นางสาวดวงนภา พันธ์หนอย
นักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักเรียนแกนนำ ใน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ประวัติและผลงาน

โครงงานกีฏะบ่ย่างกาย (กระถางไล่แมลง)



นางสาวดวงนภา พันธ์หนอย นักเรียนชั้น ม.4 /1 (เมื่อปีการศึกษา2552) เล่าถึงที่มาของโครงงานว่า เป้าหมายในการทำโครงงานเริ่มต้นที่อยากทำกระถางต้นไม้ก่อน เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันนี้ถุงเพาะชำส่วนใหญ่จะเป็นถุงดำพลาสติกซึ่งย่อย สลายยาก เพราะเมื่อนำพืชลงดิน ถุงดำจะกลายเป็นขยะทันทีและต้องใช้เวลาย่อยสลายหลายร้อยปี จึงคิดทำกระถางชีวภาพขึ้น โดยให้มีคุณสมบัติสามารถไล่แมลงได้ด้วย สอดคล้องกับหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงคือ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด


จาก นั้นจึงได้ใช้เงื่อนไขความรู้ ด้วยการนำความรู้ภูมิปัญญาเรื่องสมุนไพรไล่แมลง โดยใช้ตะไคร้และสะเดาเพื่อเป็นสารไล่แมลง จากความรู้เบื้องต้น จึงนำมาทดสอบว่าระหว่างตะไคร้และสะเดา สมุนไพรชนิดไหนมีความสามารถไล่แมลงได้จริง และชนิดไหนสามารถไล่แมลงได้ดีกว่ากัน เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมของกระถางชีวภาพนำมาเพาะชำกล้าไม้



วิธี การคือ นำเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้ว มาผสมกับเยื่อธรรมชาติ ได้แก่ เยื่อของสะเดาและตะไคร้ ร่วมกับแป้งเปียก แล้วมาขึ้นรูปเป็นกระถาง ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาทดลองในกล่องพลาสติกขนาด 6 นิ้ว โดยตั้งกล่องไว้แล้วเอากระถางใส่เข้าไป จากนั้นเฝ้าสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของมด ภายใน 24 ชั่วโมง จากการทดลอง 2 ครั้ง ปรากฏว่ากระถางที่มีส่วนผสมของสะเดา มดไม่กล้าเข้าใกล้ในระยะรัศมีที่ไกลกว่า



กระถาง ที่มีส่วนผสมของตะไคร้ คุณสมบัติของกระถางต้นไม้ไล่แมลงนี้ เมื่อนำไปใช้สามารถรดน้ำได้ปกติ หลังการรดน้ำกระถางจะเปียกแต่ทิ้งไว้สักระยะ จะแห้งตามเดิมที่สำคัญกระถางนี้ฝังลงดินสามารถย่อยสลายให้หมดไปได้ภายใน 45 วัน


“โครง งานนี้หากมีโอกาสทำอีกครั้ง คิดว่าจะต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้ หรือทำใช้เองในบ้านแทนถุงเพาะชำ จะสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ ลดขยะและไม่ก่อให้เกิดโลกร้อนไปในตัว มีต้นทุนในการทำที่น้อยมาก เพราะตะไคร้และสะเดาก็เก็บมาจากบ้านเพื่อน แป้งเปียกก็กวนกันเอง ใช้วัสดุทุกอย่างอย่างพอเพียงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผลเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับการทำงานของกลุ่มโดยการหาความรู้ก่อนทำ นำความรู้ภูมิปัญญาที่ผ่านการพิสูจน์แล้วมาพิสูจน์ซ้ำ และระหว่างการทำงานทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบหน้าที่ร่วมกันไม่เอาเปรียบกัน”