คุณพรทิพย์ ชูโต
ครู โรงเรียนโยธินบูรณะ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน

ครู พรทิพย์ยกตัวอย่างการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการสอนเรื่อง อาหารดัดแปลงของนักเรียน ม.4 โดยให้นักเรียนทำโครงงานเป็นกลุ่ม มีการสืบค้นข้อมูลความรู้ และการลงมือปฏิบัติ
 

โครงงานอาหารดัดแปลง


การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


  • กำหนด ให้ใช้อาหารที่เหลือทิ้งค้างอยู่ในตู้เย็นที่บ้าน มาปรุงเป็นอาหารจานใหม่ และเมื่อเสร็จภารกิจแล้วต้องล้างเก็บทำความสะอาดอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  • สมาชิกในกลุ่มต้องไปทำอาหารกันที่บ้านของเพื่อนคนใดคนหนึ่ง
  • ให้ ผู้ปกครองสังเกตการณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารของนักเรียน หากกลุ่มใดไม่มีผู้ปกครองเข้ามาร่วมกิจกรรมจะถูกหักคะแนน 10 คะแนน

การ ออกแบบกิจกรรมให้มีเงื่อนไขอย่างนี้ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนต้องเข้าครัวไปทำอาหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยฝึกให้รู้จักประหยัด รู้จักใช้ของที่เหลือหรือมีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด


“การ ออกแบบให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการกำหนดให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม มีการสืบค้นข้อมูลความรู้และการลงมือปฏิบัติ พร้อมวางกติกาไว้ว่าหากกลุ่มใดไม่มีผู้ปกครอง (แม่) เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย กลุ่มนั้นจะถูกหักคะแนน 10 คะแนน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เมื่อแบ่งกลุ่มแล้วจะให้แต่ละคนไปถามสูตรจากแม่ว่าอาหารเหลือ (ยังไม่ได้ทาน) ที่บ้าน ผัก เครื่องปรุง ส่วนประกอบการทำอาหารต่างๆ ที่มีอยู่คู่ครัวหรือถูกปล่อยทิ้งแออัดไว้ในตู้เย็นนั้น สามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารดัดแปลงอะไรได้บ้าง ซึ่งเด็กๆ ช่วยกันคิดเมนูใหม่ๆ มานำเสนอมากมาย หลังจากนั้นให้นักเรียนเลือก 1 เมนูแล้วไปทำจริงโดยใช้ครัวของบ้านเพื่อนคนใดคนหนึ่งในกลุ่ม โดยมีคุณแม่ดูแลอยู่ด้วย ให้สังเกตการณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารของนักเรียน ซึ่งการไปใช้ครัวที่บ้านเพื่อนนักเรียนจะต้องมีมารยาทในการใช้สิ่งของ เครื่องครัวและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างระมัดระวัง เมื่อใช้เสร็จต้องล้างเก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อย และที่สำคัญต้องมีสัมมาคารวะเคารพพ่อแม่ผู้ปกครองของเพื่อนซึ่งจะเข้ามาคอย ดูแลเวลานักเรียนทำกิจกรรม


เงื่อนไข เหล่านี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ได้เข้าครัว รู้จักการทำอาหาร และเป็นความรู้ติดตัว อย่างน้อยก็สามารถทำอาหารกินเองได้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกเด็กให้รู้จักประหยัด รู้จักใช้ของที่เหลือหรือมีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะพ่อแม่สมัยนี้ไม่ค่อยมีเวลาทำอาหารรับประทานเอง ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปรับประทาน ซึ่งการเรียนรู้เรื่องอาหารดัดแปลงนั้น เด็กๆ ต้องเรียนรู้ตั้งแต่วิธีการเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทาน(ยังไม่ได้ กิน/อยู่ในสภาพดี) ที่ถูกต้อง หลักการประกอบอาหารดัดแปลง โดยครูจะให้ความรู้เด็กในเรื่องการประกอบอาหารก่อน อาทิ มีแบบฝึกหัดว่าข้าวสวยเหลือต้องทำอย่างไร ปลาทูทอดหากเหลือสามารถนำไปทำน้ำพริกได้ ฝึกให้เด็กรู้จักคิด บางครั้งเด็กไม่รู้จักอาหารไทย ครูก็ให้เด็กทำเป็นตำราอาหารให้เด็กดู ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะนำมาทำเป็นตำราว่ามีอะไรบ้าง บางกลุ่มทำออกมาเป็นเล่มสวยงามมาก หรือบางกลุ่มคิดเมนูอาหารขึ้นมาเอง เช่น ผัดไทยแกงเขียวหวาน ฯลฯ


การ บูรณาการการเรียนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเป็นเรื่องในครอบครัวที่เราเห็นได้บ่อยๆ อยู่แล้ว เป็นงานในบ้านที่ต้องทำ พ่อแม่ไม่อยู่ก็สามารถทำกับข้าวกินเองได้ พึ่งตนเองได้ ถือเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งเด็กได้รับการปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่อยู่ในครอบครัวก็จะเป็นสิ่งที่ดี ที่สุด ซึ่งขณะนี้โรงเรียนพยายามจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวให้ มากขึ้น เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่นในครอบครัว เพราะพ่อแม่หลายคนไม่มีเวลาดูแลลูก แต่อยากให้ลูกได้คะแนนเยอะๆ ก็มาช่วยลูกทำการบ้านบ้าง หรือทำอาหารร่วมกันบ้าง ด้วยเงื่อนไขเล็กน้อยเพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้”