โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 3 : ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยหลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัย
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 3 : ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยหลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัย
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
วรรคทองทีมพี่เลี้ยงวิจัย 4 อปท. จังหวัดสุรินทร์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"อปท.ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area Based)"

ถอดบทเรียนพี่เลี้ยงนักวิจัยจากการเรียนรู้ในโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น การขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่เป็นฐานการเรียนรู้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) นักถักทอชุมชน อปท. 2) แกนนำชุมชน และ 3) แกนนำเยาวชน ที่สามารถจัดการความรู้ (KM) และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและคลี่คลายปัญหาของท้องถิ่นสู่การพึงพาตนเอง หรือท้องถิ่นจัดการตนเองอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

ทีมนักถักทอชุมชน อปท. (นายกฯ ปลัด เจ้าหน้าที่) แกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่ใจดี ผู้รู้ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผู้มีบทบาทเป็นแกนนำชุมชน) และแกนนำเยาวชนหรือสภาเด็กและเยาวชนในระดับหมู่บ้าน/ ตำบล สามารถทำหน้าที่เป็น "พี่เลี้ยง" ในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชนและเป็นพลังสำคัญที่พร้อมรับใช้ชุมชนสังคมและประเทศชาติ โดยใช้หลักการจัดการความรู้ (KM) และกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พื้นที่เป้าหมาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 อปท. ได้แก่

1) ทต.เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

2) ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

3) อบต.หนองอียอ อ.สนม จ.สุรินทร์

4) อบต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์

ผลลัพธ์

1) อปท. ในฐานะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent ;CA) มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือเจ้าภาพพื้นที่ เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนและสามารถคลี่คลายปัญหาด้านเยาวชนได้

2) เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำงานด้านพัฒนาเยาวชนแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในด้านการพัฒนาเยาวชน โดยใช้หลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกพลเมืองและสร้างสรรค์ชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น

3) เกิดเครือข่ายพี่เลี้ยงและแกนนำเยาวชนในระดับหมู่บ้าน/ตำบล จำนวนอย่างน้อย 300 คน ภายใน 3 ปี

4) เกิดนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาเยาวชนหรือพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกพลเมืองและสร้างสรรค์ชุมชน และผลิตสื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน

5) เกิดเวทีภาคีพูนพลัง อปท. เพื่อถอดบทเรียนตัวอย่างความสำเร็จและสังเคราะห์คุณค่างาน ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับพื้นที่/ระหว่างพื้นที่ด้านการพัฒนาเยาวชนร่วมกันและเพื่อยกระดับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและขยายผลไปสู่ อปท.อื่นๆ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ภาคีความร่วมมือ :

1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

2) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

3) สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

4) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ทีมพี่เลี้ยงวิจัย

- 6 อปท.ใน จ.สุรินทร์ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน จ.อุบลราชธานี

ทีมพี่เลี้ยงพื้นที่

- จ.สุรินทร์ : สถาบัน สรส. และสถาบันยุวโพธิชน 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ