เบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์ : โมเดลเครือข่ายในการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3

โดย เบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์ โคชพัฒนาเยาวชน active citizen จังหวัดศรีสะเกษ

เจ้าหน้าที่ฐานข้อมูลและการเงินบัญชีโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ


บทบาทหน้าที่ในโครงการฯ

  • พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลโครงการของกลุ่มเยาวชนและฐานข้อมูลการดำเนินโครงการ จัดทำฐานข้อมูลโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เช่น ฐานข้อมูลโครงการของน้องเยาวชนและพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ โครงการเยาวชน ประวัติข้อมูลทั่วไปของกลุ่มแกนนำเยาวชน พื้นที่โครงการเยาวชนในจังหวัด การเปลี่ยนแปลงของเยาวชน การเรียนรู้ของพี่เลี้ยงในพื้นที่ บันทึกเวทีเยาวชน รายงานโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน
  • พัฒนาระบบบัญชีและจัดแฟ้มตรวจเอกสารรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินโครงการ บันทึกบัญชีโครงการเพื่อส่งบริษัทตรวจสอบบัญชี
  • เป็น Coach ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของน้องเยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ รับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนปรางค์กู่-ขุขันธ์ 9 โครงการ

จากการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ ในโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 ได้สร้างการเรียนรู้การทำงานแบบเครือข่ายกับกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ดำเนินโครงการในพื้นที่ทั้ง 18 โครงการ ใน 6 อำเภอ ของจังหวัดศรีสะเกษ คือ อ.ห้วยทับทัน 2 โครงการ อ.อุทุมพรพิสัย 2 โครงการ อ.เมือง 1 โครงการ อ.ปรางค์กู่ 8 โครงการ อ.ขุขันธ์ 1 โครงการ และ อ.ขุนหาญ 4 โครงการ โดยใช้กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ คือ การจัดระบบกลไกในการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัด การสัญจรเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซน และการทำกิจกรรมพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเรียนรู้และพัฒนาตัวเองทั้งในระดับกลุ่มโครงการ กลุ่มโซน และกลุ่มจังหวัด และมีเทคนิควิธีการ เครื่องมือ ในการดำเนินงาน ดังนี้

กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

1. จัดระบบกลไกในการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัด

วิธีการ กระบวนการดำเนินงาน

การจัดระบบกลไกในการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัดโดยการจัดเวที เริ่มจากการประชุมเตรียมออกแบบเวที วันเวลาสถานที่ กำหนดการ แบ่งบทบาทหน้าที่ ประสานงานกลุ่มแกนนำเยาวชนทุกกลุ่มเข้าร่วม และดำเนินการจัดเวทีจัดระบบกลไกในการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัด โดยมีกระบวน ดังนี้

1. ชี้แจงกำหนดการ / วัตถุประสงค์ / กติกาการอยู่ร่วมกัน

2. กิจกรรม Check in และ กิจกรรมพลังกลุ่ม

3. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละกลุ่ม (ลงพูดคุยในกลุ่มโครงการ) โดยมีโจทย์ชวนคิดชวนคุยคือ

- ทำกิจกรรมอะไรมาแล้วบ้างกระบวนการทำอย่างไร

- เกิดผลอย่างไรบ้าง

- มีปัญหา อุปสรรค อะไรบ้างบทเรียนที่ได้คืออะไร

4. นำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5. สรุปผลการดำเนินงานของโซน (ลงกลุ่มพูดคุยในพื้นที่โซน) โดยมีโจทย์ชวนคิดชวนคุยคือ

- การทำงานของโซน เป้าหมายร่วม / แผนงาน /คณะทำงาน

- วิเคราะห์พื้นที่โซน พื้นที่ ประชากร อาชีพ สังคมวัฒนธรรม สภาพสังคมเศรษฐกิจ การศึกษา

6. นำเสนอผลการดำเนินงานของโซนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

7. จัดระบบกลไกการทำงานเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีโจทย์ชวนคิดชวนคุยคือ

- เป้าหมายร่วม

- คณะทำงานเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ

- แผนงาน

8. วางแผนงานกิจกรรมร่วมกัน Timeline

9. สรุปการเรียนรู้เวทีร่วมกัน (AAR)

ผลที่ได้

  1. กลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละกลุ่มได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและได้แผนกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมต่อ
  2. กลุ่มแกนนำเยาวชนแต่ละโซนได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่โซนวางแผนงานของการดำเนินกิจรรมในระดับ โซน
  3. เกิดกลไกการทำงานร่วมกันของเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษในระดับจังหวัด
  4. มีคณะทำงานกลางของเครือข่ายเยาวชนศรีสะเกษที่มาจากตัวแทนแต่ละพื้นที่โซน
  5. เกิดแผนงานกิจกรรมในการขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนศรีสะเกษร่วมกัน

บทเรียนการดำเนินงาน

1. จัดระบบกลไกในการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษยังเป็นระบบกลไกที่หลวมๆอยู่มีแผนงานรวมกันในระยะสั่น ซึ่งยังไม่มีแผนงานดำเนินงานร่วมกันในระยะยาว

2. ยังไม่มีแผนงานรองรับคณะทำงานบางส่วนที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาที่ที่ 6 ซึ่งจะออกไปศึกษาต่อในต่างจังหวัด จะทำให้การดำเนินงานของกลไกการทำงานเครือข่ายของเยาวชนศรีสะเกษขาดความต่อเนื่อง

2. เวทีสัญจรเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซน

วิธีการ กระบวนการดำเนินงาน

เวทีสัญจรเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซน มีกระบวนการดำเนินการ 6 ข้อ ดังนี้

1. กลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่มออกแบบแผนงานโครงการของแต่ละกลุ่ม

2. รวมแผนงานของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันทำเป็น Timeline กิจกรรมร่วม

3. กลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่มเล่าแผนงานของตนเองว่าจะทำอะไรที่ไหนยังไง

4. ออกแบบแผนงานสัญจรการเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซน

5. กลุ่มเยาวชนสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซน

6. สรุปบทเรียนการสัญจรร่วมกัน

ผลที่ได้

  1. กลุ่มแกนนำเยาวชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงการระหว่างกลุ่มและโซนพื้นที่จังหวัด

ศรีสะเกษ

  1. เกิดระบบการเชื่อมเครือข่าย สานความสัมพันธ์กลุ่มแกนนำเยาวชนปี 3
  2. ชุมชนได้เรียนรู้และเห็นพลังความสามารถของกลุ่มแกนนำเยาวชนศรีสะเกษในการทำโครงการ

เพื่อชุมชน

  1. เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกำลังใจให้กลุ่มเพื่อนเยาวชนที่ทำโครงการเพื่อชุมชนร่วมกัน
  2. เกิดพลังเครือข่ายที่ช่วยหนุนเสริมในการดำเนินการโครงการร่วมกันในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัด

บทเรียนการดำเนินงาน

การสัญจรการเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซนของกลุ่มเยาวชนจะเป็นการเรียนรู้ของช่วงการปฏิบัติการของแต่ละกลุ่ม ซึ่งช่วงเวลาในการสัญจรเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซนจะเป็นช่วงเวลาเดียวกันทำให้ช่วงการสัญจรเรียนรู้หลายกลุ่มชนกัน ทำให้กลุ่มแกนนำเยาวชนไปร่วมเรียนรู้ทำงานภายในโซนและข้ามโซนของกลุ่มเยาวชนกลุ่มอื่นได้น้อยและไม่มีความหลากหลาย ดังนั้นควรเปิดระยะการสัญจรการเรียนรู้การทำงานภายในโซนและข้ามโซนของกลุ่มเยาวชนให้ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น โดยเปิดให้สามารถสัญจรเรียนรู้ได้ทุกช่วงของการดำเนินโครงการ เพื่อให้ระยะเวลาในการสัญจรเรียนรู้มากขึ้นและเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายมาขึ้นในแต่ละประเด็นแต่ละช่วงของการดำเนินงานของกลุ่มเยาวชน

3. พลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

วิธีการ กระบวนการดำเนินงาน

กิจกรรมพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษได้ดำเนินกิจกรรม ณ น้ำตกห้วยจันทร์ ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีการดำเนินการดังนี้

1. ประชุมเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เตรียมออกแบบงาน วันเวลาสถานที่ กำหนดการ แบ่งบทบาทหน้าที่

2. ประสานงานสถานที่เตรียมจัดกิจกรรม

3. ประสานงานเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ เข้าร่วมกิจกรรม

4. ดำเนินกิจกรรม ปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

4.1 พิธีเปิด กล่าวรายงานโดย นายอภิชาต วันอุบล ประธานเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ กล่าวเปิดงานโดย กำนันตำบลห้วยจันทร์

4.2 กล่าวต้อนรับเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ โดยผู้ใหญ่บ้านห้วยจันทร์

4.3 แนะนำสถานที่และประวัติความเป็นมาของน้ำตกห้วยจันทร์ โดยอดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยจันทร์

4.4 ชี้แจงกำหนดการกิจกรรม / แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

4.5 แต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชนบ้านห้วยจันทร์ ได้แก่ ปลูกต้นไม้

ทาสีศาลา ทำป้ายแหล่งเรียนรู้และศูนย์ข้อมูลน้ำตกห้วยจันทร์ ปรับภูมิทัศน์ เก็บขยะและติดป้ายรณรงค์การจัดการขยะ

4.6 ทำความเข้าใจกับพ่อค้าแม่ค้า เรื่องการจัดการขยะในบริเวณน้ำตกห้วยจันทร์

4.7 สรุปการทำกิจกรรมร่วมกัน เสียงสะท้อนจากหน่วยงาน ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

4.8 พิธีปิดและกล่าวขอบคุณ โดยผู้ใหญ่บ้านห้วยจันทร์

ผลที่ได้

  1. กลุ่มแกนเยาวชนได้เรียนรู้การประสานงานพื้นที่ในการขอความร่วมมือในการปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
  2. กลุ่มแกนเยาวชนได้เรียนรู้และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ
  3. กลุ่มแกนเยาวชนตระหนักในปัญหาที่พบเจอและร่วมด้วยช่วยกันลงมือแก้ไขปัญหานั้นๆ
  4. เกิดพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  5. เกิดพลังความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัด
  6. เกิดเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเป็นพลังในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

บทเรียนการดำเนินงาน

กิจกรรมพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษยังไม่มีแผนการติดตามผลหลังการปฏิบัติการอาสา ซึ่งทำให้ไม่รู้ว่ากิจกรรมที่ได้ลงมือทำไปนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้าง เกิดการแก้ไข้ปัญหาได้จริงไหม กลุ่มแกนนำเยาวชนจึงควรกำหนดและมีแผนติดตามผลหลังทำกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษโดยใช้กลไกการทำงานเครือข่ายเยาวชนศรีสะเกษ เพื่อติดตามผลหลังการดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อให้เกิดบทเรียนของการทำกิจกรรมในครั้งต่อๆไปและเพื่อให้เห็นและทราบถึงการทำกิจกรรมปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษสามารถเกิดผลต่อชุมชนอย่างไร

เทคนิควิธีการและเครื่องมือ

ในการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาเยาวชนให้ดำเนินงานได้สำเร็จ ทางโครงการมีเทคนิควิธีการและเครื่องมือให้บรรลุผล ดังนี้

1. การจัดกลุ่มโซนพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีขอบเขตพื้นที่ขนาดใหญ่ มี 22 อำเภอ การจัดพื้นที่โซนย่อยจึงเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการเรียนรู้เชิงพื้นที่เพื่อสร้างสำนึกร่วมกลุ่มแกนนำเยาวชน เพื่อสร้างจุดร่วมการพัฒนาในเชิงพื้นที่ให้เกิดกลไกเชื่อมการทำงานในรูปแบบเครือข่ายในพื้นที่โซนที่กลุ่มแกนนำที่ทำโครงการในพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ให้เรียนรู้ หนุนเสริมช่วยเหลือซึ่งกันและกันขยายวงการเรียนรู้นอกเหนือจากโครงการของกลุ่มตนเองนำไปสู่การจัดการพื้นที่และชุมชนตนเองที่มีความหลากหลายสลับซับซ้อนเชื่อมโยงมีผลต่อเนื่องถึงกันและเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของจังหวัดร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลการจัดกลุ่มโซนพื้นที่ ทำให้กลุ่มแกนนำเยาวชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงการระหว่างกลุ่มและโซนพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เกิดระบบการเชื่อมเครือข่าย สานความสัมพันธ์กลุ่มแกนนำเยาวชนปี 3 ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้และเห็นพลังความสามารถของกลุ่มแกนนำเยาวชนศรีสะเกษในการทำโครงการเพื่อชุมชน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกำลังใจให้กลุ่มเพื่อนเยาวชนที่ทำโครงการเพื่อชุมชนร่วมกันเกิดพลังเครือข่ายที่ช่วยหนุนเสริมในการดำเนินการโครงการร่วมกันในระดับพื้นที่โซนและระดับจังหวัด โดยจัดเป็น 3 โซนพื้นที่ ดังนี้

C:\Users\HP\Desktop\งานนำเสนอ8.jpg

ภาพที่ 1 แสดงขอบเขตพื้นที่ 3 โซนในการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3

C:\Users\HP\Desktop\2.jpg

ภาพที่ 2 การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษปี 3 โซนอำเภอขุนหาญ

C:\Users\HP\Desktop\1.jpg

ภาพที่ 3 การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษปี3

โซนอำเภอห้วยทับทัน-เมือง-อุทุมพรพิสัย (โซนห้วยเมืองสัย)

C:\Users\HP\Desktop\3.jpg

ภาพที่ 4 การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษปี3 โซนอำเภอขุขันธ์-ปรางค์กู่

จากการจัดระบบกลไกโซนพื้นที่ทั้ง 3 โซน และนำไปสู่การจัดระบบกลไกจังหวัดโดยมีเป้าหมายในแต่ละระดับที่เชื่อมโยงกันดังนี้

C:\Users\HP\Desktop\กลไก.jpg

2. การจัดกลุ่มตามประเด็นโครงการ โครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชนมีความหลากหลายตามโจทย์ปัญหาของชุมชนและความต้องการของกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ต้องการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเอง การจัดกลุ่มโครงการตามประเด็น จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนให้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของจังหวัดร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลจากการจัดกลุ่มประเด็นโครงการทำให้กลุ่มแกนนำเยาวชนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มประเด็นโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ่งมากขึ้นหนุนช่วยกันได้ตรงประเด็นตามเป้าหมายของโครงการเพื่อให้เกิดรูปธรรมได้เป็นอย่างดี โดยมีการจัดกลุ่มประเด็นตามโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชนที่เป็นประเด็นเหมือนกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มี 3 กลุ่มประเด็น ดังแผนภาพที่แสดงต่อไปนี้

C:\Users\HP\Desktop\งานนำเสนอ6.jpg

ภาพที่ 5 การจัดกลุ่มประเด็นโครงการกลุ่มแกนนำเยาวชนในโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี3

3. การปฏิบัติการจิตอาสาร่วมในระดับจังหวัด เป็นกระบวนการเรียนรู้ฝึกทักษะการคิด ออกแบบวางแผนปฏิบัติการและการร่วมลงมือปฏิบัติการของกลุ่มแกนนำเยาวชนในระดับจังหวัดที่ไม่ใช่พื้นที่ดำเนินการในชุมชนตนเองและฝึกการประสานงานการทำงาน ร่วมกับกลุ่มคนที่มาจากหลากหลายพื้นที่และฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าผ่านการทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกันของเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการฝึกทักษะทางสังคมเพื่อสร้างพลังเครือข่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ เรียนรู้และเข้าใจการทำงานร่วมกับคนที่หลากหลายเพื่อหล่อหลอมสร้างสำนึกความเป็นพลเมือง โดยการปฏิบัติการร่วมกันที่น้ำตกห้วยจันทร์ ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการทำกิจกรรมร่วมกัน คือ ปรับภูมิทัศน์พื้นที่ ปลูกต้นไม้ ทาสีศาลาที่พักนักท่องเที่ยว จัดทำข้อมูลศูนย์ข้อมูลน้ำตกห้วยจันทร์ ทำป้ายแนะนำแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยว เก็บขยะทำความสะอาดพื้นที่และและติดป้ายรณรงค์การจัดการขยะ ผลทำให้กลุ่มแกนเยาวชนได้เรียนรู้การประสานงานพื้นที่ในการขอความร่วมมือในการปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้เรียนรู้และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ เกิดความตระหนักในปัญหาที่พบเจอและร่วมด้วยช่วยกันลงมือแก้ไขปัญหาเกิดพลังเครือข่ายเยาวชนปฏิบัติการอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษและเกิดเครือข่ายเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ