แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
ร.ร.บ้านคลองไคร นางสูใบดะ กิจวัง

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รหัสวิชา ว 15101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.5

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง เวลา 2 ชั่วโมง

­

1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

­

ว 5.1 ป 5/4 สำรวจและอภิปรายอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อฟังเสียงดังมาก ๆ

­

ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

­

ว 8.1 ป 5 /6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย และสรุปสิ่งที่ได้ เรียนรู้

­

ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

­

ท 1.1 ป 5/5 วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

­

ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ท2.1 ป 5/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสม

­

ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและแสดงความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

­

ศ 1.1 ป 5/6 ระบุปัญหาในการจัดองค์ประกอบศิลป์และการสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตนเอง และบอกวิธีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

­

ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีคุณธรรม

­

ง 3.1 ป 5/2 สร้างงานเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วยความรับผิดชอบ

­

ส 3.1เข้าใจและสามารถบริหารจัดทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ารวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

­

ส 3.1 ป 5/2 ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน

­

2. สาระสำคัญ

เสียงที่ดังมากจะเป็นอันตรายต่อการได้ยินและเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ฟังเรียกว่า มลพิษทางเสียง ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ควรศึกษาข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เชื่อถือได้ นำมารวบรวม วิเคราะห์ สร้างเป็นองค์ความรู้ จัดทำป้ายประกาศ เรื่องอันตรายจากเสียง เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง

­

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 อภิปรายอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อฟังเสียงดังมาก ๆ และวิธีป้องกันตนเองจากมลพิษทางเสียงได้ (K)

3.2 สืบค้นข้อมูล ข่าวสารเรื่อง อันตรายจากเสียงดัง จากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เชื่อถือได้(P)

3.3 ออกแบบสร้างป้ายประกาศเรื่องอันตรายจากเสียงดังเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่บุคคลทั่วไปได้ (P)

3.4 มีจิตวิทยาศาสตร์ (A)

­

4. สาระการเรียนรู้

4.1 เสียงที่ดังมากและเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ฟังเรียกว่า มลพิษทางเสียง เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังเกินไป เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับหู

4.2 การสร้างงานป้ายประกาศเผยแพร่ความรู้เรื่องอันตรายจากเสียงโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบโดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

­

5. สมรรถนะสำคัญ

­

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

­

7. ภาระงาน / ชิ้นงาน

7.1 ภาระงาน -

7.2 ชิ้นงาน

- ใบงานที่ 1 เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง

- ใบงานที่ 2 ป้ายประกาศเผยแพร่ความรู้เรื่องอันตรายจากเสียง

­

8. กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1

8.1 ครูเปิดวิทยุดังพอสมควรไว้หน้าห้อง แล้วสุ่มให้นักเรียน 3-4 คน เดินมาฟังเสียงใกล้วิทยุ แล้วเดินออกไปห่างจากวิทยุไกลขึ้นๆ แล้วสังเกตเสียงที่ได้ยิน ครูให้เปรียบเทียบว่าเสียงที่ได้ยินจากวิทยุขณะอยู่ใกล้และไกลวิทยุต่างกันอย่างไร

­

นักเรียน : ตอบตามความรู้สึกของแต่ละคน ครูถามนักเรียนต่อไปอีกว่า

ครู : ถ้าเราฟังเสียงดังเป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

นักเรียน : นักเรียนตอบได้อย่างอิสระ(คำตอบที่ครูคาดหวัง คือ ปวดหู หูอื้อ รำคาญ เครียด หงุดหงิด)

­

ครูจึงใช้คำพูดชักชวนนักเรียนให้เห็นถึงอันตรายจากเสียงดังที่มีต่อสุขภาพ นักเรียนจึงควรศึกษาอันตรายจากเสียงดัง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับหู(ครูใช้หลักความมีเหตุผล เพื่อฝึกให้นักเรียนใช้ทักษะการสัมผัสด้านการใช้หูฟังเสียงเพื่อเปรียบเทียบเสียงที่ได้ยินในระยะใกล้ๆ กับระยะไกลๆ เสียงในระยะใด ก่อให้เกิดความรำคาญ เสียงในระยะใด ฟังแล้วก่อให้เกิดความสุข และเพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว นำความรู้เรื่องความดังของเสียงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข)

­

8.2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-6 คน จำนวน 5 กลุ่ม โดยแบ่งคละตามความสามารถและความถนัดของนักเรียนดังนี้ ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ความสามารถด้านศิลปะ ความสามารถด้านการเขียนสื่อสาร เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมที่กำหนดไว้ (ครูใช้หลักความพอประมาณกับจำนวนนักเรียนและกิจกรรมที่จัด ความมีเหตุผลในการแบ่งกลุ่มตามความสามารถ เพราะแต่ละคนมีความถนัดและความสามารถที่แตกต่างกัน เมื่อแบ่งงานกันทำ จะได้แบ่งให้ตรงกับความถนัดและความสามารถ ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว) จากนั้นนักเรียนในกลุ่มร่วมกันกำหนดหน้าที่ของสมาชิก เป็นหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และสมาชิกภายในกลุ่ม (เป็นการฝึกให้นักเรียนเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้นำผู้ตามได้ เกิดมิติด้านสังคม และนักเรียนได้แบ่งหน้าที่กันเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคลเป็นความพอประมาณกับความสามารถ)

­

ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบความรู้เรื่องอันตรายจากเสียงดัง(ครูมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพราะมีการวางแผนการสอน และเตรียมสื่อไว้ล่วงหน้า) แล้วแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง ให้เข้าใจ กำหนดระยะเวลา 10 นาที หลังจากนั้นให้ทำใบงานที่ 1 เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม 20 นาที เสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยครูให้ตัวแทนกลุ่มมาจับสลากหัวข้อที่จะนำเสนอจากใบงานที่ 1 กลุ่มละ 1 ข้อ( 5 ข้อ) และนำเสนอตามลำดับข้อที่จับสลากได้ (เวลาที่กำหนดไว้เหมาะสมกับกิจกรรมเป็นความพอประมาณในการออกแบบกิจกรรมของครู )

(ด้านความรู้ เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้รอบคอบสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องอันตรายจากเสียงดัง)

­

8.4 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียนเรื่อง อันตรายจากเสียงดัง ว่าเสียงที่ดังมากและเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ฟังเรียกว่า มลพิษทางเสียง เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังเกินไป เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับหู เพื่อให้เกิดความตระหนักในอันตรายจากมลพิษทางเสียงที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต (นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ มีการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เกิดคุณธรรมการอยู่ร่วมกัน)

­

ชั่วโมงที่ 2

8.5 นักเรียนและครูสนทนาทบทวนองค์ความรู้เรื่อง อันตรายจากเสียงดังจากการเรียนในชั่วโมงที่ผ่านมา

­

8.6 นักเรียนกลุ่มเดิมส่งตัวแทนรับใบงานที่ 2 เรื่อง การทำป้ายประกาศ “อันตรายจากเสียงดัง” ให้เสร็จภายใน 30 นาทีโดยใช้หลักองค์ประกอบของศิลป์ ได้แก่ การใช้เส้น สี น้ำหนักของภาพ รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ให้ได้สัดส่วน เกิดความสมดุล จึงจะได้ป้ายประกาศที่สวยงาม โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ จากนั้นครูจึงพานักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่ห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนครูกำชับนักเรียนให้ปฏิบัติตามระเบียบการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ (ใช้หลักพอประมาณ การมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเพื่อให้ได้ชิ้นงานถูกต้องและสวยงาม )

­

8.7 ครูคอยสังเกตกระบวนการทำงานของนักเรียน ให้คำแนะนำขณะทำงานและกำชับให้นักเรียนตั้งใจทำงาน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ (ครูปลูกฝังคุณธรรมนักเรียน ด้านความมีวินัย รู้จักเคารพสถานที่)

­

8.8 แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานใช้เวลากลุ่มละ 3 นาที ( นักเรียนใช้หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและความพอประมาณ ควบคู่กัน เพราะนักเรียนต้องวางแผนว่าจะนำเสนองานรูปแบบใด เพื่อให้ข้อมูลที่จะนำเสนอกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เกินเวลาที่กำหนด )

­

8.9 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากการนำเสนอผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มในตามประเด็นดังต่อไปนี้ (เพื่อทดสอบสิ่งที่เรียน นักเรียนมีความรอบรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยประการใด)

­

8.9.1 ข้อมูลต่างๆที่นำเสนอมีความน่าเชื่อถือถูกต้องหรือไม่อย่างไร

­

8.9.2 การเขียนสื่อสารใช้คำได้ถูกต้อง กระชับ เข้าใจง่าย และเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

­

8.9.3 การออกแบบป้ายประกาศให้น่าสนใจควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

­

8.10 ครูสรุปเพิ่มเติมในการทำป้ายประกาศเผยแพร่ความรู้เรื่องอันตรายจากเสียงดัง จะต้องออกแบบให้สวยงาม สะดุดตา น่าสนใจ ทำให้คนทั่วไปอยากอ่าน จึงจะมีประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

9. สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

- วิทยุ

- คอมพิวเตอร์

- กระดาษ A 4

- หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์

- ใบความรู้เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง

- ใบงานที่ 1 เรื่อง อันตรายจากเสียงดัง

- ใบงานที่ 2 เรื่อง การทำป้ายประกาศ “อันตรายจากเสียงดัง”

9.2 แหล่งเรียนรู้

- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

­

10. การวัดและประเมินผล

10.1 วิธีการ

10.1.1 ตรวจใบงาน

10.1.2 ตรวจผลงาน

10.1.3 ประเมินตนเอง

10.2 เครื่องมือ

10.2.1 แบบประเมินใบงาน

10.2.2 แบบประเมินผลงาน

10.2.3 แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์

10.3 เกณฑ์การประเมิน

10.3.1 ตรวจใบงาน ผ่านเกณฑ์ระดับ ดี ขึ้นไป

10.3.2 ตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ระดับ ดี ขึ้นไป

10.3.3 ประเมินตนเอง ผ่านเกณฑ์ระดับ ดี ขึ้นไป

­

แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้