เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร


ประวัติความเป็นมา

เครือข่ายพุทธิกาเป็นองค์กร กลางที่ทำหน้าที่ประสานงานและผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้ กับประชาชน และสร้างงานจิตอาสาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ด้วยการผลิตสื่อที่พัฒนาเชิงความคิด และเน้นสร้างกิจกรรมที่สอดแทรกด้วยหลักธรรมและสามารถลงมือปฏิบัติได้อย่าง เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองว่าหลักธรรมต่างๆ สามารถนำมาอธิบายและปรับใช้ในชีวิตได้ง่าย โดยหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่เครือข่ายให้ความสำคัญคือ “บุญ” ที่เกิดจาก “จิตอาสา” เพราะนอกจากการให้ทานแล้ว การทำบุญด้วยความดี หรือการช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นและส่วนรวม นั้นเป็นบุญที่มีพลังมหาศาลที่ไม่เพียงก่อเกิดคุณค่าแก่ตนเองแล้วยังเป็นการ สร้างความดีงามให้แก่สังคมด้วย

จุดเด่นของงานในเครือข่ายพุทธิกาไม่ เพียงสามารถร้อยงานจิตอาสาและหลักธรรมไว้ในรูปแบบของกิจกรรมที่ปฏิบัติได้ อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ทุกกิจกรรมยังเน้นสร้างการกระบวนการเรียนรู้ควบคู่จิตอาสา กล่าวคือ นอกจากการสร้างสุขให้ผู้รับแล้ว ผู้ปฏิบัติยังต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ตนเองใน 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทัศนคติต่อคนรอบข้างและสังคมได้ดีขึ้น


วิสัยทัศน์

ส่งเสริมการนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในชีวิตอย่างสมสมัย และเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมามีคุณค่าต่อสังคม


พันธกิจ

สร้างสื่อและกิจกรรมให้ประชาชนเข้าใจแก่นแท้ของหลักธรรมทางพุทธศาสนา อันนำไปสู่สังคมที่ดีงามและสงบสุข


ความเป็นมาในการก่อตั้ง
จากวิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับพุทธศาสนาของไทย ทั้งปัญหาพระ
ประพฤติผิดพระธรรมวินัย ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่คณะสงฆ์ไม่ตื่นตัวอย่างมาก ในเรื่องการทำงานอาสา สมัครเครือข่ายพุทธิกายังจึงดำเนินงานด้านจิตอาสาเพื่อต่อยอดจิตอาสาในสังคมไทย
โดยริเริ่มโครงการ ฉลาดทำบุญ: จิตอาสาปันศรัทธาและอาทรร่วมกับเครือข่ายจิตอาสาและองค์กรภาคีอื่น ๆ ผ่านการสนับสนุนของแผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในช่วงเข้าพรรษา ปี พ.ศ. 2548 โดยมีกิจกรรมอาสาสมัครหลากหลายให้ผู้สนใจได้มาร่วมกิจกรรม โดยในปีแรกได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ราว ๆ 5-600 คน จากความสนใจงานอาสาสมัครดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องให้เกิดการขยายงานด้านจิตอาสาขององค์กรภาคีต่าง ๆ ต่อมาจนถึง ปัจจุบัน


วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและสังคม
• ฟื้นฟูบทบาทพระสงฆ์ในสังคม
• ส่งเสริมบทบาทพุทธบริษัทในสังคมไทย
• เป็นองค์กรประสานงานภาคประชาชนในการฟื้นพระพุทธศาสนา
• สร้างงานจิตอาสาให้เกิดขึ้นสังคมไทย



ผู้บริหารองค์กร

1. พระไพศาล วิสาโล

8. นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ

2. พระกิตติศักดิ์์ กิตฺติโสภโณ

9. นายปรีดา เรืองวิชาธร

3. นางสาวอรศรี งามวิทยาพงศ์

10. นายสมเกียรติ มีธรรม

4. นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์

11. นายนภนาท อนุพงศ์พัฒน์

5. นางสาวฐิติมา คุณติรานนท์

12. นางสาวมณี ศรีเพียงจันทร์

6. นายธวัชชัย โตสิตระกูล

13. นางสาวพรรณี นัยสันทัด

7. นายโอภาส เชฏฐากุล

14. นางสาวพรทิพย์ ฝนหว่านไฟ (ผู้ประสานงาน)

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

มีการบริหารงานแบบเครือข่ายโดยมีศูนย์กลางที่เครือข่ายพุทธิกา โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานที่ทำหน้าที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตสื่อและริเริ่มกิจกรรที่สอดแรกด้วยหลักธรรมมะใหม่ๆที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ในสังคมและประสานงานการทำงานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ทั้งนี้แนวทางการในทำงานเกิดจากการประชุมร่วมกันขององค์กรภาคีเครือข่ายเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนในแต่ละปี ซึ่งเจ้าหน้าที่เครือข่ายจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยสร้างแนวความคิดและกิจกรรมใหม่ๆ และกระจายแนวคิดสู่เครือข่ายด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนกิจกรรมและสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปในเนื้องานของแต่ละองค์กรโดยที่ยังคงเอกลักษณ์และศักยภาพของแต่ละองค์กรไว้

­

ความสำเร็จของการดำเนิินงาน

ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายพุทธิกาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เกิดผลสำเร็จที่น่าพอใจ โดยสามารถเผยแพร่ความรู้ ความ
เข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน สร้างแนวคิดและกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้
ประชาชนสามารถนำไปปรับใช้เป็นหลักยึดในชีวิตประจำวัน รวมถึงสามารถสร้างงานและขยายผลคำว่า “จิตอาสา” และ “คุณค่าจากการทำดี” ให้เกิดขึ้นทั่วสังคมไทย ซึ่งทั้งหมดเกิดผลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนี้

• ด้านปริมาณ

  • มีการจัดทำสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ,จิตอาสา ในมิติต่างๆ อาทิ หนังสือ ซีดี ดีวีดี ซึ่งสื่อบางชิ้น
    ได้รับการตีพิมพ์มากถึง 65 ครั้ง มีจำนวนกว่า 300,000 เล่ม และยังมีความต้องการจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง

• ด้านคุณภาพ

  • สร้างแนวคิดและกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ประชาชนสามารถนำหลักธรรมเข้าไป
    ตอบสนองความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ สร้างงานจิตอาสา และขยายผลแพร่กระจายไปทั่วสังคมไทยสามารถพัฒนาผู้
    เข้าร่วมในฐานะอาสาสมัครสู่ผู้ริเริ่มโครงการอาสาที่มีศักยภาพขยายองค์กรแนวร่วมให้เปิดรับอาสาสมัครให้เขาไปมีส่วน
    ร่วมในการดูแลผู้ป่วย และเด็กมากขึ้น
  • การทำงานของอาสาสมัครเข้าไปช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรมากขึ้นสามารถเปลี่ยนแนวคิดการทำงานของแพทย์และพยาบาล

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

  • มีโครงสร้างการบริหารที่อยู่ในรูปแบบของคณะทำงาน และมีลักษณะ การดำเนินงานที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เจ้าหน้าที่สามารถ
    มีอำนาจตัดสินใจได้ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน
  • มีการตั้งคณะทำงานย่อย ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน คอย ให้คำแนะนำ ปรึกษาในการดำเนินงานเฉพาะด้าน
    ของแต่ละโครงการ/ แผนงาน
  • มีการทำงานผ่านระบบเครือข่าย สร้างอาสาสมัครเพื่อการต่อยอดและ เป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรมโดยมีเจ้าหน้าที่โครงการเป็นพี่เลี้ยง
  • บุคลากรในองค์กรและภาคีเครือข่ายล้วนมีเป้าหมายและอุดมคติที่แน่ ชัดร่วมกันคือ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และมุ่งเน้น “การพัฒนางาน” ไม่ใช่ “การพัฒนาทางด้านวัตถุ” หรือ “ชื่อเสียงขององค์กร”
  • บุคลากรส่วนใหญ่ล้วนทำงาน “ด้วยใจ” ไม่คาดหวังในผลตอบแทน
  • ความสัมพันธ์ของคนในองค์กรเป็นไปในลักษณะของเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เจ้านายและลูกน้อง
  • มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • สื่อและกิจกรรมที่จัดทำขึ้นสามารถประยุกต์หลักธรรมในพระพุทธ ศาสนามา
  • อธิบายและให้คำตอบแก่ประชาชนได้อย่างชัดเจน
  • มีการสร้างโจทย์ และกิจกรรมที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ของคนใน สังคม
  • กระบวนการทำงานที่เน้น “การปฎิบัติจริง” เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ตรง ไม่ใช่แค่เห็นด้วยตา หรือจากคำบอกเล่า
  • เนื้อหางานที่ “สร้างสุข” แก่ผู้รับ ได้เปลี่ยนเป็น “ความภาคภูมิใจ” และ “แรงบันดาลใจ” แก่เจ้าหน้าที่ และ อาสาสมัครผู้ดำเนินงาน
  • คนทำงานสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงและคุณค่าความสำเร็จได้ด้วย ตนเอง จึงเป็นแรงใจให้ทำงานต่ออย่างยั่งยืน
  • การพัฒนางานที่เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ เพื่อให้เกิดชุมชนจิตอาสา อย่างยั่งยืน
  • การรวมตัวเป็นแบบหลวมๆ ไม่ได้ยัดเยียดหน้าที่ แต่เป็นการแบ่งงาน กันทำโดยสมัครใจจึงทำให้การทำงานมีพลัง เนื่องจากทำด้วยใจ

­

รางวัลความสำเร็จ

  • ปี 2550 : โล่เกียรติคุณในฐานะองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย โดยคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติและกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โครงการขององค์กร

โครงการจิตอาสา ฉลาดทำบุญ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำบุญของประชาชนให้ถูกวิธี ด้วยการรณรงค์แนวคิดเรื่องบุญขึ้นใหม่โดยใช้หลักธรรม ไวยาวัจจมัย การทำบุญด้วยความดี ใช้จิตอาสาแบ่งปันเอื้อเฟื้อ รวมถึงสละแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นและส่วนรวม ซึ่งไม่เพียงนำไปสู่ "ความสำเร็จในบุญ" ที่ผู้ทำปรารถนา ยังเป็นการกระตุ้นให้คนในสังคมหันมาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น และส่งผลต่อความเข้าใจชีวิตของตนเองอีกด้วย

โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตายและความตายในมิติทางศาสนา เอื้อเฟื้อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเจริญมรณสติ หรือการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญความตายอย่างนอบน้อมไปสู่การมีชีวิตที่พอเพียง รู้จักการเอื้อเฟื้อแบ่งปันและมีคุณธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้โครงการฯ ยังส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณแก่ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนะและแนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ และมีระบบการดูแลช่วยเหลือที่เอื้อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถเข้าถึงสุขภาวะทางจิตวิญญาณจากการตาย ไม่ว่าจะเป็นการตายที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

ต้องการสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง

ติดต่อองค์กร
เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม
ที่อยู่: เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม 90 ซ.อยู่ออมสิน ถ.จรัญสนิทวงศ์ 40 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์: 02-883-0592,02-886-9881,08-6300-5458
โทรสาร: 0-2883-0592