คุณธิดา บุตรดี
ครู
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน

ครูธิดา  บุตรดี 

สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6

โรงเรียนสัตยาไส อ.ไชยบาดาล จ.ลพบุรี


ครูธิดา บุตรดี มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาบูรณาการ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องของการหาพื้นที่ สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผืนผ้า


กระบวนการ คือ

1. ให้นักเรียนตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยม และตัดเป็นจิ๊กซอร์ 

2. แบ่งกลุ่มเด็กนักเรียนเป็นกลุ่ม

3. แจกจิ๊กซอร์  ให้เด็กจะช่วยกันต่อจิ๊กซอร์ 

4. ถ้าต่อผิดเด็กจะมีการจะแก้ปัญหาด้สยตัวของเด็กเอง

5. เสร็จแล้วก็วัดรูปจิ๊กซอร์ที่ต่อ  ทั้งความกว้างและความยาว  นอกจากนี้ยังหาพื้นที่  สี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าผืน

6. กิจกรรมเป็นการเรียนการสอน โดยให้เด็กนักเรียน เรียนร่วมกันระหว่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ผลที่เกิดขึ้น

1. เด็กเกิดการทดลอง ผิดถูก  เกิดความคิด ว่าทำอย่างไรให้การต่อจิ๊กซอร์ถูกต้อง

2. เด็กเกิดการเรียนรู้ ความรู้ และการแก้ปัญหา  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  

3. สร้างความเพลิดเพลิน สนุกสนาน โดยทำการทดลองไปในตัว


ปัญหาและอุปสรรค

ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เด็กส่วนมากจะเบื่อวิชาคณิตศาสตร์ ง่วง


การแก้ไขปัญหา


ด้วยความคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนวิชาคณิตศาสตร์  การแก้ไขปัญหาเด็กเบื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูจึงพาเด็กออกนอกสถานที่ไปทำกิจกรรมที่ค่ายเพชรรัตน์  แบ่งเด็กเป็นกลุ่มตามระดับชั้น วิธีการ คือ เป่านกหวีด  ให้ทำเป็นรูปวงกลม  เด็กวิ่งจัดกลุ่มเป็นรูปวงกลม ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยใช้วิชาศิลปะกับคณิตศาสตร์  เช่น รูปวงกลมทำเป็นศิลปะได้อย่างไรให้สวยงาม  เด็กจะประดิษฐ์ตัดรูปวงกลมเล็กๆ และใช้ตัวหนีบกับกระดาษสี  ทำเป็นรูปกระต่าย เป็นต้น


นอกจากนี้  กิจกรรมดังกล่าวยังให้เด็กออกนอกพื้นที่  โดยการสำรวจต้นไม้  ว่าต้นไม้มีความสูงเท่าไหร่  เด็กจะใช้เรื่องความคล้าย เรื่องของทฤษฎีปีทากอรัสสามเหลี่ยมมุมฉาก ให้เด็กยืนเป็นรูปและวัดระยะจากต้นไม้ถึงเด็ก  แล้ววัดหาความสูง โดยใช้มุมให้สมนัยทั้งสามมุม หรือเด็กอาจใช้วิธีการคาดคะเน โยงเป็นสามเหลี่ยมขึ้นมา หาพื้นที่จากสิ่งรอบ ๆ ตัว เช่น  หน้าต่าง ประตู  มีความกว้างสูง  เท่าไหร่  เด็กจะใช้สายวัด  หาพื้นที่จริง เด็กจะได้ประสบการณ์โดยตรง


ทั้งนี้ ครูธิดา บุตรดี มักจัดจัดหลาย ๆ กิจกรรม สอดแทรกกิจกรรมให้มีสนุกสนาน เพลิดเพลิน เล่นเกมส์ แบ่งกลุ่มให้ไปนำเสนอ เกิดการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียน และมีความเข้าใจร่วมกัน

­