การบริหารแบบพึ่งตนเองเพื่อความยั่งยืนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก

­

­

เครื่องแต่งกายที่นักเรียนสวมใส่ คนหนึ่ง:ปี มีหลายชุด เช่น ชุดนักเรียน ชุดนอน เสื้อคอโปโล สำหรับสวมใส่สำรอง ชุดลูกเสือ เนตรนารี ชุดวอร์ม ชุดกีฬา ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน รองเท้า ถุงเท้า ต้องซื้อให้กับนักเรียนทุกคนทุกปี โดย สพฐ. จัดสรรงบประมาณให้ปีละ 1,200 บาทต่อคน นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก ปีการศึกษา 2555 มีจำนวน 1,037 คน หากซื้อจากท้องตลาด คิดว่าจะเป็นเงินเท่าใด ถ้าเราน้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ ต้องบอกว่ากับตัวเราว่า ต้องไม่ต้องซื้อ ทั้งๆที่สถานศึกษาของเรา มีจักรเย็บผ้า มีครู มีนักเรียน ทำไมไม่พึ่งตนเองเพื่อความยั่งยืน คิดแล้วต้องปฏิบัติ เรียนไปรู้ไป ดังนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการ

­

1.กระบวนการคิด

1.1 มีครูที่มีจิตสาธารณะ แต่ครูยังไม่ชำนาญการด้านตัดเย็บเสื้อผ้า

1.2 เรามีแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึก คือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตาก

1.3 ครูและนักเรียนเรียนรู้พร้อมๆ กันจะดีที่สุด

1.4 จักรเย็บเสื้อผ้ามีแต่เป็นแบบธรรมดา เหมาะสำหรับฝึกตัดเย็บเบื้องต้น จำเป็นต้องหาจักรอุตสาหกรรมเพิ่มเติม

1.5 วัตถุดิบ คือ ด้าย ผ้า จำเป็นต้องซื้อจากท้องตลาด

­

2.สู่กระบวนการปฏิบัติ

2.1 ประสานงานกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตาก ขอวิทยากรมาฝึกในโรงเรียน

2.2 ฝึกออกแบบบนแผ่นกระดาษ ฝึกตัด ฝึกเย็บ

2.3 ตั้งเป็นกลุ่ม กลุ่มกิจกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า

2.4 กู้ยืมเงินจาก สอร. ซึ่งกรมสามัญศึกษาจัดสรรให้โรงเรียนละ 70,000 บาท สมัย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นอธิบดี

2.5 โรงเรียนซื้อเสื้อผ้า จากกลุ่มกิจกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าในราคาท้องตลาด

­

3. ความสำเร็จ

3.1 ครูและนักเรียนสามารถตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนักเรียนได้ ซึ่งดำเนินการสำเร็จมาแล้ว 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2550)

3.2 นักเรียนมีรายได้ มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกัน

3.3 นักเรียนได้รับการพัฒนาฝีมือโดยนำไปทดสอบฝีมือกับสถาบันฝีมือแรงงานจังหวัดตากและผ่านการทดสอบได้รับประกาศนียบัตรฝีมือแรงงาน นี่แหละการพึ่งตนเองแบบยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตากน้อมนำมาเป็นนโยบายของโรงเรียน

3.4 มีเงินกิจกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า 350,000 บาท เกื้อกูลให้กิจกรรมอื่นๆ เพื่อพัฒนาต่อยอด เช่น สร้างห้องผลิตสินค้า 1 ห้อง ชุดกาแฟร้านค้า พร้อมโต๊ะ เก้าอี้ และซื้อจักรเย็บผ้าเพิ่มเติม

­

ผอ.สมศักดิ์ แสงประเสริฐ