บทเรียนจากกลุ่มเครือข่ายเยาวชนรากหญ้ารักษ์ถิ่น  จังหวัดเชียงใหม่

โดย เครือข่ายเยาวชนรากหญ้ารักษ์ถิ่น  ณ จังหวัดเชียงใหม่

­

                กลุ่มเยาวชนเครือข่ายรากหญ้ารักษ์ถิ่น มีแกนนำในรูปแบบอาสาสมัคร 11 คน 11 พื้นที่ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนระดับเครือข่ายของกลุ่มเยาวชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีจุดร่วมในการรวมตัวเหมือนกัน คือ ความเดือดร้อนเรื่องสิทธิของชุมชน ทรัพยากร และต้องการพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกัน

­

               บทบาทสำคัญในการทำงานร่วมระหว่างกลุ่มกับชุมชนก็คือการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการทรัพยากรกับชุมชน และเป็นผู้ช่วยจัดกระบวนการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน อาทิเช่น เรื่องฉโนดชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในชุมชน ทั้งนี้ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากโครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนา, โครงการสืบสานภูมิปัญญาภาคกลาง, เครือข่ายคกน., วัดสวนดอกและชุมชนในพื้นที่

­

               กิจกรรมที่ดำเนินงานต่อเนื่องส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ การทำศูนย์การเรียนรู้ การปลูกป่า บวชป่า ไปจนถึงงานมหกรรมวัฒนธรรมประจำปี โดยที่จะมีการประชุมสรุปงานทุก 3 เดือน และการประชุมสรุปงานในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการจัดกิจกรรมพัฒนาแกนนำและอาสาสมัครรุ่นใหม่อีกด้วย

­

­