ปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์ ด้วยพลังความจำจาก “Mind Map”
รู้ไหมว่า Mind Map (ผังมโนภาพ) นั้นคืออะไรแล้วเรารู้จักสิ่งนี้ดีแค่ไหน เรามาหาคำตอบกัน

­

­

­

­

Mind Map หรือ ผังมโนภาพ

คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเขียนแผนผังความคิดของเราได้อย่างอิสระสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในด้านการเรียน การทำงาน การบริหาร ดังนั้น Mind Map จะใช้ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ดสั้นๆ และมีการใช้สีสันที่หลากหลายเพื่อสร้างจินตนาการโดยใช้การวาดภาพประกอบเพื่อเพิ่มความจำนั่นเอง

­

­

­

­

­

­

­

แล้วถ้าจะเขียน Mind Map ต้องเตรียมอะไรบ้าง…?

• กระดาษเปล่าๆ 1 แผ่น ขนาดอย่างน้อยเท่า A4 และไม่มีเส้นจะดีที่สุด

• ปากกาหลากสี หรือสีดินสอ (ยิ่งมีหลายๆสียิ่งดี)

­

­

­

­

­

­

­

ขั้นตอนการเขียน Mind Map

การเขียน Mind Map มีลักษณะเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ ทำให้ สมองได้คิดได้ทำงานตามธรรมชาติและมีจินตนาการกว้างไกล ที่สำคัญการเขียน Mind Map ช่วยในเรื่องแสดงการเชื่อมโยงข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการเขียน ผังความคิดนี้มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

• เริ่มวาดภาพที่เป็นแก่นของเรื่องที่จุด "กึ่งกลาง" ของกระดาษ

• ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบไอเดียที่จะเขียนไปตรงจุด กึ่งกลาง เพราะว่ารูปภาพมี ความหมายแทนคำพูดนับล้านคำและยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวด้วย

• ใช้สีหลากสีสัน เพราะสีสันจะทาให้ map ของคุณดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

• วาด "กิ่ง" ออกมาจากภาพตรงกลางแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่เราคิดได้ แต่ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันเพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากัน

• วาดเส้นกิ่งให้ "โค้ง"

• ใช้เพียงแค่ "คีย์เวิร์ด" สั้นเท่านั้น สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นและคีย์เวิร์ดต้องอยู่บนเส้น ไม่ควรอยู่ด้านล่างเส้นหากทาแบบนี้จะทาให้mapของคุณดูมีพลังและยืดหยุ่นได้

­

­

­

­

­

­

­

­

กฎของ Mind Map

1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวาง กระดาษภาพแนวนอน

2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือ แสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วย รูปทรงเรขาคณิต

3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็น หน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมายบนเส้นซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตก ออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง

4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องใน ข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดย เขียนคำหรือ วลี

บนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่ เกิน 60 องศา

5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลี เส้นที่แตกออกไปซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ

6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคาที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่ มีความหมายชัดเจน

7. คำวลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบหรือใส่กล่อง เป็นต้น

8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน กฎการสร้าง Mind Map

­

­

     หากเราใช้ Mind Maps ทุกวันแล้วละก็ จะพบว่ามันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง และมีประธิสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจเพราะว่าเราสามารถปลดปล่อยความคิด จินตนาการลงไปในผังมโนภาพของเราได้เต็มที่และยังสร้างความสนุกสนานไม่น่าเบื่อด้วยการวาดMind Map นั่นเอง