ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
ประธานแกนนำเยาวชน
ประวัติและผลงาน


อ่านทั้งหมดได้ที่
http://goo.gl/wbh83d



คลิกอ่าน "ถอดบทเรียน"


ธีระ ฯ 

  • เด็กนักเรียนอีกคนชื่นชอบในการ"จินตนาการ" ซึ่งนำมาสู่กระบวนการเรียนรู้ผ่านจินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง...ความงดงามที่เรียนรู้ด้วยจินตนาการเป็นศิลปะของการเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าผ่านกระบวนการต่างๆนานาแห่งความ "พอดี" ในชีวีที่งดงาม
  • เด็กกิจกรรมที่พร้อมเรียนรู้ในบริบทของทุกสิ่งที่สามารถปรับใช้ในการดำเนินชีวีได้
  • ธีระวุฒิ  ศรีมังคละ (ธีระ แปลว่า นักปราชญ์) - (วุฒิ แปลว่า  ภูมิรู้) ธีระวุฒิ แปลว่านักปราชญ์ผู้มีภูมิรู้...(ศรี แปลว่า เจริญ) - (มังคละ แปลว่า มงคล) ศรีมังคละ แปลว่า ความมงคลที่เจริญ * ธีระวุฒิ  ศรีมังคละ แปลว่า นักปราชญ์ผู้มีภูมิรู้ที่มีความมงคลที่เจริญ...ชื่อนี้มีสระทุกตัวชัดเจนซึ่งสามารถบ่งบอกได้อีกทัศนะหนึ่งว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา"
  • ความฝัน คือ การเป็นนักพัฒนา "คน" ...


นายเเสนเเสบ :  ธีระ ฯ    

       เส้นทางในการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนนั้นนับได้ว่าเป็นเส้นทางที่ไกลที่สุด  เป็นเส้นทางที่ยากที่สุดในการเดินทางให้ถึงจุดหมาย ตลอดระยะทางมีเรื่องราวมากมาย  ปัญหามากมาย  อุปสรรคมากมาย  ซึ่งอาจทำให้ท้อ  และหมดกำลังใจในการเดินทางหลายคนมองว่าการที่จะสามารถไปถึงจุดหมายได้นั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคลแต่บางคนกลับเห็นว่าเราไม่สามารถไปถึงฝันได้เพราะคนเรามีความทะเยอทะยานอยู่ตลอดเวลา  แต่เส้นทางของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  มีอุปสรรคและปัญหาไม่เหมือนกันบางคนสามารถปรับตัวได้กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองแต่บางคนกลับจมอยู่กับปัญหาเดินทางอย่างลำบาก  ซึ่งข้าพเจ้ากลับมองว่าสิ่งที่สามารถวัดเส้นทางของคนเราแต่ละคนได้ คือ ความพอใจของแต่ละบุคคลเพราะเมื่อมี “ความพอใจ” จะมี “ความพอดี” ตามเส้นทางของแต่ละบุคคล

        เส้นทางในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้นมีทั้ง ความดี  ความไม่ดี  ความพอใจ  ความเสียใจ  ปัญหา  อุปสรรค เพราะเส้นทางของเราทุกๆคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบที่สวยงามตามความพอใจซึ่งข้าพเจ้ามองว่ากลีบกุหลาบนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถโดยได้คือเป็นผลของงานที่ได้ทำที่สามารถทำให้เราเดินทางได้อย่างมีอุปสรรคน้อยที่สุด  อุปสรรคเป็นสิ่งที่สามารถก้าวข้ามผ่านพ้นได้แต่ปัญหาเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถก้าวข้ามผ่านพ้นได้เพราะในชีวิตประจำวันเราทุกๆวันเป็นการอยู่กับปัญหาทั้งสิ้นฉะนั้นเราต้องเรียนรู้ปัญหาเพื่อที่จะสามารถอยู่กับปัญหาได้อย่างมีความพอใจในกลีบกุหลาบที่เราได้โรยไว้ในเส้นทาง

        การดำเนินชีวิตจริงเป็นการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์มีกระแสนิยมเข้ามามากมายที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและพฤติการณ์ของคนเราอยู่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า “ค่านิยม” ซึ่งคำว่าค่านิยมนี้เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในระดับทัศคติของแต่ละบุคคล  บางคนตามกระแสนิยมไปอย่างไร้จุดหมาย  บางคนตามกระแสนิยมไปอย่างมีจุดหมาย  บางคนไม่ตามกระแสนิยม  บางคนมีฐานคิดของตนเองในการรับกระแสนิยม  อย่างไรก็ดีการดำเนินชีวิตของเราทุกๆวันนั้นมีสิ่งต่างๆที่เข้ามามากมาย  เราทุกคนจึงต้องมีฐานคิดของตนเองโดยการใคร่ครวญดูก่อนในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  ในการดำเนินชีวิตจริงมีความยากหรือง่ายนั้นขึ้นอยู่กับฐานของแต่ละบุคคลในความพอใจในชีวิตตนเอง  เราสามารถนำความพอใจไปใช้กับชีวิตได้ในทุกบริบทของชีวิตจริง

         ชีวิตประจำวันของเราทุกๆวันมีเรื่องราวต่างๆที่มีความสับสน  มีปัญหาที่เข้ามารุมเร้าบั่นทอนกำลังใจให้หมดไป  ในการดำเนินชีวิตของข้าพเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีอุปสรรคและปัญหาที่มากมายที่เข้ามาให้มีความสับสน  บางครั้งมีความท้อใจ  เหนื่อยใจ  หมดกำลังใจ  ในปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ทุกครั้งที่มีปัญหานั้นข้าพเจ้าจะรำลึกเสมอเพียงว่า ความฝันที่เราได้ฝันไว้จะเป็นจริงหรือถ้าเพียงเท่านี้นั้นทำไม่ได้  ทุกปัญหาข้าพเจ้ามีแรงบรรดาลใจที่สำคัญในการอยู่ร่วมกับปัญหา คือ ความฝันที่ได้ตั้งปณิธานไว้กับตนเองในการที่จะเป็น “นักพัฒนาคน” ซึ่งเป็นความฝันอันสูงสุดโดยคิดว่าในการเป็นนักพัฒนาคนนั้นเราจะต้องสร้างฐานที่มั่นคงให้กับตนเองเสียก่อนที่จะได้สร้างฐานที่มั่นคงให้กับผู้อื่น  ในความฝันที่ได้ฝันไว้นั้นข้าพเจ้าใคร่ครวญแล้วว่ามีความเหมาะสมกับตนเองเพราะตนเองมีความชอบ  ควงามถนัด  และความ “พอใจ” ในความฝันของตนเอง  ฐานที่มั่นคงเป็นการคิดอย่างรอบคอบ  คิดก่อนทำ  คิดอย่างใคร่ครวญไต่ตรวญดูความเหมาะสมในสิ่งที่ผ่านเข้ามา โดยเราสามารถนำฐานนี้ไปใช้กับการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ  เช่น การทำงาน ในการทำงานนั้นข้าพเจ้ามีประสบการณ์ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพียงสั้นๆ แต่ในช่วงระยะเวลานี้เองที่ทำให้รู้ถึง “หลักของการทำงานกลุ่ม” โดยหลายคนอาจมองว่าหลักในการทำงานกลุ่มนั้นต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าแก่นอย่างแท้จริงในการทำงานกลุ่มนั้นมีอยู่ข้อเดียว คือ“การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดเพราะในการที่จะขับเคลื่อนงานต่างๆได้นั้นจะต้องขับเคลื่อน “ผู้นำ-ผู้ตาม” ซึ่งเป็นสมาชิกให้ได้ก่อนที่เราจะเคลื่อนงานไปได้  เมื่อได้ประเด็นปัญหาของงานนั้นๆ สิ่งแรกที่จะทำเป็นการคุยกันในทุกบริบทของงานที่ได้ทำ จากนั้น จะ “ทำให้ง่าย” ด้วยการประเมินตนเองและประเมินงานในความยากง่ายของงาน  ถ้ายากเกินไปจะลดเป้าหมายให้ต่ำลง ตาม “ความพอดี” ที่มีในตนเอง ในการคิด  การพูด  การกระทำ ก็เช่นกัน ข้าพเจ้ามักจะพึงระลึกอยู่เสมอว่าในการที่สมองของคนเราคิดนั้นบางครั้งเป็นการคิดอย่างรอบคอบก็จริงอยู่แต่บางครั้งเป็นการคิดมากจากเดิมเป็นการเฝ้าระวังเมื่อคิดมากๆจะเป็นการเฝ้าระแวง โดยที่ข้าพเจ้าจะพยายามดึงกลับมาอยู่ในจุดยืนของความคิดอยู่เสมอว่าให้คิดอย่างเป็นจริงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง  ในการพูดก็เช่นกันต้องพึงระลึกตนเองอยู่เสมอในการพูดเพราะคนเราส่วนมากแล้วเมื่อได้พูดไปนั้นจะสามารถคิดตามกับคำพูดของตนเองได้ยากในทุกขณะเพราะ การพูด  การคิด  และ การฟัง เราสามารถทำได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นในคนเราทั่วไป ฉะนั้นจึงต้องมีการพูดอย่างมีสติมากที่สุด ในการพูดครั้งต่างๆ โดยเฉพาะการนำเสนองานในครั้งต่างๆ ต้องพูดให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งสารจะนำสารนั้นให้ผู้รับสาร ถ้าคิดอย่างง่าย คือ ถ้าเราเป็นผู้รับสารนั้นเราจะเข้าใจได้อย่างไรโดยมองเป็นกลาง จะทำให้เราสามารถอธิบายให้เขาเข้าใจได้ว่าเรากำลังทำอะไร  ที่ไหน อย่างไร  เมื่อไร  และในการพูดคุยกันในการทำงานครั้งต่างๆ คำพูดบางถ้อยคำนั้นอาจทำให้ผู้ร่วมงานฟังแล้วอาจไม่สุภาพ  ไม่ชอบหรืออาจเข้าใจไม่ตรงกันหรืออาจสุดโต่งในเหตุและผล ทำให้สามารถผิดใจกันได้ง่ายดังนั้นการพูดจึงต้องมีการคิดก่อนพูด  บางครั้งอาจมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการคุยงานในครั้งต่างๆ เราจึงต้องมีการห้อยแขวนทั้งอารมณ์และคำพูดที่จะส่งสารไปให้ผู้ฟัง เป็นการกรองอารมณ์และคำพูดของตนเองอย่างมีสติซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ยากเพราะเมื่อมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานหรือคุยงานแล้วนั้นเราจะสามารถเรียกสติได้ยากพอสมควร  ฉะนั้นควรฝึกตนอยู่เสมออยู่เป็นประจำแล้วจะเป็น “ภูมิคุ้มกัน” ได้อย่างทันท่วงที  แล้วในการกระทำก็เช้นกันเราจะต้องทำอย่างใคร่ครวญดูความเป็นไปได้ของการทำงาน เช่น การทำการบ้านเมื่อรู้ว่างานตนเองมีมากก็ต้องรีบทำให้เสร็จแต่ต้องคำนึงถึงร่างกายของตนเองเป็นที่ตั้งไม่ใช่การโหมงานหนักจนเกินตัวจนทำให้ร่างกายอ่อนล้าแต่ถ้างานนั้นมีกำหนดการส่งอย่างกระทันหัน ข้าพเจ้ามองว่ามีวิธีการอยู่ 2 วิธี คือ การทำงานจนเสร็จและการพูดคุยกับผู้มอบงานแต่ถึงอย่างไรก็ดีทุกสิ่งสามารถ “ยืดหยุ่น” ได้ถ้าเรามีความ “พอดี” ในสิ่งที่ได้ทำ  ไม่ว่าจะเป็นการคิด  การพูด  การกระทำ  ทุกสิ่งนั้นจึงต้องมีความพอดีในสิ่งที่ได้คิด  ได้พูด  ได้ทำ  โดยนำสติมาเป็นที่ตั้งของการทำสิ่งต่างๆทุกครั้งไป  เมื่อมีความพอดีจะมีความพอใจเกิดขึ้นมาเองซึ่งทั้งในความพอดีและพอใจของแต่ละบุคคลก็ไม่สามารถวัดได้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพราะต่างคนต่างมองหลายมุม  มีความคิดหลากมุมมอง

         การดำเนินชีวิตของคนเราในทุกๆวันนั้นเป็นสิ่งที่ยากความยากง่ายแตกต่างกันไปในเส้นทางของแต่ละบุคคลซึ่งสิ่งที่ทุกคนมีติดตัว คือ ความเป็นมนุษย์ ที่เป็นเครื่องมือที่วัดได้อย่างชัดเจนในบันทัดถานของสังคม เส้นทางของคนเราสามารถโรยด้วยกลีบกุหลาบได้โดยที่เราเป็นคนที่โดรยด้วยตนเองเป็นการ “สร้างภูมิคุ้มกัน” ให้เกิดขึ้นในตนเองเพื่อที่ตนเองจะได้เดินทางอย่างสะดวกแต่ในเส้นทางนั้นๆ จะขาด “เหตุผล” ไม่ได้เลยเพราะนั่นคือจุดหมายของเราที่จะเดินทางให้ถึงฝั่งโดยในการเดินทางถึงฝั่งฝันที่เราตั้งไว้นั้นต้องมีการ “ประมาณ” ตนอยู่เสมอเป็นการมองดูความเป็นไปได้ในบริบทของความเป็นจริงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเราและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในจุดหมายที่ได้ตั้งเป้าไว้กับตนเอง  แล้วสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือสติ  เราต้องเดินทางอย่างมีสติโดยเป็นการเดินตามทางตนเองโดยมองผู้รู้เพราะในเส้นทางนั้นมีอุปสรรคและปัญหามากมายที่คอยมาดึงให้เราขาด “จิตวิญญาณ” อยู่ทุขณะ ฉะนั้นจะต้องมีการประคองสติของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอในการทำสิ่งต่างๆ แล้วเมื่อการทำอย่างมีสตินี้เองที่จะสามารถทำให้เกิดความ “พอใจ” ในชีวิตของตนเองความพอใจนี้เองเป็นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกกาภิวัตน์ทั้งหมดจะส่งผลทำให้เกิดความพอใจในสิ่งที่ได้ทำ  ความพอใจในงานที่ได้ทำ  ความพอใจในตนเอง  ความพอใจในความฝัน และความพอใจในความจริง ที่มีฐานคิดของตนเองอย่างมั่นคงและยั่งยืน