มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีประสบการณ์และความคิดในการพัฒนาเด็ก อย่างยาวนาน ที่ต้องการให้งานพัฒนาเด็กในสังคมไทยมีการดำเนินการอย่างจริงจังและมีผลใน ทางรูปธรรมที่ชัดเจน จึงร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิฯ นี้ขึ้น โดยเริ่มการทำงานในภารกิจแรกคือ “ศูนย์เด็กก่อสร้าง” ภายใต้ร่มมูลนิธิเด็ก ซึ่งมีศูนย์เด็กก่อสร้าง 2 โครงการ ศูนย์เด็กก่อสร้าง เกิดขึ้นจากปัญหาการอพยพแรงงานภายในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามาเป็นแรงงาน ก่อสร้างในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละโครงการล้วนใช้เวลาการก่อสร้างยาวนาน และแรงงานส่วนใหญ่มีฐานะยากจน บางครอบครัวจึงนำบุตรหลานติดตามมาทำงานและโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปตามโครงการ ก่อสร้างทั่วกรุงเทพฯ เด็กที่เป็นบุตรหลานของแรงงานเหล่านี้จึงไม่ได้รับการศึกษา และที่สำคัญเด็กอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษและเสี่ยงอันตราย กระทั่งวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2528 เกิดเหตุการณ์สลดเมื่อเด็กหญิงสร้อยเพชร บุญน้อย วัยเพียง 1 ขวบ 4 เดือนเสียชีวิตจากการตกลงไปในรูเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารหลังหนึ่งในโรง พยาบาลทหารผ่านศึก

­

จากภาวะเสี่ยงในบริเวณ ก่อสร้างประกอบกับไม่มีใครคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจึงได้สร้างศูนย์เด็กเล็กขึ้นเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ที่ เป็นแรงงานก่อสร้างดูแลเด็กและเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนวัยเรียน ส่วนเด็กที่ถึงวัยเรียนแล้วจะได้รับการสอนหนังสือให้ อีกทั้งยังดำเนินการประสานงานกับโรงเรียนเพื่อผลักดันให้เด็กกลุ่มนี้ได้ เข้าเรียนในระบบการศึกษาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อความสะดวก และให้การดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยซึ่งนับวันยิ่ง ทวีความรุนแรงและปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจึงถูกก่อตั้งขึ้นโดยเริ่มต้นจากภารกิจดังกล่าวข้าง ต้น และค่อยๆ เติบโต รับผิดชอบภารกิจหลายด้านเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนกระทั่งถึงปัจจุบัน

­

วิสัยทัศน์

อุปการะช่วยเหลือเด็กและ เยาวชนที่ค่อนข้างมีพื้นฐานยากลำบาก และพื้นฐานครอบครัวไม่พร้อม โดยเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เป็นคนดีของสังคม

­

พันธกิจ

อุปการะช่วยเหลือเด็กและ เยาวชนที่ค่อนข้างมีพื้นฐานยากลำบาก และพื้นฐานครอบครัวไม่พร้อม โดยเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เป็นคนดีของสังคม

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ส่งเสริม สนับสนุน และพิทักษ์สิทธิเด็ก ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก สหประชาชาติ
  • ช่วยเหลือ พัฒนาเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และด้อยโอกาสให้เติบโตอย่างสมบูรณ์ ทั้งร่ายงกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
  • พัฒนาการศึกษา และแสวงหารูปแบบการสร้างสรรค์เด็กให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ และสร้างคุณค่าที่ดีต่อสังคม
  • ประสานงานและร่วมมือกับบุคคล องค์กร และหน่วยงาน ร่วมกันสร้างสรรค์ และเกื้อกูลเด็กในสังคม
  • ไม่แสวงหากำไรและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

­

ผู้บริหารองค์กร
คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร ประธานมูลนิธิ
อาจารย์เกื้อ แก้วเกต รองประธานมูลนิธิฯ
นางสุธาทิพ ธัชยพงษ์ เหรัญญิก
รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ กรรมการมูลนิธิฯ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการมูลนิธิฯ
พล.ต.อ.สุรศักดิ์ สุทธารมณ์ กรรมการมูลนิธิฯ
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กรรมการและเลขาธิการ

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

  • มีคณะกรรมการบริหารซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานช่วยเหลือสังคมมายาวนาน ส่งผลให้การกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรสามารถเข้าถึงปัญหาสังคมได้ในระดับหนึ่งตามเป้าหมายการก่อตั้งขององค์กร
  • ช่วยเหลือ พัฒนาเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และด้อยโอกาสให้เติบโตอย่างสมบูรณ์ ทั้งร่ายงกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
  • มีระบบงานที่เน้นการสร้าง “เครือข่าย” โดยจะประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ซึ่งร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจตั้งแต่การหาแนวทางการทำงานร่วมกัน ประเมินสถานการณ์เด็กและเยาวชนร่วมกัน มีการแบ่งพื้นที่การทำงาน โดยมีประธานเครือข่ายบริหารงานเครือข่ายชัดเจน ส่งผลให้การทำงานมีพลังและครอบคลุมประเด็นปัญหาด้านเด็ก
  • ลักษณะการทำงานจะดำเนินงานตามแผน ซึ่งตั้งไว้โดยโครงการหลักจะเคลื่อนไปทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • มียุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาเชิงรุก โดยไม่รอแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนเฉพาะปลายทางเท่านั้น
  • มีนักวิชาการด้านเด็กซึ่งมีชื่อเสียงอาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ “ครูหยุย” เป็นกรรรมการและเลขาธิการมูลนิธิซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ อีกทั้งมีความสามารถในการสื่อสารให้สังคมเกิดความเข้าใจการทำงานขององค์กร และให้สังคมตระหนักถึงปัญหาเด็กและเยาวชนร่วมกัน นอกจากนี้ยังเคยรับตำแหน่ง วุฒิสมาชิกและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านเด็กให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวและให้ความสำคัญที่สำคัญยังสามารถกำหนดทิศทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนได้
  • มีระบบงานที่เน้นการสร้าง “เครือข่าย” โดยจะประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ซึ่งร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจตั้งแต่การหาแนวทางการทำงานร่วมกัน ประเมินสถานการณ์เด็กและเยาวชนร่วมกัน มีการแบ่งพื้นที่การทำงานโดยมีประธานเครือข่ายบริหารงานเครือข่ายชัดเจน ส่งผลให้การทำงานมีพลังและครอบคลุมประเด็นปัญหาด้านเด็ก
  • ลักษณะการทำงานจะดำเนินงานตามแผน ซึ่งตั้งไว้แล้วโดยโครงการหลักจะเคลื่อนไปทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง
  • เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ ทำงานด้วย “จิตอาสา” คือ มีทัศนคติส่วนตัวในการเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชน ทำให้แม้ค่าตอบแทนจะไม่สูง แต่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ มายาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไปทุกคน ทำให้ขับเคลื่อนภารกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องอีกทั้งส่งผลให้เจ้าหน้าที่เกิดความเชี่ยวชาญในการร่วมกันแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน
  • มีกลยุทธ์ในการระดมทุนที่ไม่กระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ(เนื่องจากมีกล่องบริจาคจำนวนมากจากหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ความสามารถในการบริจาคเงินช่วยเหลือของผู้ต้องการบริจาคลดน้อยลงไป จึงพยายามกระจายกล่องรับบริจาคไปตามหัวเมืองเล็กๆ แม้แต่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และยะลาก็มีกล่องบริจาคของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กระจายอยู่ตามจุดสำคัญๆ
  • มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการระดมทุนช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปร่วมโครงการ “พ่อ แม่ อุปถัมภ์” ช่วยเหลือทุนการศึกษาแก่เด็กเป็นรายบุคคล เป็นต้น

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงานขององค์กร
ประสบการณ์จากการทำงานถูกรวบรวมไว้เป็นข้อมูลเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้ต้องการค้นคว้า หรือวิจัยต่อยอดสำหรับงานด้านเด็กต่อไป

­

รางวัลความสำเร็จ

  • มูลนิธิฯ สามารถหยุดการเร่ร่อนของเด็กและเยาวชนได้อย่างเร็ว โดยเฉพาะจากแหล่งซึ่งเป็นจุดที่พบเด็กเร่ร่อนมากที่สุด
  • เด็กที่เข้ามาอยู่ในมูลนิธิฯได้รับการศึกษาและไม่เป็นภาระต่อสังคม
  • ทำให้ชุมชนตื่นตัวกับปัญหาเด็ก เยาวชนและปัญหาอื่นๆ รู้เท่าทันภัยสังคมและโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมูลนิธิฯกับชุมชนใกล้ชิดกันมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่อีกทั้งยังทำให้สามารถแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนได้อย่างรวดเร็วก่อนที่เด็กจะประสบปัญหาแล้วออกมาเร่ร่อน

โครงการขององค์กร

โครงการ เยาวชนสร้างสรรค์เด็ก : เกิดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนได้ใช้พลังสร้างสรรค์ของตนเอง ที่แอบซ่อนอยู่ในตัว แต่ไม่มีโอกาสได้แสดงออก ถูกดึงออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง ที่ได้มีโอกาสทำประโยชน์เพื่อเด็กที่ด้อยโอกาสกว่า อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนได้เรียนรู้ความจริงของสังคม พัฒนาจิตสำนึกที่ดีเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไปใน อนาคต

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

งบประมาณสนับสนุนต่อเนื่อง

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ที่อยู่: 100/475 ซ.แจ้งวัฒนะ 10 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์: 0-2574-1381
โทรสาร: 0-2982-1477