เราไม่ได้ทำงานศิลปะ เพื่อมาดูกันเอง



วัชรนนท์ สินวราวัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้รับโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียน ในห้องเรียนของอาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล ที่นำกระบวนการของโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยน่าอยู่ เข้าสู่ห้องเรียนโดยนำไปเป็นหนึ่งในรายวิชาที่นักศึกษาปีที่ 3 ต้องเรียน

อาจารย์จักรพันธ์ เริ่มคลาสเรียนด้วยคำถาม “ศิลปินเป็นพวกเห็นแก่ตัวหรือไม่” “ศิลปินพูดกับคนอื่นไม่รู้เรื่องหรือไม่” “ศิลปินสื่อสารกับคนอื่นไม่รู้เรื่องใช่หรือไม่” “ ศิลปินสื่อสารกับคนอื่นไม่รู้เรื่องใช่หรือไม่” คำถามของอาจารย์ได้ทำลายมายาคติเหล่านี้ให้กับนักศึกษา “วัชรนนท์” เล่าเกริ่นให้ฟังถึงกระบวนการที่อาจารย์ค่อยๆ นำเข้าสู่ชั้นเรียน เพราะคำถามเหล่านี้ทำให้ “วัชรนนท์” กับเพื่อนๆ สนใจในประเด็นส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ศิลปะรับใช้ชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน จึงได้ลงไปคลุกคลีกับชุมชนและสังคมมากขึ้น เพราะในที่สุดแล้วสิ่งเหล่านี้ก็ต้องโยงใยถึงกัน “การเข้ามาของโครงการ UNC ทำให้ภาพเหล่านี้ชัดเจนขึ้น มีกระบวนการและวิธีการที่ชัดเจนขึ้น ที่เราจะได้เรียนรู้ขั้นตอน”

ซึ่ง วัชรนนท์” ก็บอกว่าตนเองเรียนภาควิชาสื่อผสม ซึ่งในชั้นปีที่ 4 เทอมที่ 1 จะต้องมีเรื่องของศิลปะชุมชน เหมือนกับที่มีในโครงการ UNC เพียงแต่ตอนนี้เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 เทอมที่ 2 อยู่ “UNC จึงเหมือนเป็นเวทีซ้อมย่อยก่อน ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะสุดท้ายเราไม่ได้ทำงานศิลปะมาเพื่อดูกันเอง คนภายนอกหรือคนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาศิลปะก็เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นภาระรับผิดชอบของเราด้วย”

การเรียนรู้จากโครงการนี้ในช่วงต้นโครงการ “วัชรนนท์” บอกว่าแตกต่างจากการเรียนในวิชาอื่นๆ “ ในเทอมอื่นๆ ที่ได้เรียนศิลปะจะเน้นไปที่ทักษะ และการหาตัวตนของเรา ซึ่งค่อนข้างตัดขาดกับสิ่งแวดล้อมอื่น แต่ตัวรายวิชานี้ทำให้เราต้องกลับไปพินิจพิจารณาและแคร์สิ่งแวดล้อมรอบตัว เราอาจจะต้องลดตัวตนของการสร้างสรรค์งานแบบปัจเจกลง แต่ส่วนตัวไม่ได้มองว่านั่นคือปัญหา แต่เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง”

“ศิลปะต่างจากงานวิชาการอย่างหนึ่งก็คือ การรับรู้ และตัวงานสร้างสรรค์ทำให้ผู้ดูเกิดการรับรู้ใหม่ๆ ต่อเรื่องเดิม ซึ่งเราไม่เคยรู้ในบริบทนี้ พูดง่ายๆ ว่าเกิดความรู้ใหม่ และเข้าใจโลกด้วยมุมมองใหม่ ผ่านสื่อถ้าทำตรงนั้นได้ก็จะสำเร็จ”

รอชมผลงานได้เร็วนี้ ทาง www.scbfoundation.com

ติดตามชมกิจกรรมในเวทีได้ที่นี่

………………………………………………………..

เวทีนำเสนอผลงานนักศึกษาครั้งที่ 1 โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยน่าอยู่ ครั้งที่ 5 จัดโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) เปิด เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 ณ อาคารคุณหญิงพัฒนา (อาคาร 8) คณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต