อรสินี นิกรเถื่อน
นักเรียน
ประวัติและผลงาน

"เล่าขานพลังการเรียนรู้…ประเด็นการจัดการทรัพยากร น้ำ ป่า”
งานหกรรมพลังเยาวชนพลังสร้างสรรค์เครือข่ายละอ่อนน่านฮักบ้านเกิดปี 3
ในวันที่ 27 มกราคม 2561 ณ วัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง

­

­

         สวัสดีเจ้า หนูชื่อนางสาวอรสิณี นิกรเถื่อน ชื่อเล่นแป้งเจ้า จะขอพูดเรื่องทรัพยากร ในพื้นที่จังหวัดน่าน

         จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นภูเขาร้อยละ 87.2 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีที่ราบร้อยละ 12.8 ของพื้นที่ สถานการณ์ด้านทรัพยากรป่าไม้ของจังหวัดน่านล่าสุดในปี 2556 พบว่า จังหวัดน่านมีพื้นที่ป่าไม้ 7,036,280 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 57.32 ของพื้นที่ทั้งหมด สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ มีแนวโน้มลดลง

         โดยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีข้อจำกัดของพื้นที่ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่สัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรที่มากขึ้น นโยบายการพัฒนาประเทศที่เกิดขึ้นที่มุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการถั่งโถมเข้ามาของระบบทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีจำนวนมาก ล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ การบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำของจังหวัดน่านเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน ทั้งจากปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วมีผลกระทบต่อคนเมืองน่านทั้งสิ้น ดังนั้น พวกหนูแต่ละโครงการ จึงได้รวมตัวกันจัดทำโครงการนี้ เพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่คู่กับชุมชนเละเมืองน่านต่อไป เพราะพวกหนูคือ เด็กในวันนี้และจะเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า และจะต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองน่านในอนาคต จุดเริ่มต้นของกระบวนการทำงานของพวกหนูคือ การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง โดยเริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ ทั้งในเรื่องของชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติ สถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา โดยมีผู้นำชุมชน คนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องการให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา รวมถึงการสำรวจพื้นที่ ทั้งผืนป่า แหล่งน้ำ ฐานทรัพยากรอื่น ๆ

          ซึ่งการก้าวเดินและเรียนรู้ไปด้วยกัน ได้ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาหน้าหมู่หรือปัญหาร่วมของคนในชุมชน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่คนในชุมชนจะต้องเข้ามาช่วยกันหาแนวทางแก้ไขด้วยตัวของชุมชนเอง “เหมือนคำกล่าวที่ว่า เกาถูกที่คัน จึงจะหายคัน” จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลแล้ว จึงนำไปสู่การพูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชน ทั้งในส่วนของสถานการณ์ ผลกระทบ เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งในเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า แหล่งน้ำ ตลอดจนการพัฒนาทางด้านจิตใจของคนในชุมชน ที่จะช่วยกันสร้างควาตระหนักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เพราะถ้าป่าสมบูรณ์แล้ว ป่าก็ยังจะให้น้ำแก่เราด้วย และถ้าเรายังช่วยกันอนุรักษ์ป่า น้ำแล้ว เราก็จะมีน้ำใช้ตลอดปี และไม่ขาดแคลนน้ำอีกต่อไป

         ผลลัพธ์และบทเรียนที่ได้จากการทำโครงการในครั้งนี้ คือ ทำให้พวกหนูและเพื่อนๆ ได้เรียนรู้อะไรมากมาย เช่น ได้เรียนรู้ในการทำงานเป็นทีม การคิด การวางแผนก่อนการทำงาน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การยอมรับความเห็นต่าง จนทำให้ตัวของพวกหนูเป็นคนกล้าคิดกล้าทำและกล้าพูดมากขึ้นค่ะ และเหนือสิ่งอื่นใด การทำโครงการครั้งนี้ ได้ช่วยให้พวกหนูเห็นความสำคัญของความเป็นรากเหง้าของชุมชน เห็นคุณค่าของฐานทรัพยากรและเห็นก่อให้เกิดสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด และสำหรับสุดท้ายนี้นะค่ะ หนูก็อยากจะฝากข้อคิดให้ทุกคน คือ ถ้าเรารักษาป่า...ป่าก็จะรักษาเรา...


รายละเอียดกิจกรรมได้ที่ : มหกรรมพลังเยาวชน "พลังสร้างสรรค์ละอ่อนน่าน ฮักบ้านเกิดปี 3"

­