทางการทำงานร่วมกัน ช่วยเสริมพลังซึ่งกันและกันทั้งนี้โดยการออกแบบการเรียนรู้ผ่านการคิดเองลงมือทำโครงการเพื่อชุมชนเองบนฐานชีวิตจริงพื้นที่จริงในชุมชนท้องถิ่นตนเองและผ่านสื่อการเรียนรู้ เช่น เกมส์ สื่อรูปภาพ สื่อออนไลน์ บทเพลง ข่าวหนังสือพิมพ์ ทีวี กระบวนการเรียนรู้ในการติดตั้งระบบความคิดสำนึกความเป็นพลเมืองเป็นการสร้างพลังพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพพร้อมที่จะลุกขึ้นมาทำประโยชน์เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัด ประเทศและสังคมส่วนรวมได้

6.4) การสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมืองที่เป็นเด็กเยาวชน ผู้ใหญ่หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ต้องเข้าใจ เปิดพื้นที่ เปิดโอกาส ร่วมสร้างร่วมหนุนกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนให้มีสำนึกความเป็นพลเมืองร่วมกันและในขณะเดียวกันเด็กเยาวชนที่มีสำนึกพลเมือง จะเป็นพลังสำคัญในการเชื่อมคนในชุมชนท้องถิ่นทุกช่วงวัยเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและทำประโยชน์เพื่อชุมชนท้องถิ่นตนเองร่วมกัน โดยเฉพาะการสร้างการเรียนรู้บนฐานสังคมวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อภูมิปัญญาที่เป็นรากเหง้าความดีงามและเป็นระบบคุณค่าที่ช่วยเกาะเกี่ยวผู้คนเพื่อการอยูร่วมกันมาในอดีตของชุมชนท้องถิ่น สามารถสร้างสำนึกรักท้องถิ่นบ้านเกิดร่วมกันของคนในชุมชนสังคมได้และที่สำคัญการเปิดโอกาสเปิดพื้นที่ให้น้องเยาวชนได้ลงมือทำในสิ่งที่สนใจอยากจะทำเพื่อชุมชนตนเองสามารถทำให้น้องเยาวชนวิเคราะห์ชุมชนตนเองก่อนที่จะเลือกเรื่องการทำโครงการได้และสามารถดึงผู้นำชุมชน คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้

6.5) การสร้างการมีส่วนร่วมและการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ โดยการออกแบบและสร้างบรรยากาศให้กลุ่มแกนนำเยาวชนทุกกลุ่มทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลงมือทำ ร่วมคิด ร่วมพูดคุยเสนอและแสดงความเห็นยอมรับซึ่งกันและกัน เรียนรู้ร่วมกัน จะทำให้แกนนำเยาวชนเกาะกลุ่มรวมกันเป็นทีม จับมือกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และบรรยากาศในการเรียนรู้ต้องทำ ให้น้องรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็ง อยากพูด อยากคุย วางตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของน้อง พร้อมเรียนรู้กับสิ่งที่น้องทำ และชวนคุย ถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสิ่งที่ทำและสิ่งที่จะทำต่อ ที่สำคัญการทำงานร่วมกับเยาวชนเราต้องทำให้เขามีตัวตนขึ้นมาในชุมชน โดยการพูดคุยทำความเข้าใจบุคคลรอบข้างของเยาวชน เช่น ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ พระ คนในชุมชน บุคคลเล่านี้สามารถทำให้เขามีตัวตนขึ้นมาในชุมชน การมีตัวตนของเยาวชนจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญและศักยภาพของตนเองที่มีต่อชุมชนต่อคนรอบข้าง เยาวชนจะตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและจะมีความกล้าและมั่นใจมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำสิ่งดีๆเพื่อพัฒนาชุมชนตนเอง

6.6) การสร้างทีมงาน เครือข่ายการทำงานเยาวชนในพื้นที่ ต้องเป็นการเรียนรู้ร่วมที่มีชีวิตชีวา ตื่นรู้เท่าทันกับสถานการณ์ข้างนอก สถานการณ์พื้นที่ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนทำงานและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง การให้คนในชุมชนในพื้นที่ เป็นทีมงาน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการสร้างสำนึกพลเมืองของเยาวชน เกิดผล ต่อยอดได้ แม้ไม่มีการสนับสนุน หรือการถอนตัวของแหล่งทุน/ผู้สนับสนุน แต่ในพื้นที่ยังมีแนวคิด มีพลัง มีจิตใจที่ต้องการทำงานสร้างพลเมืองเยาวชนด้วยตัวเองโดยใช้ประสบการณ์ การเรียนรู้จากการทำโครงการฯ ไปทดลอง ปรับใช้ในการทำงานร่วมกันในชุมชนของตัวเอง ในขณะเดียวกัน คนทำงาน ทีมงาน เครือข่ายคนทำงานต้องใส่ใจการเรียนรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพด้วยตัวเองได้