กลุ่มเรารักษ์ป่า
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มเรารักษ์ ป่า(Conservation of Wildlife Group) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 จากการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ด้วยวัตถุประสงค์ในการทำงานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม บรรเทาสาธารณภัย และร่วมมือกับส่วนราชการหรือองค์กรต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
การดำเนิน งานของ “กลุ่มเรารักษ์ป่า”มีแนวคิดว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ หากการดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมไม่สามารถกระทำได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์แบ่งตามฤดูกาล เช่น ฤดูฝนจะเน้นกิจกรรมปลูกป่า ฤดูแล้งจะเน้นการป้องกันและดับไฟป่า ฤดูหนาวจะเน้นกิจกรรมจัดค่ายเยาวชน โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อย 1 ครั้งหมุนเวียนไปตามฤดูกาล

­

วิสัยทัศน์

มุ่งหวังให้ทุกคนสนใจและช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและร่วมถักทอสายใยการอนุรักษ์สู่เยาวชน

­

พันธกิจ

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างพื้นที่สีเขียวให้กับโลก

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อบรรเทาสาธารณภัย
  • เพื่อร่วมมือกับส่วนราชการหรือองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

­

ผู้บริหารองค์กร

  • นายธงชัย แสงประทุม เลขาธิการกลุ่มเรารักษ์ป่า

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

กลุ่มเรารักษ์แบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วนได้แก่...

  • คณะที่ปรึกษา ของ“กลุ่มเรารักษ์ป่า”ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ทำหน้าที่คอยสนับสนุนการทำงานและให้คำปรึกษา ดังนี้
    พลตำรวจตรี เชิด ชูเวช
    ร.ต.ท.จิระพันธ์ ทองสกล
    ไชยวัฒน์ ศรีสุวรรณ
    สิทธิชัย บรรพต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน
    ตระกูล อาจอารัญ หัวหน้าเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 3 (สวนห้อม)
    ยุทธนา ศรีเงินงาม หัวหน้าเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 2 (คลองน้ำมัน)
    ทักษิณ อาชวาคม หัวหน้าสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
    ดร.พงศ์เทพ สุวรรณวารี อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    พรชัย วิสุทธาจารย์ นักวิชาการป่าไม้
    วัฒนศักดิ์ จิตติวัฒน์ ผู้จัดการสถานีเติมฯ อู่ตะเภา
    ศักดา เริงฤทธิ์ อดีตหัวหน้า/ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเรารักษ์ป่า
    ร.ต.ท.สุทีร์ แสงประเสริฐ อดีตกรรมการกลุ่มเรารักษ์ป่า
  • คณะกรรมการบริหาร ทำ หน้าที่บริหารจัดการและร่วมดำเนินงานของกลุ่ม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยการทำงานและภารกิจเหล่านี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกัน และไม่มีค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แต่มีค่าตอบแทนการทำงานเป็น “กำลังใจ”และ“แรงใจ”จาก การมีอุดมการณ์ร่วมกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าบริเวณอุทยาน แห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยคณะทำงานเหล่านี้ต่างก็มีงานประจำทำ แต่เมื่อกลุ่มมีกิจกรรมก็มารวมตัวกัน ทำหน้าที่ต่างๆดังนี้...
    นายเสกสรรค์ กิตติทรัพย์เจริญ ประธานกรรมการ
    นายสำรวย ชวนโพธิ์ รองประธานฯ 1
    นายสาโรจน์ แสงอรุณ รองประธานฯ 2
    นายธงชัย แสงประทุม เลขาธิการ
    นายสาโรจน์ แสงอรุณ เป็นหัวหน้า, นายวันชัย ผ่องสูงเนิน และนายนพชัย นาคขุนทด เป็นผู้ช่วย ฝ่ายเหรัญญิก
    นายนพดล เพชรมะดัน เป็นหัวหน้า, นายนพชัย นาคขุนทด และ น.ส.พัชรี แหวนหล่อ เป็นผู้ช่วย ฝ่ายพัสดุและครุภัณฑ์
    นายศุภมงคล รัตนจิตร เป็นหัวหน้า และ นายมนตรี กองเกิด เป็นผู้ช่วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    นายกฤษณะ ศรีสุวรรณ เป็นหัวหน้า และ นายสุระเดช สีพอง เป็นผู้ช่วย ฝ่ายกิจกรรมส่วนป้องกันและดับไฟป่า
    นายนพดล เพชรมะดัน ฝ่ายกิจกรรมส่วนส่งเสริมการปลูกป่า
    นายวันชัย ผ่องสูงเนิน ฝ่ายกิจกรรมส่วนการทำโป่งเทียม
    นายกฤษณะ ศรีสุวรรณ ฝ่ายสื่อสาร
    นายธงชัย แสงประทุม เป็นหัวหน้า, นายสัจบรรณ จำปาโพธิ์ และนายมนตรี กองเกิด เป็นผู้ช่วย ฝ่ายวิชาการ
    นายธงชัย แสงประทุม เป็นหัวหน้า ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมายธรรมชาติ
    นายชยากร ชมโคกกรวด เป็นหัวหน้า, นายจักรพงษ์ พิทักษ์ เป็นผู้ช่วย ฝ่ายกิจการพิเศษ
    นายมนตรี กองเกิด เป็นหัวหน้า, นางนิพัทธา ศรีสุวรรณ เป็นผู้ช่วย ฝ่ายทะเบียนและสมาชิก

นอกจาก นี้ยังมีอาสาสมัครในการช่วยงานเป็นน้องๆที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชน กลุ่มเรารักษ์ป่ามาแล้วทั้ง 56 รุ่น มาร่วมช่วยงานค่ายหมุนเวียนกันไปตามความสะดวกจากการทำงานประจำของแต่ละคน

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • สามารถสร้างนักอนุรักษ์น้อยมาแล้ว 56 รุ่น จาก “ค่ายเยาวชนเรารักษ์ป่า”
  • สามารถรวมกลุ่มคนที่มีใจรักษาป่าจากหลากหลายอาชีพ แต่มีอุดมการณ์เดียวกันร่วมกันทำงาน แม้ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ
  • สามารถ “ป้องกันและดับไฟป่า” ในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมาและพื้นที่ป่าใกล้เคียง
  • สามารถร่วม “ปลูกป่า” เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า ในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมาและพื้นที่ป่าใกล้เคียง
  • เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันทำงานของกลุ่มเรารักษ์ป่า ซึ่งมีอุดมการณ์ร่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เกิดจากความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของรุ่นพี่ที่เข้าร่วม “ค่ายเยาวชนเรารักษ์ป่า”โดย เมื่อจบค่ายไปแล้วรุ่นหนึ่ง ก็ยังมีจิตอาสาเข้าช่วยเหลือทั้งปัจจัยและกำลังใจให้น้องๆที่เข้าร่วมค่าย รุ่นต่อไปจนเกิดเป็นวัฒนธรรมค่ายจากรุ่นพี่ช่วยรุ่นน้อง ทำให้สามารถทำงานต่อเนื่องได้ต่อไป
  • เกิด จากความเสียสละของทุกคนทั้งคนในกลุ่มเรารักษ์ป่าและอาสาสมัครที่ไม่ค่อยมี เวลาว่าง มาร่วมสนับสนุนการทำงาน ทำให้การทำงานสามารถดำเนินการต่อไปได้แม้ไม่มีเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานใด เลย

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

ดินโป่ง (Saltlick) หรือเรียกสั้นๆ ว่า "โป่ง" หมายถึง แอ่งดินเค็ม ซึ่งสัตว์ป่าลงมากิน แบ่งออก เป็น 2 ลักษณะ คือ โป่งที่เป็นดินเค็ม ธรรมดา เรียกว่า โป่งดิน หรือ โป่งแห้ง แต่ถ้าเป็นโป่งที่มีน้ำขังอยู่บ้าง หรือมีน้ำซับไหลผ่าน ซึ่งสัตว์ป่า ชอบลงไปนอนเกลือกกลิ้งเล่นพร้อมกินดินโป่งด้วยโป่งลักษณะนี้เรียกว่า โป่งน้ำ บางแห่งก็เรียกว่า "ปลัก"

ด้วย ลักษณะของโป่งเป็นแอ่งดินเค็ม จึงเรียกรวมๆว่า "ดินโป่ง" บางครั้งก็เรียกชื่อตามลักษณะของโป่งที่สัตว์ป่าชนิดใด ลงกินบ้าง เช่น โป่งที่กวางลงไปกิน เรียกว่า โป่งกวาง โป่งที่ช้าง ลงไปกินก็เรียกว่า โป่งช้าง

เมื่อ "ดินโป่ง" มีความจำเป็นสำหรับสัตว์ป่าและในป่าก็มีอยู่ไม่มากนัก จึงมีการนำเกลือไปใส่บริเวณที่เคยเป็นโป่งให้ดินบริเวณแห่งนั้นคงเป็นดิน เค็มต่อไป เราเรียกโป่งที่ทำขึ้นใหม่นี้ว่า "โป่งเทียม"

สถานที่หรือจุดพิกัดในการทำ "โป่งเทียม"แบ่งได้ดังนี้

  • สถาน ที่ที่เคยเป็น "ดินโป่ง" มาก่อน แต่ดินเริ่มเสื่อมความเค็มลงและยังมีสัตว์ป่าลงมากินอยู่ การทำโป่งเทียมจะได้ผล มากที่สุดเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
  • สถาน ที่ที่เป็น "โป่งร้าง" ซึ่งดินเสื่อมสภาพลง และไม่มีสัตว์ลงกินแล้ว จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า สถานที่หรือจุดพิกัดดังกล่าวมีสัตว์เดินผ่านมาอีกหรือไม่ หากยังมีสัตว์ป่าเดินผ่านอยู่ก็ยังถือว่าได้ผลประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าสัตว์ป่าไม่เดินผ่านเลย มักไม่ค่อยได้ผล
  • สถานที่ที่เป็นเส้นทางเดินของสัตว์ป่าได้ผลประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์
  • สถาน ที่ที่ไม่เคยเป็นดินโป่งและไม่ใช่ทางเดินของสัตว์ มักไม่ได้ผล แต่ส่วนมากจะทำขึ้นไว้เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีและขั้นตอนในการ ทำ "โป่งเทียม"

งานอาสมัครควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นควรสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ



รางวัลความสำเร็จ

  • รางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ใน ฐานะ “องค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” เนื่องในโอกาส “วันเยาวชนแห่งชาติ” เมื่อ 20 กันยายน 2545
  • รางวัลอาสาสมัครดีเด่น จาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้แก่ นายธงชัย แสงประทุม เลขาธิการกลุ่มเรารักษ์ป่า เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ วันอาสาสมัครไทยและปีอาสาสมัครสากล เมื่อ 21 ตุลาคม 2544
  • รางวัลอาสาสมัครดีเด่น จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้แก่ นายสาโรจน์ แสงอรุณ รองประธานกลุ่มเรารักษ์ป่า เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์ วันอาสาสมัครไทย และปีแห่งการพัฒนางานอาสาสมัครไทย เมื่อ 21 ตุลาคม 2545

*สำหรับรางวัลโล่ “อาสาสมัครดีเด่น”ที่ทั้ง 2 คนได้รับ เสนอโดย สำนักควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้

โครงการขององค์กร
  • กิจกรรม “ค่ายเยาวชนเรารักษ์ป่า” จัดขึ้นในช่วงฤดูหนาว เนื่องจาก เป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมคือไม่ร้อนและไม่มีฝน สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆในบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา ทั้งนี้เมื่อเยาวชนผ่านค่ายเรารักษ์ป่าไปแล้ว พบว่าเยาวชนเหล่านี้ยังมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกัน บางคนกลับมาช่วยงานในค่ายอีกหลายๆ ครั้ง หรือบางคนแม้มีภารกิจต้องทำงานหรือเรียนต่อก็จะส่งแรงใจหรือกำลังทรัพย์ บริจาคช่วยงานตามกำลัง และอย่างน้อยๆ เยาวชนที่ผ่านค่ายเหล่านี้ยังเกิดจิตสำนึกที่ดีด้วยการไม่ทิ้งขยะ แม้เพียงกระดาษห่อลูกอมชิ้นเล็กๆ ก็ตาม
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

มีแผนที่จะผลักดันและ ระดมทุนเพื่อก่อตั้ง “กองทุนเรารักษ์ป่า”เพื่อให้เป็นกองทุนสนับสนุนการทำงานด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ “กลุ่มเรารักษ์ป่า” และเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการจัดตั้ง “มูลนิธิ” เพราะหากสามารถจัดตั้งมูลนิธิ จะทำให้การทำงานเกิดรูปธรรมและขยายการทำงานได้มากขึ้น และสามารถมีบุคคลากรประจำที่เข้ามาช่วยงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าและสิ่ง แวดล้อมได้อย่างเต็มที่

ติดต่อองค์กร
กลุ่มเรารักษ์ป่า
ที่อยู่: เลขที่ 240/12 ซอยมิตรภาพ 4 ถนนมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์: 08-7242-7799