ร้านมิตรสัมพันธ์ อ.เมือง จ.ตรัง คุณสมพงษ์ หลีเคราะห์, คุณชีวัน ขันธรรม และการแลกเปลี่ยนจากทีมโครงการ..

เพื่อให้การทำงานครั้งนี้บรรลุเป้าหมายมากที่สุดจึงนำไปสู่การนำเสนอการทำงานใน รูปแบบใหม่โดยเป็นการประยุกต์มาจากกระบวนการในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแบบเดิม แล้วเสริมด้วยการเน้นงานพัฒนาให้มากขึ้น ซึ่งเรียกชื่อในเบื้องต้นว่า “กระบวนการ CBR ประยุกต์” กล่าวคือ ลดระยะเวลาในช่วงการพัฒนาโครงการลง โดยให้เหลือเวลาประมาณ 4-6 เดือน หลังจากนั้นให้เน้นงานเชิงพัฒนาควบคู่กับการถอดบทเรียนความรู้ในการทำงาน เป็นการเสริมงานพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเดิมที่จะเน้นงานวิจัยเป็นหลัก แต่ในการทำงานก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการขับเคลื่อนงานพัฒนาบนฐานการใช้ ข้อมูล หรือความรู้ ซึ่งได้มีการหารือกันว่าภายใต้การร่นระยะเวลาดังกล่าวควรคัดเลือกเครื่องมือ การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อคุณภาพใน การทำงานด้วย ทั้งนี้ได้มีการวางจังหวะการทำงานร่วมกันในส่วนของทีมกลางและพื้นที่ โดยเฉพาะมีการให้ความสำคัญกับเรื่องการถอดบทเรียนการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเนื้อหา และ ส่วนกระบวนการทำงาน ซึ่งได้แบ่งระดับการทำงาน คือ ทีมชุมชน ถอดความรู้ระดับกิจกรรม, ทีมพื้นที่ถอดความรู้ระดับจังหวัด และทีมกลางถอดความรู้ในระดับภาพรวมอย่างไรก็ตาม มีการทำงานเชื่อมโยงหนุนเสริมกันในทุกระดับอยู่เป็นระยะทั้งในการลงมาเรียน รู้เชิงกิจกรรมในชุมชน และ การอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อหนุนเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด



คุณชีวันกล่าวว่า เครื่องมือที่จะใช้ทำงานในงานสึนามิครั้งนี้เป็นนวัตกรรมที่ปรับให้อยู่ นอกกรอบที่เคยทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมา และเป็นการมาเติมเต็มบางส่วนที่งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขาด โดยได้เชิญ

คุณสมพงษ์เป็นผู้นำเสนอเครื่องมือ หรือกระบวนการดังกล่าว

คุณสมพงษ์ อธิบายกระบวนการดังกล่าวให้ฟังว่า ในการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ผ่านมา เราหาความรู้ที่ออกแบบในสิ่งที่ขาดคือ เราทำวิจัย ชาวบ้านทำข้อมูล สุดท้ายได้แนวทาง กล่าวคือ ได้ตัว R (Research) ออกมา แต่ตัว D (Development) ไปไม่ถึงไหน ดังนั้นจึงอยากเห็นตัว D นั้นจึงู้ ี่ผ่านมาาวให้ฟังว่า ่องมือ หรือกระบวนการดังกล่าวใหญ่ๆ ซึ่งงบสนับสนุน สกว. เดิมไม่มี หลายครั้งจึงต้องไปหางบที่อื่นมาสนับสนุนการทำงานพัฒนาต่อจากงานวิจัย ในขณะที่งานวิจัยบางเรื่องก็จบแค่แนวทาง เช่น บ้านบ่อเจ็ดลูก จบแค่ท่องเที่ยวอย่างไร? ซึ่งในความเป็นจริงถ้าจะให้เป็นประโยชน์กับพื้นที่นั้นผลผลิตควรจะออกมาเป็น รูปธรรม ดังนั้น งานนี้ตัว D และตัว R จึงเท่ากัน คือ มี D อยู่ในกระบวนอย่างชัดเจนไม่ได้แยกส่วนต่างหากเหมือนที่ผ่านมา นั่นคือ ใช้งบลอยๆ ที่ชาวบ้านขอได้ คือ สองแสนบาทเป็นงบตัว D แต่ตัว R คือกิจกรรมที่เขียนลงในแผนโครงการ โดยตัวพี่เลี้ยงใช้ช่วงเวลา 1- 3 เดือนเพื่อพัฒนาโจทย์จนได้ประเด็นในชุมชนทั้งหมด กล่าวคือ จากหลายเรื่องที่มีให้คัดเลือกจนได้มา 1 เรื่องเพื่อศึกษาเชิงลึกภายใน 6 เดือน สรุปคือ


  • ระยะ 1-3 เดือนแรก: ต้องดูบริบทพื้นที่ทั้งหมดซึ่งมีหลายเรื่อง
  • หลังจาก 3 เดือน (เดือนที่ 4-6): ชวนชุมชนเลือกมา 1 เรื่องเพื่อศึกษาเชิงลึกอีก 3 เดือน

โดยตัว R จะแฝงอยู่ในแต่ละช่วงของการทำงาน ได้แก่

  • เดือนที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงคัดเลือกประเด็นการทำงาน จะได้ R1
  • เดือนที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วง Review (ศึกษาเชิงลึก) พอครบ 6 เดือนแล้วจะได้ R2
  • เดือนที่ 6-12 ทำงานไปพร้อมๆ กันระหว่างวิจัยและพัฒนา โดย
  • เป็นช่วงปฏิบัติการด้วยจึงได้ตัว D (เริ่มใช้งบ 200,000 บาท)
  • ในระหว่างนั้นมีการวิเคราะห์ภาพรวม ทำให้ได้ตัว R 3
  • พอครบ 6 เดือนในช่วงปฏิบัติการมีการถอดบทเรียนก็จะทำให้ได้ตัว R 4


ซึ่งคุณสมพงษ์ ได้เขียนเป็นแผนผังให้เห็น ดังนี้


ในการทำงานช่วง 6 เดือนแรก พี่เลี้ยงจะทำงานควบคู่ไปกับชาวบ้าน แต่หลังจากช่วง 6 เดือนแล้ว ชาวบ้านจะเป็นผู้ปฏิบัติการตามแผนกิจกรรม ทั้งนี้แม้จะเพิ่มมิติงานพัฒนาเข้าไปก็ไม่ได้ทิ้งงานวิจัย เพราะจะเห็นว่าในระหว่างทางมีตัว R เกิดขึ้นได้ตลอด (หลัง 6 เดือน ได้ R 2 แล้วจึงเป็นตัว D)



คุณชีวัน ชี้แจงว่า ในช่วงการทำงานระยะแรกนั้น มีเวลาปีครึ่ง (18 เดือน) ซึ่งสุดท้ายคาดหวังพื้นที่ต้นแบบ ส่วนในระยะที่ 2 จะเป็นการยกระดับพื้นที่ต้นแบบ หรือขยายผล และได้ชวนแบ่งเวลาการทำงานในช่วง 6 เดือนแรกจากที่ออกแบบไว้ให้ละเอียดขึ้น ดังนี้


  • เดือนที่ 2: ได้คนจากพื้นที่ที่เราจะดึงเขามามีส่วนร่วมในการทำงาน
  • เดือนที่ 3: วิเคราะห์ภาพรวมชุมชนในเรื่องสถานการณ์ปัญหา แล้วเลือกประเด็นขับเคลื่อนงาน ซึ่งอาจได้มาหลายประเด็น
  • เดือนที่ 4 : คัดเลือกประเด็นที่ได้จากเดือนที่ 3 มาเพียง 1 เรื่อง เช่น ประเด็นเกษตร-ทรัพยากร หรือความมั่นคงทางอาหาร และเริ่มศึกษาเชิงลึกระหว่างพี่เลี้ยงกับชาวบ้านเกี่ยวกับสาเหตุและทางแก้ ปัญหา
  • เดือนที่ 5-6: เป็นช่วงทำแผน โดยเดือนที่ 6 แผนน่าจะได้รับการอนุมัติ

ทั้งนี้ได้วาดแผนผังอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้





ดังนั้น ผลผลิตหลังจากครบ 6 เดือน คือ ตัวโครงการ โดยงบในการทำงานของชาวบ้านอยู่ที่ทีมกลาง เพราะอยากให้มีกลไกในการอธิบายให้ข้างนอกยอมรับว่าแผนที่ทุกจังหวัดพยายาม สร้างมานั้นมีกลไกในการกลั่นกรองแผนร่วมกัน ทีมกลางจะหาคนที่เข้าใจในแต่ละเรื่องมาร่วมมองในเดือนที่ 6 เช่น อาจมี ศ.ดร. ปิยวัติ ฯลฯ มาร่วมมองแผนที่เสนอจากพื้นที่ด้วยกัน จากนั้นเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกลไกจังหวัดแล้ว งบจากส่วนกลางจะโอนให้ชาวบ้านทำงานใน 1 ปีที่เหลือโดยมีพี่เลี้ยงสนับสนุนให้ชาวบ้าน Action กระบวนการที่เสนอมานี้จึงค่อนข้างปรับจากการทำงานแบบเดิมพอสมควร..