นางสาววรรณวิมล ขาวบริสุทธิ์
นักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักเรียนแกนนำ ใน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ประวัติและผลงาน

 


นางสาววรรณวิมล ขาวบริสุทธิ์ หนึ่ง ในแกนนำรุ่นปัจจุบัน (รุ่น 2) ของชาวโมโย ทำหน้าที่อยู่ในฝ่ายสันทนาการ เกมที่คิด คือ เกมยกป้ายแฟนพันธุ์แท้ ซึ่งได้นำไปแสดงในงานมหกรรมพลังเยาวชนเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 โจทย์คือการสอนเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการใช้เกมที่เล่นได้ง่ายๆ และเล่นได้กับคนทุกวัย เธอจึงออกแบบเกมยกป้าย โดยยกป้ายที่เป็นภาพคำถามให้เลือก 6 หมวด แต่ละหมวดมี 6 ภาพ เมื่อยกป้ายขึ้นมาผู้เล่นต้องตอบภายใน 3 วินาทีว่าภาพที่เห็นนั้น “พอเพียง” หรือ “ไม่พอเพียง” โดยเล่นคู่กับใบประเมิน เมื่อเล่นเสร็จผู้เล่นก็จะสามารถประเมินตัวเองได้ว่ามีความพอเพียงหรือไม่


วรรณ วิมลกล่าวถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตว่านำไปใช้ได้ ทุกเรื่อง เหมือนเป็นห่วงโซ่ที่หมุนไปเรื่อยๆ เป็นวัฎจักร ทั้งความมีเหตุผล ความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม อย่างเช่น ในการทำโครงงานของตน เลือกที่จะทำเรื่องการนำกากถั่วเหลืองเหลือจากการทำน้ำเต้าหู้ที่แม่ค้าทิ้ง เพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์แล้ว แต่เธอเชื่อว่ากากอาหารตรงนี้ยังมีคุณประโยชน์สูงอยู่ มีทั้งโปรตีน มีคุณค่าทางอาหารต่าง ๆ จึงนำมาทดลองทำทอดมันกากถั่วเหลือง ซึ่งไม่เพียงช่วยลดขยะที่จะไปสร้างมลพิษแล้ว หากแม่ค้านำไปดัดแปลงก็จะมีกำไรเพิ่มขึ้นจากตรงนี้อีกทางหนึ่ง



เธอ นำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการบริหารเวลาเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย เช่น การทำโครงงานที่มีเวลาเตรียมตัวประมาณ 1 เดือน ที่ต้องมีการประชุมแบ่งงานกันในกลุ่มซึ่งมีประมาณ 10 คน ต้องแบ่งงานกันว่าใครรับผิดชอบทำส่วนไหน และจะใช้เวลาช่วงหยุดเสาร์-อาทิตย์ไหนทำ เพราะต้องใช้การทดลองคิดสูตรส่วนผสมต่างๆ และลองทำหลายครั้งกว่าจะสำเร็จ นอกจากนี้ยังต้องจัดลำดับความสำคัญของแต่ละวิชา และต้องมีเวลาทบทวนบทเรียนเสมอๆ หากไม่เข้าใจตรงไหนก็จะให้เพื่อนมาช่วยสอน เป็นต้น


การ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอยู่ในวิถีปฏิบัติ ส่งผลให้วรรณวิมลสามารถบริหารจัดการเวลาของตนเองได้อย่างเหมาะสม และทำให้ผลการเรียนดีทุกวิชา และเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข


 


สำหรับ แนวทางการขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนของ ชุมนุมโมโยในระยะต่อไป สมาชิกชุมนุมได้ร่วมกันคิดและปรึกษาครูปริศนา จนได้ข้อสรุปว่าจะพยายามขยายเครือข่ายแนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียงออกไป โดยไม่พยายามไปเปลี่ยนตัวตนของคนอื่น แต่ใช้การขายความเป็นตัวตนของโมโยออกไปยังเพื่อนที่อยู่ต่างชุมนุมให้มาร่วม กันทำกิจกรรมที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก