รับชมวิดีทัศน์กิจกรรมสานพลังเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน :
ความเชี่ยวชาญ/เทคนิคเด่นในการสร้างการเรียนรู้ผ่าน PBL :
- สามารถเชื่อมโยง ผู้เชี่ยวชาญประเด็นสำคัญมาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เยาวชนและพี่เลี้ยงได้
- มีความรู้และความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ สามารถให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับเยาวชนได้
- มีทักษะในการสื่อสาร สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ชุมชน สังคมวัฒนธรรม และเยาวชนในพื้นที่สู่สาธารณะได้ความโดดเด่น
- สามารถเชื่อมโยง ผู้เชี่ยวชาญประเด็นสำคัญมาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เยาวชนและพี่เลี้ยงได้
- มีความรู้และความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ สามารถให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับเยาวชนได้
- มีทักษะในการสื่อสาร สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ชุมชน สังคมวัฒนธรรม และเยาวชนในพื้นที่สู่สาธารณะได้
ประสบการณ์การทำงานด้านการพัฒนา :
พระสมคิด จารณธมฺโม เริ่มทำงาน พ.ศ. 2526 หลังจากเรียนจบนักธรรมชั้นเอก โดยเป็นครูสอนหนังสือนักศึกษาและนักธรรมชั้นโท ซึ่งเป็นหลักสูตรพระปริยัติธรรม สอนอยู่ 2 ปี หลังจากนั้นก็เข้ารับการอบรมหลักสูตรการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตทั้งสามัญและพระธรรมทูตพื้นที่สูงและเป็นพระนักเผยแผ่ธรรมให้กับเยาวชนในสถานศึกษาโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่บนพื้นที่สูงได้มีโอกาสได้เข้าถึงพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากนั้นสนใจงานด้านการพัฒนาจึงได้ไปศึกษาดูงานการพัฒนาที่มีอยู่ในประเทศหลายรูปแบบ เช่น การออมทรัพย์ของชุมชนภาคใต้ ภาคตะวันออกการรวมกลุ่มของผู้นำผู้รู้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนภาคเหนือ ซึ่งประสบการณ์จากการศึกษาดูงานเป็นสาเหตุให้เก็บมาคิดและวางแผนงานประยุกต์ธรรมนำการพัฒนาโดยการฟื้นฟูชุมชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจาก การตัดไม้ทำลายป่า ความแห้งแล้ง ความยากจน ที่เป็นวัฎจักร ที่ไม่รู้จักจบสิ้น จึงได้เริ่มจัดกิจกรรมที่เป็นแนวทางของการแก้ไขปัญหาคือการอนุรักษ์ป่าไม้ให้เป็นป่าชุมชน จัดการโดยชุมชน โดยนำพิธีกรรมและความเชื่อของชุมชนมาใช้เป็นกุศโลบายในการดำเนินกิจกรรมโดยนำพิธีทางด้านศาสนามาใช้คือการ “บวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ” เพราะคนโบราณมีความเชื่อว่าป่า คือต้นตอบ่อเกิดของวิถีวัฒนธรรมชุมชน การฟื้นฟูป่าคือการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับมนุษย์ด้านปัจจัย 4 อย่างสมดุลย์ นอกจากการพัฒนาที่จะยั่งยืนได้ จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และเข้าใจพื้นฐานวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งจึงได้จัดกลุ่มกิจกรรมดังนี้
- ส่งเสริมอาชีพในชุมชน ได้จัดให้มีแปลงเรียนรู้ด้านการพึ่งตนเองโดยผ่านการทำการเกษตรแบบสมผสาน ปัจจุบันสามารถขยายเครือข่ายเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 60 แห่งและมีการมาศึกษาดูงานของเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ เป็นประจำทั้งภาครัฐ ฯ และเอกชน
- ส่งเสริมด้านหัตถกรรมเช่น การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 60 คน มีหมู่บ้านเครือข่าย 8 หมู่บ้าน มีกองทุนสวัสดิการของกลุ่มอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- การจักรสาน มีการนำไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติมาให้ชาวบ้านจักรสานเช่ ตะกร้า เข่งใสผลไม้ ภาชนะใส่อาหาร การถักไม้กวดดอกก๋ง เป็นต้น
- การตีเหล็ก มีการฟื้นฟูการตีเหล็กพื้นบ้านโดยการนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้จนก่อให้เกิดรายได้เป้นอย่างดี
- การฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสมุนไพร จนสามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนหันมาดื่มน้ำสมุนไพรแทนการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลส์
- การจัดตั้งกลุ่มเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- การจัดตั้งกลุ่มศิลปินพื้นบ้านเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น
- ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรมหาวิทยาลัยชีวิต โดยความร่วมมือกับสถาบันวิสาหกิจชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวน 52 คน เรียนสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระดับปริญญาตรี
- ได้ประสานงานกับทางมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงมาเปิดพื้นที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเลิกปลูกพืชเชิงเดี่ยวหันมาปลูกพืชแบผสมผสานและสร้างระบบน้ำให้เพียงพอกับการเกษตร
พระครูสุจิณนันทกิจ : ความยั่งยืนในชีวิตที่เกิดขึ้น สังคมมีส่วนช่วยให้องค์ความรู้มีความงอกงามของตนเอง |