คุณวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
ผู้อำนวยการ โรงเรียนโยธินบูรณะ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน



หลักคิด
 

นายวิทธยา  บริบูรณ์ทรัพย์  ผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ  กล่าว ถึงที่มาของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่สถานศึกษาว่า“หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นประโยชน์ต่อทุกคน ในคณะกรรมการวิชาการที่ประกอบด้วยฝ่ายบริหารและครูผู้สอนเห็นตรงกันและคุย กันเสมอว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของเด็ก จะสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างที่สังคมต้องการได้จริง และตระหนักว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นหลักที่นำมาใช้ได้ดีในการหล่อหลอมเด็ก ทั้งการคิด การกระทำ และวิธีการที่จะทำให้เด็กสามารถซึมซับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปอยู่ใน วิธีคิด วิธีปฏิบัติโดยอัตโนมัติ คือให้เด็กทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จึงจะเกิดผล โรงเรียนจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาฯ มาสู่โรงเรียนเพื่อให้เด็กและครูได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติและพัฒนาเรื่อยมา รวมทั้งนำมาเป็นหลักในการดำเนินงานของโรงเรียน โดยเริ่มจากให้ครูมีความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อน ให้ครูเห็นประโยชน์ เกิดความตระหนัก จากนั้นจึงขยายไปสู่นักเรียน ให้เด็กได้เรียนรู้ เมื่อเรียนรู้หลักปรัชญาก็ให้นำไปสู่หลักการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นในหลายภาคส่วนของโรงเรียนจึงพยายามเอาหลักนี้ไปใช้”
 

แนวทางในการปฏิบัติ
 

การบริหารงบประมาณ


ใน การบริหารงานและบริหารงบประมาณจะมีการใช้หลักความมีเหตุมีผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ในการเบิกจ่ายงบประมาณให้เหมาะสม และสมดุลกับแต่ละกลุ่มสาระ โดยดูจากภาระงานและความต้องการของแต่ละกลุ่มสาระว่าเป็นอย่างไร


ทุกกลุ่ม สาระจะต้องนำเสนอความต้องการในการใช้งบประมาณ และแสดงให้เห็นว่ามีโครงการอะไรบ้าง เมื่อได้ภาพรวมของงานทั้งหมดแล้วจึงพิจารณาว่าจะจัดสรรงบประมาณอย่างไรจึงจะ เหมาะสมที่สุด หลักในการพิจารณาต้องคำนึงถึงหลักเหตุผล ความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ

  

 การบริหารจัดการอาคารสถานที่
 

เนื่อง จากโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีครูกว่า 200 คน มีนักเรียนกว่า 3,700 คน และตั้งอยู่บนพื้นที่ 9 ไร่ 3 งาน จึงเป็นข้อจำกัดในการที่จะจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพราะ สถานที่ไม่เอื้ออำนวย


ใน การจัดห้องเรียนของโรงเรียนนั้นจึงจัดแบบห้องประจำ และใช้วิธีให้นักเรียนได้ออกไปเรียนรู้นอกห้องในบริเวณใกล้เคียงบ้าง อาทิ ไปเรียนรู้ที่วัด ห้องสมุดประชาชน สวนสาธารณะ และไปทัศนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริงในจังหวัดใกล้เคียง เช่น อยุธยา สุพรรณบุรี เป็นต้น


ใน การจัดโรงอาหารให้เพียงพอต่อการใช้งาน ได้จัดให้มีการพักเที่ยง 3 รอบ โดยแบ่งนักเรียนพัก 3 รอบ คือ ม.1 ­- 2 พักเวลา 11.30 น. ม.3 - 4 พักเวลา 12.30 น. และม.5 - 6 พักเวลา 13.30 น. ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การจัดตารางเรียนของทุกระดับชั้นต้องมีความ สัมพันธ์กับเวลาพักที่จัดไว้
 

การจัดการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ
 

สร้างความเข้าใจให้ครู
 

โรงเรียน ได้น้อมนำหลักปรัชญาฯ มาสู่โรงเรียนเพื่อให้เด็กและครูได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติ และพัฒนาเรื่อยมา รวมทั้งนำมาเป็นหลักในการดำเนินงานของโรงเรียน โดยเริ่มจากให้ครูมีความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อน เพื่อสร้างให้ครูเห็นประโยชน์ เกิดความตระหนัก จากนั้นจึงค่อยขยายผลไปสู่ผู้เรียน


วิธี สร้างครูเริ่มจากการจัดอบรม ให้ความรู้ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำความเข้าใจให้ครูรับทราบทั้งโรงเรียนก่อนว่าจะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ และจัดกิจกรรมให้ครูปฏิบัติด้วย เช่น การรณรงค์หน้าเสาธง มีกิจกรรมให้ครูทำเป็นแบบอย่าง เช่น เรื่องการออม การนำหลักคิดมาใช้ในการทำงาน ในการสอน จากนั้นจึงจัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อเปิดเวทีชี้แจงปัญหา อุปสรรค และการช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไขส่วนที่บกพร่องต่างๆ ให้ครูสามารถทำงานได้อย่างไร้กังวล รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดความสำเร็จที่มีอยู่แล้วด้วย