ถอดบทเรียน ครู จุติพร แนวทางในการปฏิบัติ ช่วงชั้นปฐมวัยกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ครูจุติพร สุขสิงห์ โรงเรียนลาซาล จันทบุรี แนวทางในการปฏิบัติช่วงชั้นปฐมวัยกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


­

ครู จุติพร สุขสิงห์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ครูอยู่ในโรงเรียนลาซาล จันทบุรี นานกว่า 12 ปี เล่าถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียน ชั้นปฐมวัยว่า “ใช้วิธีการเน้นย้ำด้วยการพูดอย่างสม่ำเสมอ ในกิจวัตรประจำวันของเด็กชั้นปฐมวัย”

­

­

เป้า หมายการสอนเด็กเล็กปฐมวัยมีจุดเน้นหรือมาตรฐานหลักอยู่ที่การพัฒนาทางร่าง กาย การเคลื่อนไหว การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรงว่องไว รวมถึงพัฒนาสมอง เพื่อให้มีพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจตามวัย พัฒนาจิตใจ เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือแบ่งปันทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักมีน้ำใจ และรู้จักให้อภัย ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรักความเมตตาต่อมนุษย์และสัตว์ รู้แพ้รู้ชนะ มากกว่าเน้นเรื่องวิชาการ

­

­

ครูจุติพรจึงเลือกออกแบบการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนปฏิบัติอยู่ในกิจวัตรประจำวันของเด็กโดยเน้นในเรื่อง “เหตุผล” เนื่องจากเด็กเล็กส่วนใหญ่มักมีคำถามที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึงอยู่เสมอ อาทิ เหตุผลในการเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทานอาหาร หลังทานอาหาร การปิดสวิตซ์ไฟ ทำไมต้องทานข้าวให้หมดจาน ดังนั้นพฤติกรรมของเด็กๆ เหล่านี้ จึงเป็นปัจจัยในการใช้ “เหตุผล” เป็นเครื่องมือสำคัญในการบ่มเพาะนิสัยของเด็กให้มีความพอเพียง

­

­

ครู จุติพรกล่าวว่า การสอนเด็กเล็กในหลักทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการให้แยกแยะเรื่อง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้นกัน ความรู้ คุณธรรม อาจยังไม่เหมาะสมเพราะนักเรียนอาจเล็กเกินไป แต่วิธีการดังกล่าวที่เล่ามาข้างต้น คือ การสอดแทรกในกิจวัตรให้เกิดความเหมาะสมและความพอประมาณตามช่วงวัยของเด็ก เพียงแต่ครูอาจต้องทำหน้าที่เป็นผู้เน้นย้ำ โดยสังเกตว่าในแต่ละพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก มีเหตุผลในการกระทำหรือไม่ นอกจากนี้ครูต้องประเมินอารมณ์ และวิธีการแก้ไขปัญหาของนักเรียนในเวลานั้นๆ ด้วย

­

­

นอก จากการตอกย้ำด้วยการพูดอย่างสม่ำเสมอในกิจวัตรประจำวันของนักเรียนชั้น ปฐมวัยแล้ว ในกิจกรรมของนักเรียนปฐมวัย ซึ่งมีอยู่ 6กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สร้างสรรค์ เสรี กลางแจ้ง เกมการศึกษาและเสริมประสบการณ์ ครูจุติพรยังสามารถสอดแทรกรูปธรรมของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปได้อีก ด้วย อาทิ ในกิจกรรมกลางแจ้ง ต้องมีคุณครูอย่างน้อย 2คน ช่วยกันดูแลนักเรียน สร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆ ต้องคอยบอกนักเรียนเรื่องการระมัดระวังการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งไม่ใช่เพียงตนเองเท่านั้น แต่ให้เขาช่วยระมัดระวังตนเองและเพื่อนๆ ด้วย หรืออย่างกิจกรรมเคลื่อนไหว ซึ่งมีทั้งท่าบังคับ ท่าพื้นฐาน ตามหลักสูตร ที่บางครั้งการเคลื่อนไหวดังกล่าวของเด็กๆ จะเกิดการชน กระแทกกันบ้าง ครูจึงต้องคอยสอนและแนะนำนักเรียน ซึ่งเน้นในเรื่องคุณธรรมอีกเช่นกันคือ นักเรียนต้องใช้สติ ต้องระวังตนเอง ระวังเพื่อนๆ อย่าให้ชนกัน หรือหากชนกัน ก็ต้องขอโทษเพื่อน ส่วนเพื่อนก็ต้องให้อภัย เพราะไม่มีใครตั้งใจ เมื่อชนกันแล้วนักเรียนต้องระวัง พยายามอย่าให้เกิดครั้งที่ 2หรือ 3 อีก ทั้งนี้อาจยกตัวอย่างว่า หากไม่ระมัดระวังจะเกิดการบาดเจ็บอย่างไร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ

­

­

เรา เน้นสอนเพื่อปลูกฝังให้อยู่ในเรื่องกิจวัตรประจำวัน เพราะเขายังเป็นเด็กเล็ก โดยเราจะเน้นทั้งเรื่องเหตุผล ความพอประมาณที่เป็นรูธรรม แต่อาจจะไม่ได้บอกให้เขารู้ว่านี่คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น เด็กเล็กๆ จะชอบซื้อของเล่น ทั้งๆ ที่ที่บ้านมีของเล่นอยู่มากมาย บางชิ้นยังไม่เคยเล่นเลยก็มี ครูก็จะถามนักเรียนว่ามีนักเรียนคนไหนมีของเล่นแบบนี้ไหม แล้วถามต่อไปว่า มีใครร้องโยเยให้คุณพ่อคุณแม่ซื้อให้บ้าง ก็มีเด็กยกมือหลายคน เพราะเด็กส่วนใหญ่ค่อนข้างสดใส ไม่พูดโกหก เรื่องแบบนี้นอกจากทำความเข้าใจกับเด็กแล้ว เราต้องคุยกับผู้ปกครองของเด็กด้วยว่า ครูได้พูดคุยทำความเข้าใจกับเด็กแล้ว พ่อแม่ต้องให้ความร่วมมือ เพราะพฤติกรรมบางอย่างครูไม่สามารถแก้ไขที่ตัวเด็กได้ฝ่ายเดียว ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วย เพราะหากถ้าคุณพ่อซื้อของเล่นให้ลูกทุกครั้งที่เขาอยากได้ พอเขาโตขึ้นเราจะแก้นิสัยไม่รู้จักพอของเด็กได้ยาก ครูจึงต้องคุยกับผู้ปกครอง โดยใช้เวลาในช่วงเย็นที่ผู้ปกครองมารับลูก ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่เร่งรีบเหมือนตอนเช้า” ครูจุติพรกล่าว

­

­

อย่าง ไรก็ตามแม้การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการสอนนักเรียนระดับ ปฐมวัยไม่อาจลงลึกให้เด็กได้เรียนรู้ทฤษฏีกระทั่งสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยง กับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขได้อย่างชัดเจน แต่ครูปฐมวัยก็ต้องดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเข้ากับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง­

­

ตัวอย่างเช่น การสอนแผนการเรียนรู้“ท่องทะเลสำราญ” ชั้นอนุบาลปีที่ 1ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้

­

­

การปลูกฝังปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน

­

­

ความพอประมาณ

รู้ถึงความสามารถของตนว่าสามารถเล่นน้ำทะเลได้ในระดับที่ไม่ลึก และต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลในการร่วมอนุรักษ์ควรทำตามความสามารถที่มี ไม่เก็บสิ่งของที่หนัก และใหญ่เกินกำลังของตนเอง

­

­

ความมีเหตุผล

สามารถ บอกได้ว่าเราจะไปทะเลต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร และทำไมจึงต้องปฏิบัติตน ให้เกิดความปลอดภัยและทำไมเราควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทะเลให้สวยงาม

­

­

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

รู้จัก ระมัดระวังอันตรายจากการทัศนศึกษา การเดินด้วยความระมัดระวัง ไม่หยิบสิ่งของที่เป็นอันตราย เช่น ขวดแก้ว ที่แตกและสามารถบาดผิวหนังทำให้เกิดอันตราย

­

­

เงื่อนไขความรู้

รู้ถึงการปฏิบัติตนในการไปเที่ยวทะเลว่าควรทำอย่างไร

­

­

เงื่อนไขคุณธรรม

มีการดูแลช่วยเหลือกันและกันในการไปทัศนศึกษาเช่น การแบ่งปันขนมให้แก่กัน

­

นอก จากนี้ยังมีตัวอย่างการสอนอื่นๆ ที่ครูสามารถสอดแทรกนิสัยพอเพียงในตัวเด็กๆ ได้ อาทิ กรณีการสอนนักเรียนทำกระทงใบตอง โดยให้นักเรียนนำใบตองมาจากบ้าน ใครเอามามากให้แบ่งปันเพื่อน พอนักเรียนทำเสร็จ ก็ชวนคุยว่าสังเกตเห็นตัวเองหยิบของชิ้นไหนแล้วตกบ่อยบ้าง เด็กก็จะบอกว่าหยิบพวกไม้แหลมหรืออะไรเล็กๆ ไม่ได้ ครูก็จะเสริมให้เหตุผลกลับไปว่า เป็นเพราะกล้ามเนื้อของเด็กไม่แข็งแรง ถ้าใครทำกระทงโดยสามารถหยิบจับของได้ถนัดมือ แสดงว่ามีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังชวนเด็กคุยเรื่องการทำกระทงว่าต้องระมัดระวังเรื่องอะไร อะไรเป็นของมีคมที่ต้องระวัง หรือสอนว่าพับใบตองอย่างไรให้กระทงออกมาสวย แล้วท้ายสุดก็ชี้ให้นักเรียนเห็นเรื่องความอดทน และความพยายามที่ทำกระทงจนสำเร็จ เป็นต้น

­

­

ความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็น

ครู จุติพร เล่าว่า สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดหลังนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้คือ เด็กๆ มีน้ำใจมากขึ้น รักกัน รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ค่อยทะเลาะกัน ในภาพรวมนักเรียนรู้จักระเบียบวินัย เก็บของใช้ส่วนตัวและของส่วนรวมอย่างเป็นระเบียบ เป็นที่เป็นทาง โดยที่ครูไม่ต้องเตือนอยู่บ่อยๆ

­

­

"ที่ เป็นแบบนี้เพราะครูสอนทีละนิด ค่อยๆ แทรกในกิจวัตรประจำวัน ต้องบอกไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นนิสัย ที่ผ่านมาเราไม่เคยบอกเด็กว่าอย่างนี้เขาเรียกว่าเงื่อนไขความรู้ ความพอประมาณ ดังนั้น ในระดับช่วงชั้นอนุบาลทุกห้อง เรามีแผนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแผนการสอน 1เรื่อง ต่อ 1 สัปดาห์ ซึ่งสอดแทรกลงไปอย่างที่กล่าวมาข้างต้น”

­

­

หาก ครูดำเนินการบ่อยๆ ต่อไป โอกาสที่ครูปฐมวัยจะสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนการจัดการ เรียนการสอนได้ทุกเรื่องและทุกโอกาสที่เหมาะสมได้มากขึ้น