อาจารย์สุทธิศรี สมิตเวช
หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน

แรงบันดาลใจในการนำจิตอาสาสู่ห้องเรียน

โครงการ โรงพยาบาลมีสุข ที่มูลนิธิกระจกเงาเข้าไปเชื่อมโยงกับโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งจากครูและนักเรียน โดยนักเรียนให้ความสนใจออกไปปฏิบัติการ “สร้างความสุข” ให้กับผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลเด็กไม่น้อยกว่า 10 ครั้งในระยะเวลา 1 ปี ความต่อเนื่องดังกล่าว มีอาจารย์สุทธิศรี สมิตเวชหัวหน้างานพัฒนาผู้เรียน เป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลัง



อาจารย์ สุทธิศรี เล่าถึงประวัติชีวิต อันแสดงให้เห็นความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการทำงานจิตอาสาว่า ตัวเองใฝ่ฝันอยากเป็นครูตั้งแต่เด็ก เผอิญสอบเข้าเรียนคณะคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ ความหวังที่จะเป็นครูก็เปล่งประกายชัดเจนขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เป็นครูสมใจ เพราะหลังเรียนก็ไปสมัครเรียนปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อทันที่ ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นตัวจุดประกายเรื่องจิตอาสาขึ้นมา


            เนื่อง จากการเรียนปริญญาโทแตกต่างจากปริญญาตรี ได้มีโอกาสลงทำกิจกรรมไปตามบ้านเด็กๆหลายคน ตอนนั้นเรื่องเอดส์กำลังเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาก ก็เลยไปดูผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์และการรักษาพยาบาล เกิดความคิดขึ้นมาในใจว่า คนเราไม่ควรอยู่แค่จุดเล็กๆของตัวเอง แต่ควรออกไปช่วยสังคม เพราะยังมีอีกหลากหลายชีวิตที่รอความช่วยเหลือ ตรงกับหลักวิชาที่เรียนมาว่าสังคมสงเคราะห์เป็นเรื่องที่ช่วยเหลือผู้อื่น ให้ช่วยเหลือตัวเองได้



พอ สอบบรรจุเข้ามาเป็นครูได้ อาจารย์สุทธิศรี ก็เลยตั้งชุมนุมสังคมสงเคราะห์ขึ้นในปี 2542 โดยพูดคุยสร้างความสนใจกับเด็กนักเรียนและให้นักเรียนดำเนินการกันเอง จนบัดนี้ชุมชนจิตอาสาในชื่อของสังคมสงเคราะห์ ก็มีอายุประมาณ 10 ปีพอดี ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนถูกต่อยอดขึ้นไปตามลำดับ มีพัฒนาการทั้งความคิดและกิจกรรม



อาจารย์ สุทธิศรี จะให้นักเรียนเรียนรู้ถึงแนวคิดจิตอาสาที่ถูกต้องก่อนเลยว่า การที่จะช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่แค่การบริจาคเงินแล้วก็จบ ถึงแม้ว่าการให้เงินจะเป็นส่วนหนึ่งของจิตอาสาก็ตาม แต่จิตอาสาคือการให้ด้วยความรู้สึกอบอุ่นทั้งผู้ให้และผู้รับ การมีส่วนได้ช่วยเหลือกันอย่างน้อยๆคนให้ก็มีความสุขทางใจ อาจารย์ก็จะคุยกับนักเรียนก่อน ว่าถ้าการอยู่ในชุมชุมและต้องทำกิจกรรมจิตอาสาแบบนี้ เพื่อหวังใบประกาศนำไปสอบเข้ามหาวิทยาลัย สร้างตัวเองให้เลอเลิศในสังคม ไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง แต่ถ้านักเรียนไปทำจิตอาสาแล้วได้สิ่งดีๆ (ที่มากกว่าใบประกาศ) อย่างน้อยได้น้ำใจ ได้รอยยิ้มจากเด็กๆ หรือได้ความประทับใจ ได้รับการชื่นชม หรือแม้แต่ความพึงพอใจที่ได้ทำให้คนอื่นมีความสุข เป็นวิธีคิดแบบจิตอาสาอย่างแท้จริง



จิตอาสา กับเวลาในการบ่มเพาะ
อาจารย์ สุทธิศรี ยอมรับว่าตอนแรกตัวเองก็ไม่ได้มีจิตอาสาแบบนี้ แต่เมื่อมีโอกาสไปเรียน ไปเห็นผู้คน เห็นอีกชีวิตหนึ่ง ซึ่งปกติเราคงไม่เจอ ทำให้เราได้เรียนรู้ มันสอนให้รู้ว่ามีคนอีกมากมายที่อยู่ร่วมสังคมกับเรา ถ้าเรามัวแต่คิดว่าต้องทำเพื่อตัวเองให้พร้อมก่อน กว่าจะเรียนจบ กว่าจะได้ทำงาน กว่าจะมีครอบครัว กว่าจะมีรถ มีฐานะมั่นคง ก็ไม่ต้องช่วยคนอื่นกันพอดี แต่ถ้าตอนนี้เราช่วยได้โดยเริ่มต้นทำเล็กๆและค่อยๆขยับไปเรื่อยๆ โดยการปลูกฝังความคิดนี้ให้เด็กๆ ให้เขาไปขยายผลต่อกับเพื่อนๆ เหมือนเครือข่ายโยงใยไปเรื่อยๆ จิตอาสาก็จะกว้างขึ้นอย่าง น้อยนักเรียนเหล่านี้ก็จะถูกจุดประกายความคิดขึ้นมา ให้แนวทาง มีจุดยืนชีวิต ที่เขาจะต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาคนรอบข้าง พัฒนาประเทศ



โดย ทั่วไปแล้ว คนที่เป็นเด็กเรียนเค้าก็จะมองแค่วิชาการแค่ตัวเองและการแข่งขัน แต่พอมากับเข้าร่วมชุมนุม ทำให้เปลี่ยนจากการแข่งขันเป็นการแบ่งปัน กิจกรรมจิตอาสาที่ไปทำชื่อว่า “ปันใจรัก” หมายถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันความสุขแก่ผู้อื่น อาจารย์สุทธิศรีเล่าว่าเมื่อพานักเรียนออกไปทำจิตอาสานอกโรงเรียน เช่น กิจกรรมนันทนาการกับโรงเรียนที่ด้อยโอกาสกว่าโดยการแข่งขันกีฬาฟุตบอล นักเรียนสามเสนวิทยาลัยมีหลายประเภททั้งเด็กดี เรียนเก่ง และเด็กเก่งแต่ก็ค่อนข้างเกเร นักเรียนเหล่านี้มีอยู่หนหนึ่งไปทำกิจกรรมจิตอาสาด้วยการบริจาคอุปกรณ์กีฬา แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในจังหวัดปทุมธานี พอไปถึงชาวบ้านก็มารับตั้งแต่ปากซอยด้วยขบวนกลองยาว ทั้งตีกลอง ทั้งรำ จนนักเรียนเราบอกว่าไม่กล้าลงจากรถ เพราะตื้นตันใจมากกับการต้อนรับ ส่วนโรงเรียนที่รับน้ำใจจากสามเสนวิทยาลัยนอกจากดีใจมากที่ได้รับสิ่งของตรง กับความต้องการแล้ว ก็ภูมิใจที่เราไปร่วมทำกิจกรรมด้วย



จาก กิจกรรมแข่งขันกีฬาฟุตบอลร่วมกันครั้งนั้น ทีมปันใจรักสนุกสนานมาก เหมือนเป็นการจุดประกายให้เขา และพวกเขาเหล่านี้พอจบการศึกษาออกไปจากสามเสนวิทยาลัยแล้ว ก็ได้ไปเป็นผู้นำในสถาบันหรือในมหาวิทยาลัยที่ตนเองศึกษาต่อ ทำให้มีความรู้สึกประสบการณ์ที่ได้รับจากจิตอาสาตอนเป็นวัยรุ่นยังอยู่ในใจ และจะยังคงผลักดันให้เขาทำอย่างต่อเนื่องเมื่อมีโอกาส  เมื่องานวันครู (เดือนมกราคม 2553 ที่ผ่านมา) อาจารย์สุทธิศรีได้รับข้อความจากนักเรียนรุ่นที่ออกไปทำกิจกรรมจิตอาสาว่าขอ ขอบคุณอาจารย์มากที่ให้เขาเปิดอีกโลกหนึ่งที่ไม่เคยเจอ เป็นสิ่งที่ตัวเองได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ได้ทำบุญในรูปแบบที่ประทับใจ สิ่งที่ศิษย์เก่าสามเสนวิทยาลัยเขียนออกมานี้ ทำให้อาจารย์มีความรู้สึกว่าธรรมดานักเรียนเหล่านี้จะไม่พูดสะท้อนออกมาตรงๆ แต่สิ่งที่เขาเขียนออกมาก็แสดงว่าอย่างน้อยเขาก็เข้าใจว่าจิตอาสาที่ทำดีกับ ตัวเองอย่างไร มีผลต่อจิตใจเขาอย่างไร




ขยายสังคมแห่งการแบ่งปัน
จิต อาสาที่ทำให้นักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยเป็นไปจากโหมดของการแข่งขัน (ในเรื่องการเรียน) มาสู่การแบ่งปัน (เรียนรู้การทำงานร่วมกัน) นี้ อาจารย์สุทธิศรีเห็นว่าเรื่องของการแบ่งปันทุกคนมีแนวคิดนี้อยู่ในใจลึกๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถที่จะดึงออกมาได้แค่ไหน จิตอาสาของนักเรียนสามเสนวิทยาลัยเป็นจุดเล็กๆ แต่ก็พยายามกระจายขยายผลโดยการบอกต่อจากเพื่อนสู่เพื่อน จากพี่สู่น้อง และเปิดโอกาสให้พี่เลี้ยงจากมูลนิธิกระจกเงา เข้าจุดประกายในภาพรวมให้แก่เด็กในช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) แต่ในระดับอื่นๆก็จะให้รุ่นพี่ที่อยู่ชมรมจิตอาสาขึ้นไปพูดคุย ไปชักชวนมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือบางครั้งก็ประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย แม้นักเรียนทั้งหมดอาจจะไม่ได้ฟังแต่ก็มีนักเรียนบางส่วนที่ได้ยินและทราบ ข้อมูล การขยายผลอีกวิธีหนึ่งที่ทำคือนักเรียนเขียนบอกเล่าเรื่องราว ถ่ายทอดประสบการณ์ และความประทับใจของกิจกรรมจิตอาสาที่ไปทำ แล้วเผยแพร่ในหนังสือของโรงเรียน นอกจากนี้ก็มีการจัดบอร์ดให้นักเรียนในโรงเรียนรู้ว่าเพื่อนคนนี้ทำอะไรดีๆ มา



ตัวอย่าง กิจกรรมจิตอาสาที่ดำเนินการต่อเนื่องกันมาหลายรุ่นตามความสนใจของนักเรียน และประสบความสำเร็จ นักเรียนมีความภาคภูมิใจมาก คือเรื่องยาเสพติดที่นักเรียนรุ่นหนึ่งรวมตัวกันจัดทำเป็นโครงการรณรงค์ต่อ ต้านยาเสพติด ตั้งชื่อโครงการว่า “หนังไม่เสพ”เป็น การใช้สื่อภาพยนตร์สั้นมารณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เมื่อประมาณปี 2547-2548 เป็นการรวมตัวกันของนักเรียนทั้งระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายในช่วงเข้าค่าย ลูกเสือเนตรนารี โดยนักแสดงเป็นนักเรียนมัธยมต้น ดึงชุมนุมหนังสั้นของโรงเรียนสวนกุหลาบที่เก่งและมีประสบการณ์มากกว่ามาช่วย ในการตัดต่อ แม้ว่าจะมีโรงเรียนที่เก่งกว่าเราก็คือ เค้าจะมีชุมนุมหนังสั้นของเค้าแล้วก็ดึงมาช่วยในการตัดต่อ



ความ ภาคภูมิใจในผลงานภาพยนตร์สั้นคือ ตอนที่ทูลกระหม่อมฯ เสด็จมาในงานทูบีนัมเบอร์วันนักเรียนได้ทูลถวายหนังสั้น พระองค์ท่านรับไปก่อนที่จะกลายเป็นภาพยนตร์เรื่อง “หนึ่งใจเดียวกัน”นัก เรียนกลุ่มนี้ก็เผยแพร่ภาพยนตร์ผลงานและการทำงาน และโทษของยาเสพติดในอินเตอร์เน็ต กิจกรรมภาพยนตร์สั้นกับยาเสพติดนี้ เป็นตัวอย่างของจิตอาสาซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งความรู้และความบันเทิง เป็นการเอาวิชาการมาผสมผสานกับทักษะและความสนใจของนักเรียน เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มุ่งเน้นเนื้อหาและความสามารถ ทางวิชาการ

จิตอาสา พัฒนา เติมเต็มเด็กเรียน
ส่วน ของพฤติกรรมของการแสดงออกของนักเรียนที่ผ่านจิตอาสา อาจารย์สุทธิศรีเห็นว่าเริ่มที่จะช่วยคนอื่นล่ะ จากที่บางครั้งก่อนจะช่วยเหลือคนอื่น มักจะตั้งคำถามว่าทำไมเขาถึงต้องการจากเรา เปลี่ยนเป็นการไปเติมเต็มให้กับผู้อื่นโดยเขาไม่ได้ร้องขอ เป็นการบ่มเพาะเรื่องของจิตใจที่อยากจะช่วยคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ต้องหวังความชื่นชม เป็นการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมทางอ้อมของนักเรียน และมันก็จะติดเป็นนิสัยต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์คาดหวังจากการทำกิจกรรมจิตอาสา



การ เรียนรู้ทางอ้อมอีกประการที่สำคัญคือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนกับคนในระดับต่างๆ ทั้งที่อ่อนกว่า (เด็กๆในโรงพยาบาล) คนที่เสมอกัน (กลุ่มเพื่อน) และคนที่อาวุโสกว่า (หมอและพยาบาล) ผู้คนหลายแบบ หลายฐานะ หลายระดับที่นักเรียนพบเจอจากการทำจิตอาสานี้ เขาจะได้เรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีมมันต้องมีหลายคน และการไปเจอคนก็ต้องหลากหลายเหมือนกัน แม้แต่คนป่วยมันก็มีหลายเพศ ลักษณะอารมณ์ของคนป่วยก็มีหลากหลาย เราจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยหันมาสนใจ มานั่งเล่นเกมส์ มาเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการกับเราด้วย ซึ่งต้องมีความรู้และมีวิธีการ



จะ เห็นได้ว่าการไปทำกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาลครั้งแรกๆ นักเรียนจะทำอะไรไม่เป็นและมีอาการเกร็ง แต่หลังจากได้เริ่มต้นพูดคุยกับเด็กป่วยบ่อยครั้ง หลังๆก็จะเป็นธรรมชาติมากขึ้น และเด็กก็เชื่อฟัง ให้ทำอะไรก็ทำ (แต่ไม่ได้ใช้วิธีบังคับหรือสั่ง) ส่วนนักเรียนชั้นม.1 ที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยก็จะช่วยในสิ่งง่ายๆที่ตัวเองสามารถช่วยได้ เช่น เล่นเกมส์เศรษฐี เพราะวุฒิภาวะของตัวเองก็ยังเป็นเด็ก จึงสามารถทำกิจกรรมได้แค่บางอย่าง แต่ว่าเป็นนักเรียนรุ่นพี่ชั้นม.ปลาย ก็สามารถเป็นผู้นำเกมส์ ผู้นำกิจกรรมได้ (กิจกรรมที่นักเรียนแต่ละคนทำ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของวุติภาวะแต่ละระดับของตัวนักเรียนเอง)


การ ลงพื้นที่ทำกิจกรรมด้วยกัน แม้นักเรียนรุ่นน้องบางคนจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่อย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนโรงเรียนเดียวกัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง เช่น นักเรียนม.1 และม.6 ได้มารู้จักกันในชุมนุม เพราะนักเรียนแต่ละกลุ่ม แม้อยู่โรงเรียนเดียวกันก็ไม่ได้เจอกัน ยิ่งต่างห้อง ต่างชั้นเรียนกันด้วยแล้ว ยิ่งมีโอกาสเจอกันน้อย ชุมนุมจึงเป็นพื้นที่นำคนหลากหลายเข้ามาเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน (คือจิตอาสา) และรู้จักการทำงานเป็นทีม (เพราะกิจกรรมต้องไปทำเป็นกลุ่ม จึงมีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคนชัดเจนก่อนไป)


จิตอาสา...กับนักเรียนที่เปลี่ยนไป
นอก จากจิตอาสาจะสร้างระบบความสัมพันธ์ในโรงเรียนของนักเรียนแล้ว อาจารย์สุทธิศรียังเห็นว่าสิ่งที่น้องๆนักเรียนเปลี่ยนแปลงที่น่าพึงพอใจ ได้แก่“ระบบการคิด”จาก การได้อ่านข้อเขียนและการพฤติกรรมแสดงออกของนักเรียน แสดงให้เห็นเขาเข้าใจโลกมากขึ้น รู้ว่าทำไมเราต้องช่วยคน เราทำไปเพื่ออะไร และการทำกิจกรรมนักเรียนก็บอกตรงกันว่าไม่ได้หวังผลตอบแทน (ไม่ว่าจะเป็นคำชม เกียรติบัตร ฯลฯ) มีนักเรียนอยู่รุ่นหนึ่งที่อาจารย์พาไปทำกิจกรรมกับคนตาบอด นักเรียนจึงมีความคิดกิจกรรมและหาของไปให้น้องเต็มไปหมด แต่ปรากฏว่าพอไปถึง น้องซึ่งตาบอดเล่นเปียโนให้ฟัง นักเรียนก็ตกตะลึงว่าทำไมน้องทำได้ตัวเองเล่นได้แต่กีต้าร์ เปียโนยังเล่นไม่ได้เลย แล้วพวกเราจะทำกิจกรรมอะไรกับน้องๆต่อ อาจารย์จึงแนะนำให้ไปชื่นชมในความสามารถและความพยายามของเขาแทน ให้น้องๆเล่าและนำเสนอให้ฟังว่าไปเรียนมาอย่างไร ฝึกหัดอย่างไร นักเรียนได้ฝึกทักษะทางสังคมไปด้วย



กรณี เด็กที่พิการทางสายตา แต่สามารถทำอะไรได้มากกว่านักเรียนเสียอีกนี้ เป็นการพบกับกรณีเด่นที่กระทบความรู้สึกอย่างรุนแรง ที่มีส่วนที่กระตุ้นความคิดให้นักเรียนโดยอาศัยประสบการณ์ตรงว่า เรามีสภาพร่างกายดีกว่าเค้า เมื่อเรามีโอกาสก็ควรเลือกดำเนินชีวิต เลือกใช้ชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ที่เหมาะสม เช่น ตั้งใจเรียน วางแผนอนาคต (จะทำงานอะไรต่อไปในอนาคต) การทำจิตอาสาจึงเหมือนการมองย้อนกลับมามองตัวเองในกระจก ทำให้ได้ความคิดในอีกแม่มุมหนึ่งว่าเรามีชีวิตครบทุกอย่างแล้ว เราน่าจะทำอะไรให้ดีกับคนอื่นบ้าง ส่วนใดยังทำได้ไม่ดีพอ เช่นการเรียนในห้องเรียน สำหรับสิ่งที่เค้าทำดีอยู่แล้ว ก็จะได้คิดต่อว่าจะทำอะไรไปในอนาคตเพื่อคนอื่น คือมีความคิดดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตวัยรุ่นมากขึ้น



อาจารย์ สุทธิศรีก็พยายามกระตุ้นและชี้หันกลับมามองตัวเองด้วย เมื่อหันกลับมาดูพวกเรา ที่เอาตัวรอด ต้องเข่งขัน ต้องเป็นที่หนึ่ง ต้องมีเทคโนโลยีสร้างความสุขให้แก่ชีวิต แต่สิ่งที่ขาดไปคือคุณธรรม ถ้าคุณธรรมขาดหายไปในอนาคตหากโตขึ้นเป็นใหญ่ในสังคม จะทำให้สังคมขาดคุณธรรมด้วย  แต่จิตอาสาเช่นที่ทำมานี้ จะเป็นส่วนลึกเป็นของมโนธรรมในจิตใจ ผลักดันให้มองผู้เห็นคนอื่น ช่วยเหลือคนอื่น และช่วยในการดำเนินชีวิต นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดของความเป็นคนที่ได้รับจากจิตอาสา



ผู้ปกครองร่วมด้วยช่วยกัน
ผล จากกิจกรรมจิตอาสาในรูปแบบต่างๆที่พัฒนานักเรียนให้สามารถเติบโตทั้งในการ เรียนและการใช้ชีวิตนี้ ทำให้ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี เช่น กลุ่มนักเรียนที่แสดงภาพยนตร์สั้น พอจบชั้นม.3 ก็ไปเรียนต่อที่สถาบันการศึกษาอื่นที่มีชื่อเสียงหมดทุกคน ตัวอย่างของกลุ่มเด็กที่ไม่เก่งวิชาการ แต่สามารถที่จะรวมตัวกันมาทำกิจกรรมเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์แบบพี่น้อง นี้ เวลาได้รับเชิญให้ไปนำเสนอผลงานในที่ต่างๆ เราจะเห็นพลังในตัวที่ต้องเตรียมการนำเสนอจนดึกถึงเวลาตี 2 พ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ก็เข้ามาช่วย เหลือและมีส่วนร่วม เช่น ช่วยจัดบูท ช่วยแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์รวน ตามดูแลให้ข้าวให้น้ำ สร้างความประทับใจให้อาจารย์สุทธิศรีมาก ที่การเรียนรู้มีผู้ปกครองมาร่วมด้วยช่วยกัน



นัก เรียนที่นี้จะทำอะไรดีๆที่เป็นการพัฒนาตัวเอง ผู้ปกครองก็จะเห็นด้วยและสนับสนุนทั้งที่ได้รับการร้องขอและไม่ต้องร้องขอ อย่างเช่นเวลาโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าประกวดแข่งขันในระดับต่างๆ (ระดับภาคและระดับประเทศ) การแข่งขันนี้ อาจารย์สุทธิศรีคัดท้ายให้ความคิดนักเรียนที่ตั้งความหวังว่าจะต้องได้ รางวัลว่าไม่ต้องสนใจว่าได้ที่เท่าไรและผลการประกวดจะออกมาอย่างไร ขอให้เราทำให้ดีที่สุดและมีความสุขกับสิ่งที่ทำ การทำกิจกรรมเพื่อประกวดไม่ใช่แนวทางการเรียนรู้ที่ครูคาดหวัง รางวัลที่ได้คือสิ่งผลพลอยได้ แต่ของจริงสิ่งที่ได้คือความสุขจากการเรียนรู้ต่างหาก


ความสุขในการเรียนรู้ของครูและศิษย์
นัก เรียนเมื่อได้ทำจิตอาสาอย่างน้อยก็มีความสุขที่ได้อยู่กับเพื่อน และมีความสุขที่ได้ทำความฝันโดยที่ครูจะไม่เข้าไปกำหนดว่าต้องทำภาพยนตร์ หรือต้องไปโรงพยาบาล แต่ละปีอาจจะไปทำกิจกรรมไม่เหมือนกัน นักเรียนอยากทำอะไรให้เสนอมา แล้วอาจารย์จะสนองได้ตามที่ต้องการ แต่อาจารย์ก็จะคอยควบคุม รวมทั้งหน่วยงานต่างๆก็ร้องขอเข้ามา ทางโรงเรียนก็จะช่วยเท่าที่ช่วยได้ ตัวอย่างความสุขของนักเรียนเวลาไปสัมผัสและช่วยเหลือผู้คนนี้ ที่ผ่านมามีอยู่ครั้งหนึ่งไปบ้านพักคนชรา กิจกรรมนี้อาจารย์ไม่คิดว่านักเรียนจะทำได้ เพราะต้องไปร้องรำทำเพลงกับคนแก่ ปรากฏตรงกันข้าม คนแก่มีความสุขมาก บางคนเรียกนักเรียนว่าลูก บางคนน้ำตาไหล นักเรียนก็เข้าไปกอดและให้กำลังใจ ความสุขเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักเรียนได้จากคนชรา



ส่วน ตัวอาจารย์แม้จะต้องดูแลและรับผิดชอบเยอะ แต่ก็มีความสุขเพราะรักที่จะทำ รักที่จะเห็นนักเรียนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาและดูแลนักเรียนไม่ได้เป็นงานหนักที่เราทำให้ลูกศิษย์ไม่ได้ ทั้งนี้อาจารย์มีหลักอยู่ว่าทำแล้วอย่าไปคิดอะไรมาก คิดหวังแค่ให้ศิษย์เป็นคนดีของสังคม สร้างสิ่งสวยงามให้เกิดกับประเทศชาติในอนาคต อาจารย์พยายามปลูกฝัง เน้นย้ำเรื่องจิตใจแก่นักเรียน เพราะเห็นว่าในอนาคตลูกศิษย์สามารถหาเงินทองได้ง่ายเพราะตัวเองเป็นคนเก่ง การเน้นเรื่องของคุณธรรมและจิตใจให้แก่เด็กนี้ เวลานักเรียนในชุมนุมกลับมาเจอหน้ากันและมีเรื่องราวดีๆมาเล่าขาน และระลึกนึกถึงความดีที่ครูเคยพาทำ แค่นี้อาจารย์ก็มีความสุขแล้ว



เหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จของจิตอาสา
อาจารย์ สุทธิศรีเห็นว่าเหตุปัจจัยความสำเร็จของการบ่มเพาะจิตอาสาที่สำคัญลำดับต้นๆ คือตัวเด็กเอง ให้เด็กข้ามพ้นความคิดปัจจุบันทำเพื่อให้ได้ผ่านกิจกรรม แต่ต้องพยายามกระตุ้นด้านในให้นักเรียนทำด้วยความรู้สึกที่อยากจะทำ สภาพแวดล้อมของจิตอาสาตอนนี้เหมือนเป็นความจำเป็นที่นักเรียนทุกคนทำหมด เพื่อให้ผ่านชั่วโมงตามที่กำหนด เหมือนจะเป็นมาเป็นการเรียน หรือจัดกิจกรรมเพื่อให้หมดชั่วโมงไป ซึ่งสามเสนวิทยาลัยพยายามไม่ให้เป็นแบบนั้น



กิจกรรม จิตอาสาในปัจจุบันของนักเรียนจะมี 3 แบบ กิจกรรมภาพรวมที่ทางโรงเรียนจัด เช่น วันทำความสะอาดโรงเรียน กิจกรรมที่ชุมชน/หน่วยงานต่างๆต้องการให้เด็กไปมีส่วนร่วม และกิจกรรมที่นักเรียนอยากทำเอง ซึ่งจิตอาสาที่เกิดจากความต้องการของนักเรียนเองนี้น่าเป็นเหตุปัจจัยทำให้ ประสบผลสำเร็จมากกว่า แม้ว่าช่วงแรกแรงจูงใจจะเป็นการสะสมชั่วโมงเพื่อเข้าแฟ้มผลงานและเป็นส่วน หนึ่งของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนหลายคนเข้ามาหาครูด้วยความอยากได้เกียรติบัตร แต่เมื่ออาจารย์พาไปลองทำก็จะยกระดับแรงจูงใจ ไม่ไปเพื่อเกียรติบัตร แต่จะไปเพราะต้องการไปด้วยใจจริงๆ นักเรียนกลุ่มนี้ก็จะเข้ามาแจ้งครูให้อำนวยความสะดวกให้ (เช่น จองรถโรงเรียน) หลังหลังๆพวกเขาก็ไปได้ด้วยตัวเอง


การ มีแรงจูงใจภายนอกมาเป็นตัวดึงดูดให้จิตอาสา แต่พอทำไปแล้วได้ไปสัมผัส เรียนรู้ และเปลี่ยนความคิด ทำแล้วความสุขมันอยู่ที่ใจ เป็นแรงจูงใจภายในที่เกิดขึ้น มีตัวอย่างนักเรียนชั้นม.1 ขนาดไม่สบายก็ยังอยากไปทำไม่อยากหยุด ไม่ว่าจะเป็นออกไปที่โรงพยาบาล หรือการไปพบปะเพื่อนนักเรียนต่างโรงเรียนที่ทำโครงการโรงพยาบาลมีสุขด้วยกัน เช่น น้องมายด์ (...................................) ตอนที่พี่ๆไปโรงพยาบาลตัวเองไม่สบายก็อยากไปด้วย แสดงให้เห็นถึงความชอบและผูกพัน มายด์บอกว่าไปเล่นกับน้องสนุกดี แม้ว่านักเรียนทุกคนก่อนไปโรงพยาบาลเด็กจะไม่รู้ว่าน้องๆป่วยมากขนาดไหน แต่พอไปแล้วก็จะรู้สึกชอบและอยากไปอีก เพียงเท่านี้อาจารย์สุทธิศรีก็พอใจแล้ว





แนวร่วมในโรงเรียน
เรื่อง การให้และจิตอาสาของโรงเรียนสามเสน มีแนวร่วมครูหลายคนที่สนับสนุนและดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะครูที่สอนวิชาสังคมศึกษา วิชาพระพุทธศาสนา แรกๆก็เหมือนกับภาระหน้าที่ๆต้องทำ แต่เวลาผ่านไปกลายเป็นความเคยชิน ขาดไม่ได้ เช่น การตักบาตรทุกวันพุธก็มีครูกลุ่มหนึ่งรับผิดชอบประจำ อีกอย่างกิจกรรมการให้ทางศาสนาเช่นนี้ทำไปก็ได้บุญ ได้ความสุขและเป็นรูปแบบที่คุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย อาจารย์หลายท่านในโรงเรียนก็จะมองเห็นว่าแนวทางจิตอาสาและการให้นี้น่าจะขัด เกลาเด็กได้ดีวิธีหนึ่งด้วย



ส่วน แนวแนวนโยบายของโรงเรียนก็เน้นเรื่องคุณธรรมเหมือนกัน เอาพื้นฐานคุณธรรมมาเป็นวิสัยทัศของโรงเรียนข้อหนึ่ง ด้านการเรียนการสอนแต่ละวิชาก็สามารถสอดแทรกเรื่องนี้ให้นักเรียนได้อย่าง เช่น วิชาฟิสิกส์อาจารย์ผู้สอนก็จะเอาคำธรรมมะมาสอดแทรกและการดำเนินชีวิตในเวลา เรียน แต่แนวทางปฏิบัติก็แล้วแต่วิธีการของอาจารย์แต่ละคน แต่วิชาที่เห็นว่าสามารถสอดแทรกเรื่องจิตอาสาและการให้ได้คือเรื่องเน้น คุณธรรมมากที่สุดก็จะเป็นสังคมศึกษา วิชาพระพุทธศาสนา ซึ่งมีกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรมให้นักเรียนชั้นม.1 และ ม.4 ให้นักเรียนไปอบรมปฏิบัติธรรมที่วัดเพื่อตระหนักว่าการกระทำความดีเป็นสิ่ง ที่ดี นี่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยนขึ้น

จิตอาสา “โรงพยาบาลมีสุข”




บ่มเพาะคุณธรรมจากประสบการณ์จริง
ส่วน โครงการโรงพยาบาลมีสุข เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านใน ที่ให้พบเจอกับความทุกข์ยากของคนจริงๆทำให้เขาเกิดความเห็นใจอ่อนโยนอยาก ช่วยเหลือจริงๆ และโดยธรรมชาติการเรียนรู้แล้ว การที่ไปเจอประสบการณ์จริงย่อมดีกว่า แต่การสร้างความสนใจให้กับนักเรียน จะต้องเป็นกลุ่มไม่ใหญ่มากนัก อย่างเช่นตอนที่พี่ๆจากมูลนิธิกระจกเงามาพูด ให้ความรู้ และชักชวนให้ทำจิตอาสา นักเรียนมาฟัง 500 คน นักเรียนบางคนก็มองว่าเป็นหน้าที่ต้องมาฟังเช่นเดียวกับครั้งอื่นๆมีวิทยากร ข้างนอกมาให้ความรู้ อย่างน้อยนักเรียนกลุ่มนี้ก็ได้รู้จักจิตอาสาและรู้จักองค์กรภายนอกอย่าง มูลนิธิกระจกเงา ในขณะที่นักเรียนบางคนสนใจ โดนใจ ถึงกับเข้ามาถามและสมัคร สะท้อนให้เห็นว่าความลึกซึ้งเข้าใจในเรื่องจิตอาสาของนักเรียนแต่ละคนไม่ เท่ากัน



ส่วน วิธีการพานักเรียนออกไปเจอสถานการณ์ จริงสัมผัสผู้ป่วยจริงนี้ กระทบและส่งผลต่อความรู้สึกของนักเรียนได้มากก และเป็นช่องทางที่จะปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมภายในตัวนักเรียนได้ดีวิธี หนึ่ง แต่มีข้อจำกัดคือเรื่องเวลา นักเรียนต้องมีเวลาให้ นักเรียนบางกลุ่ม บางโรงเรียนไม่มีเวลามาลงกิจกรรมจิตอาสา แต่สำหรับสามเสนวิทยาลัยโชคดีที่โรงเรียนจัดให้เป็นคาบสุดท้าย เราสามารถจะเอื้อให้นักเรียนออกไปทำกิจกรรมได้ และเป็นความโชคดีอีกอย่างหนึ่งคือโรงพยาบาลก็อยู่แถบนี้ไม่ต้องเดินทางไกล มาก ถึงแม้ไม่มีรถโรงเรียนรับส่ง นักเรียนก็นั่งแท็กซี่ไปกันเองได้ สรุปว่าโรงเรียนตั้งอยู่ในบริบทชุมชนที่เอื้อต่อการบ่มเพาะจิตอาสาทุกอย่าง ครูก็สนับสนุน ผู้บริหารก็สนับสนุน อย่างเช่นขอใช้รถโรงเรียนไปรับส่งนักเรียน ผู้บริหารก็ยินดีและบางครั้งผู้บริหารอย่างรองผู้อำนวยการก็ไปดูด้วยตนเอง



การสอดแทรกจิตอาสาในวิชาเรียน
ถึง แม้ว่าอาจารย์สุทธิศรีจะสอนวิชาแนะแนว และมีแนวทางในการสอดแทรกจิตอาสาในงานของตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็มองว่าสามารถเชื่อมโยงได้ทุกวิชา ถ้าครูผู้สอนเข้าใจ และมีใจที่จะทำ สามารถพูดให้เป็นเรื่องเดียวกันกับวิชาที่สอนได้



ส่วน วิชาแนะแนวจิตอาสานี้จะเข้ากันได้กับเรื่องทักษะชีวิต โดยอาจารย์สุทธิศรีเคยจัดการเรียนรู้โดยให้เด็กผู้ชายและหญิงนั่งคนละแถว หันหน้าเข้าหากัน แล้วลองคุยกันว่าผู้ชายมองผู้หญิงอย่างไร และผู้หญิงมองผู้ชายอย่างไร คนที่จะเป็นภรรยา/สามีในอนาคตเราอยากให้เป็นอย่างไร นักเรียนก็สนุกสนานหัวเราะชอบใจเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวใกล้ใจ การคุยแบบสุ่มจับคู่นี้ ทำให้นักเรียนรู้แต่ละฝ่ายมองกันและกันอย่างไร ผู้ชายมองผู้หญิงอย่างไรเวลานำเสนอก็ปล่อยให้แสดงออกเต็มที่ บางครั้งจะมีคำพูดแรงๆที่ผู้หญิงบางคนก็รับไม่ได้ แต่ก็เป็นการเปิดใจยอมรับความคิดกัน เสร็จแล้วก็จะประมวลให้นักเรียนเห็นว่าคาบนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไร และอะไรที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติตัวของวัยรุ่น ยุคของนักเรียนค่านิยม พฤติกรรม ฯลฯ ของวัยรุ่นเป็นแบบนี้ ส่วนยุคของครูเป็นแบบนี้ ตอนนี้สังคมกำลังโหยหาสิ่งดีๆในอดีต เรื่องความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกันและกัน ก็เป็นความดีที่เคยมีในสังคมอดีต แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถทำได้ง่ายในสังคมปัจจุบันเช่นกัน



มองโครงการโรงพยาบาลมีสุขอย่างไร
อาจารย์ สุทธิศรีเล่าให้ฟังว่ารู้จักมูลนิธิกระจกเงามานานและจำชื่อมูลนิธินี้ได้ดี เพราะครั้งหนึ่งเคยติดต่อประสานงานเรื่องการเรียนรู้ผ่านละคร แต่ได้รับการปฏิเสธ เมื่อประมาณ 7 ปีมาแล้ว แต่โครงการโรงพยาบาลมีสุขที่พี่ๆจากมูลนิธิเข้ามาติดต่อประสานงานกับ โรงเรียน ทำให้ได้รู้จักมูลนิธิกระจกเงามากขึ้นว่า ไม่ได้ทำแค่เรื่องคนหาย แต่มีโครงการจิตอาสาดีๆที่ตรงกับความสนใจของโรงเรียนอย่างนี้ด้วย เลยให้ความร่วมมือ เพราะจะช่วยทำให้จิตอาสาของโรงเรียนที่ทำมานานเป็นระบบขึ้นด้วย การได้สัมผัสรูปแบบจิตอาสาที่เป็นระบบ มีขั้นตอน มีการฝึกปฏิบัติ ลงมือจริงและถอดบทเรียนนี้ ทำให้การติดต่อประสานงานและการทำกิจกรรมของนักเรียนมีความต่อเนื่องและ ชัดเจนมากขึ้น



นอก จากนี้อาจารย์ยังมีข้อเสนอแนะสำหรับโครงการโรงพยาบาลมีสุขว่า บ้างบางครั้งที่นักเรียนหลายโรงเรียนไปทำกิจกรรมในโรงพยาบาลเดียวกันมากเกิน ไป (โรงเรียนอื่นนอกเครือข่ายของโครงการก็ไปทำจิตอาสาในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน) เกินความต้องการของโรงพยาบาล ส่งเสียงดัง (เหมือนโรงพยาบาลจะแตก) และดูไม่มีชีวิตชีวา (บางโรงเรียนไปกิจกรรมเพราะเป็นชั่วโมงที่นักเรียนต้องทำตามหลักสูตร)



ส่วน กิจกรรมอื่นๆ เช่น การพบปะระหว่างนักเรียนต่างโรงเรียนในโครงการ เป็นสิ่งที่ดี ได้เห็นภาพรวม แต่ก็จะติดขัดเรื่องความพร้อมของนักเรียนแต่ละโรงเรียนที่มีเวลาว่างไม่ตรง กัน ทำให้บางโรงเรียนได้เจอกันบ่อย   ข้อเสนอแนะอีกอย่างอาจารย์สุทธิศรีอยากให้มีทำเนียบนักเรียนจิตอาสาเพื่อ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารอีกทางหนึ่งด้วย นอกเหนือจากปัจจุบันที่มีบล็อก (okkid.net) ที่นักเรียนแสดงความคิดเห็นเรื่องกิจกรรมอาสา มีการประกวดบล็อกด้วย



ส่วน แผนการที่อยากทำในอนาคต อาจารย์สุทธิศรีบอกว่าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยเองต้องพัฒนาให้สืบเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น โดยให้เด็กมาทำด้วยใจ หากได้แกนนำหลักๆสัก 4-5 คนก็ดีใจแล้ว เนื่องจาก 4-5 คนนี้สามารถไปเชื่อมโยงเพื่อนได้อีกเป็น 10 คน (แกนนำสามารถขยายจำนวนสมาชิกให้มากขึ้นได้) ความคิดนี้เริ่มจะเป็นจริงแล้วในปัจจุบัน เพราะครูไม่ต้องเดินไปหาและชักชวนเด็ก แต่เด็กจะเป็นฝ่ายเดินมาหาเราเอง หลังจากฟังที่ได้รับการจุดประกายจากมูลนิธิกระจกเงา