ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
ครูประสงค์ได้นำความรู้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ลงสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนลดรายจ่ายในการซื้อเชื้อเพลิงมาใช้ในการหุงต้ม


การปรับปรุงคุณภาพก๊าซก่อนนำไปใช้งานมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

1. การดักน้ำในท่อส่งก๊าซ
ปกติก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มักมีความชื้นสูงเกือบถึงจุดอิ่มตัว เมื่อก๊าซชีวภาพไหลผ่านท่อส่งก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำ จะทำให้ความชื้นในก๊าซกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และสะสมจนอุดตันทางเดินของก๊าซ

2. การปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากก๊าซชีวภาพนี้จะปฏิบัติก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น เช่น ในกรณีที่ก๊าซชีวภาพที่ได้มีสัดส่วน ของก๊าซมีเทนต่ำมาก จะอยู่ในระดับที่จุดไฟติดยาก

3. การปรับลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
มีคุณสมบัติเป็นก๊าซพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำ จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนกรดหรือไอกรด ที่สามารถกัดกร่อนโลหะและวัสดุอุปกรณ์ได้


การสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพีวีซี
การผลิตก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพีวีซีขนาดที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยซึ่งเลี้ยงสัตว์(สุกร) ประมาณ 10 – 15 ตัว ควรใช้ขนาดความยาวของพลาสติกพีวีซี 6 เมตร เส้นรอบวง 5.2 เมตร มีปริมาณโดยรวม 7.8 ลูกบาศก์เมตร แยกเป็นส่วนของเหลว 5.9 ลูกบาศก์เมตร ก๊าซ 1.7 ลูกบาศก์เมตร สามารถผลิตก๊าซชีวภาพต่อวันได้ประมาณ 35 %ของของเหลวหรือเท่ากับ 2 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อการนำก๊าซจำนวนนี้ไปใช้กับเตาหุงต้มจำนวน 2 เตา ( ใช้ก๊าซ 0.15 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง ) สำหรับใช้ทำอาหารในครัวเรือนได้

ในมูลสุกรทั่วไปมีของแข็งประมาณ 15 % ซึ่งในบ่อหมักต้องการน้ำที่มีส่วนผสมของของแข็งประมาณ 3 % การผลิตก๊าซดังกล่าวต้องใช้สัดส่วนของมูลและน้ำเท่ากับ1 : 1 หรือ 1 : 4 ส่วน โดยต้องเติมมูลวันละ 24 ลิตร และใช้น้ำวันละ 24 – 96 ลิตรหรือเท่ากับการเลี้ยงสุกรจำนวน 6 ตัว

การสร้างบ่อหมัก มีขั้นตอนดังนี้

1.ศึกษาระบบการทำงานของบ่อก๊าซชีวภาพให้เข้าใจดีเสียก่อน


2.การเตรียมพื้นที่ พื้นที่ที่จะทำการสร้างบ่อหมัก ควรเป็นพื้นที่ลาดเอียง ต่ำกว่าระดับคอกสัตว์เล็กน้อย เพื่อให้มูลสัตว์ไหลระบายเข้าบ่อเอง หรืออาจทำเป็นบ่อชนิดดักมูลสัตว์มาเติมได้หากไม่คำนึงถึงระดับของบ่อหมักกับคอกสัตว์ขนาดของหลุมที่จะขุด ควรมีขนาดกว้างด้านบน 2 เมตร ยาว 3.5 เมตร ลึก 1 เมตร(สำหรับการเลี้ยงสุกรขนาดเฉลี่ยปานกลางจำนวน 6 - 20 ตัว หรือเท่ากับบ่อเก็บมูลปริมาณ 7 - 8 ลูกบาศก์เมตร ) ขุดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูให้ฐานของบ่อมีพื้นที่หน้าตัดที่แคบกว่าเล็กน้อย ควรขุดด้านหัวและท้ายของบ่อเป็นแนวสำหรับวางท่อรับและระบายมูลด้วย โดยให้ทางเข้ามูลมีระดับสูงกว่าทางระบายมูลออกเล็กน้อย

3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งนอกจากพลาสติกพีวีซีแล้วควรใช้วัสดุอุปกรณ์อื่นที่มีราคาถูกและซื้อได้ในท้องถิ่น

วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้

1.พลาสติกพีวีซี ความหนา 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 ผืน

2. ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1.2 เมตร จำนวน 2 อัน

3. กาวอีแว๊ป ½ กระป๋อง

4. เกลียวนอก - ใน พีวีซี ¾ - 1 นิ้ว จำนวน 1 ชุด

5.ยางในรถจักรยานยนต์เก่า

6. แผ่นพลาสติกแข็ง ขนาด 3 นิ้ว 2 แผ่น ( กระป๋องน้ำมันเครื่องเก่า )

7. ท่อพีอี หรือท่อพีวีซี ข้อต่อ ขนาด ¾ - 1 นิ้ว จำนวนขึ้นกับความยาวของท่อส่งก๊าซที่ต้องการ ( 40 เมตร )

8. สามทางพีวีซี ¾ - 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน

9.ขวดดักจับไอน้ำ 1 ใบ ( ขวดน้ำอัดลมที่ใช้แล้ว )

10. วาล์ว 4 หุน จำนวน 1 อัน

11. หัวก๊าซ 1 หัว



12. สายส่งก๊าซความยาว 2 เมตร

13. ปูนซิเมนต์ 1 ถุง


การประกอบถุงหมักพีวีซี มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตัดพลาสติกพีวีซีขนาดความกว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 ชิ้น

ขั้นตอนที่ 2 ติดพลาสติกเข้าด้วยกันด้วยกาวอีแว๊ป

ขั้นตอนที่ 3 ต่อชุดสายยางส่งก๊าซ

ขั้นตอนที่ 4 ผูกท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ความยาว 1.2 เมตร ที่ปลายทั้งสองข้างของถุง แล้วรัดด้วยยางในรถจักรยานยนต์

ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบการรั่วของถุงด้วยไอเสียรถยนต์

ขั้นตอนที่ 6 นำถุงหมักลงหลุมจัดวางถุงให้ดี แล้วเติมน้ำให้ท่วมปลายท่อด้านในของถุงทั้งสองด้าน

ขั้นตอนที่ 7 ทำบ่อทางเข้าของมูลและบ่อล้น ที่ปลายท่อพีวีซีทั้งสองด้าน

ขั้นตอนที่ 8 ประกอบสายส่งก๊าซ / ติดตั้งขวดปรับแรงดันและดักน้ำ

ขั้นตอนที่ 9 ติดตั้งท่อส่งก๊าซและวาล์วควบคุมก๊าซ



ประโยชน์ของการทำก๊าซชีวภาพ

ด้านพลังงาน เมื่อพิจารณาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว การลงทุนผลิตก๊าชชีวภาพจะลงทุนต่ำกว่าการผลิตเชื้อเพลิงอื่น สามารถใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ฟืน ถ่าน น้ำมัน ก๊าชหุงต้ม

ด้านปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยการนำมูลสัตว์ ปัสสาวะ และน้ำล้างคอกมาหมักในบ่อลักษณะสุญญากาศ จะช่วยทำให้กลิ่นเหม็นและแมลงวันในบริเวณนั้นลดลง

ด้านการเกษตรเกษตร การทำเป็นปุ๋ย กากที่ได้จากหมักก๊าซชีวภาพสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ดีกว่ามูลสัตว์สด ๆหรือปุ๋ยคอกการทำเป็นอาหารสัตว์ โดยนำส่วนที่เหลือจากการหมักนำไปตากแห้งแล้วนำ ไปผสมเป็นอาหารสัตว์ ให้โคและสุกรกินได้



ก่อนนำก๊าซชีวภาพไปใช้ต้องทำอย่างไร

การปรับปรุงคุณภาพก๊าซก่อนนำไปใช้งานมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

1. การดักน้ำในท่อส่งก๊าซ ปกติก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มักมีความชื้นสูงเกือบถึงจุดอิ่มตัว เมื่อก๊าซชีวภาพไหลผ่านท่อส่งก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำ จะทำให้ความชื้นในก๊าซกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และสะสมจนอุดตันทางเดินของก๊าซ

2. การปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากก๊าซชีวภาพนี้จะปฏิบัติก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น เช่น ในกรณีที่ก๊าซชีวภาพที่ได้มีสัดส่วน ของก๊าซมีเทนต่ำมาก จะอยู่ในระดับที่จุดไฟติดยาก

3. การปรับลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีคุณสมบัติเป็นก๊าซพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำ จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนกรดหรือไอกรด ที่สามารถกัดกร่อนโลหะและวัสดุอุปกรณ์ได้