วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

­

ประวัติความเป็นมา

สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชนในการถอดบทเรียนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการจัดการทางสังคม ชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นสุข



วิสัยทัศน์

สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชนในการถอดบทเรียนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการจัดการทางสังคม ชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นสุข ด้วยปรัชญา “สืบสานภูมิปัญญา พัฒนา
การจัดการ เพื่อสังคม”



พันธกิจ

สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการ จัดการชุมชนของตนเป็นศูนย์การเรียนรู้ หรือ “ห้องเรียนชุมชน” ที่มีชุดความรู้ที่หลากหลาย เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เข้าใจผ่านการสัมผัสและซึมซับ ห้องเรียนไม่มีรั้ว ความรู้ไม่มีกำแพงกั้น มีพ่อครู แม่ครู ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีการดำรงชีวิต ดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ไหนมีชีวิต ที่นั่นมีความรู้ ที่ไหนมีชุมชน ที่นั่นมีห้องเรียน” และขับเคลื่อน
ผ่าน 6 ยุทธศาสตร์หลักที่นำไปสู่สังคมเรียนรู้ คือการจัดการความรู้ของ
ชุมชน/เครือข่าย การสร้างพื้นที่ทางสังคม การสร้างพื้นที่ทางนโยบาย
(เกื้อหนุน) การสร้างนักจัดการความรู้ การประสานเครือข่ายพันธมิตร และ
งานบริหารยุทธศาสตร์

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • สำรวจ เสาะหาชุมชนที่ชาวบ้านสามารถนำความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ (Sufficient Economy Youth Model)
  • เพื่อร่วมกับผู้นำชุมชน “ถอดองค์ความรู้” ว่าชุมชนมีหลักคิด กระบวนการ กลไกอย่างไร สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านยกระดับองค์ความรู้ ขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หรือที่เรียกว่า“ห้องเรียนชุมชน”
  • ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจัดการตนเองทั้งระบบ
  • นำ พื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง ไปขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เช่น เศรษฐกิจพอเพียง, การเมือง สมานฉันท์-ประชาธิปไตยชุมชน, เยาวชน และการศึกษาทางเลือก


  • ผู้บริหารองค์กร

    นายชัชวาล ทองดีเลิศ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม


    รูปแบบการการบริหารจัดการ วิทยาลัย การจัดการทางสังคมมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และองค์กรภาคีต่างๆ ขยายฐานความสัมพันธ์ เชื่อมโยงคนทำงาน การทำงานของ วจส. จึงมีทั้งลักษณะทำเอง หนุนเสริม และร่วมทำกับภาคีพันธมิตร โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้วางกรอบนโยบายใน ภาพรวม วจส. ไม่เน้นการทำงานในลักษณะโครงการ แต่จะวางแผนและกำหนดภารกิจเพื่อกระจายการบริหารไปสู่สำนักงาน วจส.ในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีทีมเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบดำเนินการในภารกิจด้านต่าง ๆ โดยมี ผู้อำนวยการ วจส.ภาคดูแล เช่น ภารกิจสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ การเชื่อมโยงภาคี การผลักดันนโยบาย การทำสื่อแผ่นพับ วีซีดี หนังสือ เพื่อหนุนเสริมให้ชาวบ้านสามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างเข้มแข็ง เป็นต้น

    โครงการขององค์กร
  • โครงการส่งเสริมความร่วมมือการจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่น เป็นโครงการความร่วมมือกับภาคีของ วจส. ในการถอดองค์ความรู้ ท้องถิ่นในภาคต่าง ๆ ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ วัฒนธรรมชุมชน/ความรู้ท้องถิ่น สุขภาพ การบริหารจัดการองค์กร/การจัดการความรู้ การ ศึกษาทางเลือก ปัญหาสังคม เด็กและเยาวชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทรัพยากร การบริหารจัดการองค์กร เกษตรกรรมทางเลือก การจัดการพื้นที่เมือง เป็นต้น และในทุกภาคเกิดพื้นที่รูปธรรมของ ศูนย์ การเรียนรู้หรือ “ห้องเรียนชุมชน” ที่เป็นต้นแบบได้
  • การสร้างพื้นที่ทางสังคมและสื่อสารสาธารณะว่า ด้วยเรื่ององค์ความรู้และกระบวนการสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นด้วยการจัด กิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งการพัฒนาหลักสูตร สื่อ และการเตรียมความพร้อมให้บริการฝึกอบรมสัมมนา และบริการจัดการความรู้ มีการจัดทำ เว็บไซต์ http://www.scbfoundation.com/www.thaiknowledge.org นำเสนอข้อมูลจากงานถอดความรู้หรือแนวคิด หรือบทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้หรือการจัดการความรู้ นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กรและองค์กรภาคี
  • การสร้างพื้นที่ทางนโยบาย โดยเข้าไปร่วมมือกับขบวนเครือข่ายภาคประชาชน จัดกิจกรรมสนับสนุนหรือรณรงค์ เพื่อนำเสนอกลุ่มตัวอย่าง ของการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอนเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต เป็นวิถีชุมชน นำมาใช้ได้จริง
  • การสร้างนักจัดการความรู้ (ฝึกอบรม คู่มือ หลักสูตร)เป็นกลไกหนุน เสริมการทำงานทั้ง 3 ด้านข้างต้นให้เด่นชัดมากขึ้น
  • โครงการสืบสานภูมิปัญญาเพื่อชุมชนเป็นสุข เป็นการทำงานกับกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 4 ภาค ภาคละ 20 คน โดยเน้นการจัดกระบวน การเรียนรู้ของกลุ่มเด็กเยาวชน เข้าไปเรียนรู้กับผู้รู้ในพื้นที่บ้านเกิด ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ปั่นจักรยาน รำมโนราห์ หนังตะลุง เจิง กลอง เล่นดนตรี ลงแขกเกี่ยวข้าว ฯลฯ มีจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเยาวชน รวมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ (ห้องเรียนชุมชน) และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียน


  • ความสำเร็จขององค์กร
    เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ชาวบ้านมีทุนทางสังคมที่ดีอยู่แล้ว เช่น มีระบบเครือญาติที่ดี มีผู้นำชุมชนดี มีทรัพยากร และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ชุมชนสามารถยกระดับความรู้เดิมขึ้นมาแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
  • ชุมชน สามารถเชื่อมโยง กับองค์กรภาคีต่างๆ ได้ โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของเขาเอง เช่น การศึกษาดูงาน มีเวทีพูดคุยกันทุกเดือน และสามารถจัดการกับตัวเองได้ดีขึ้น ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

  • องค์ความรู้จากการดำเนินงานขององค์กร

  • กระบวนการสร้างศูนย์การเรียนรู้ หรือ “ห้องเรียนชุมชน” ในพื้นที่ต่าง ๆ
  • ชุด องค์ความรู้ชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดย วจส.ประมวลได้ 11 ประเด็นความรู้ ดังนี้ การจัดการทรัพยากร, เกษตรอินทรีย์-เกษตรทางเลือก, การจัดการวิสาหกิจชุมชน , ร้านค้า ชุมชน-ธุรกิจชุมชน, การทอผ้า/จักสาน-วัฒนธรรม, การจัดการศึกษาทางเลือก, การบริหารจัดการโดยหลักคุณธรรม, การจัดการที่อยู่อาศัย-ขยะ, กระบวนการจัดการชุมชน, การกระจายอำนาจ,ชาติพันธุ์ ทั้งนี้ทุกประเด็นมีฐานพื้นที่ต้นแบบไปดูของจริงได้
  • รูปแบบกระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของชุมชน
  • เครือข่ายผู้รู้/เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ
  • หลักสูตรท้องถิ่น
  • การยกระดับองค์ความรู้ท้องถิ่นสู่การขับเคลื่อนทางนโยบาย
  • การสร้างนักจัดกระบวนการเรียนรู้
  • ­

    ­

    รางวัลความสำเร็จ
    แม้ผลงานของ วจส.จะไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ในแง่ของการดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จ โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ด้านหลักๆ ได้แก่

  • หนุน ชาวบ้านให้ใช้ความรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิมอย่างเป็นระบบและชัดเจนยิ่งขึ้น ประมาณ 50 แห่ง จากโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดประมาณ 100 แห่ง
  • ยก ระดับประชาธิปไตยชุมชนให้มีการผลักดันไปสู่ระดับนโยบาย ออกเป็นกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมา วจส.เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการทำหลักคิดสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
  • สามารถ ถอดความรู้เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ในทุกภูมิภาค และได้ความรู้ชุดสำคัญว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะทำได้ ไม่ใช่มีมิติด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ชาวบ้านต้องมีความชัดเจนในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ทรัพยากรยั่งยืน เกษตร สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
  • ช่วย ให้เกิดความเชื่อมโยงในโครงการเยาวชนสืบสารภูมิปัญญา ซึ่งเดิมทำงานกันแบบกระจัดกระจาย เมื่อ วจส.เข้าไป สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมให้ทุกกลุ่มสามารถทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงกันได้ จนถึงปัจจุบัน มีประมาณ 30 กลุ่ม แกนนำร่วม 200 คน สมาชิกทั้งหมดกว่า 1,000 คน
  • หลักสูตรท้องถิ่น
  • การยกระดับองค์ความรู้ท้องถิ่นสู่การขับเคลื่อนทางนโยบาย
  • การสร้างนักจัดกระบวนการเรียนรู้
  • รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

    การขยายผลศูนย์การเรียน รู้ที่เข้มแข็งให้กว้างขวางมากขึ้น อันจะทำให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีคุณภาพที่สูงขึ้นเป็นสังคมการ เรียนรู้
    โดยขณะนี้ วจส. อยู่ระหว่างการเชื่อมโยงกับองค์กรภาคีต่างๆ ได้แก่


    • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
    • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
    • สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
    • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในพื้นที่ (กกต.จังหวัด)
    • สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ • เครือข่ายนักวิชาการสถาบันต่างๆ
    • สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    • เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
    • เครือข่ายครอบครัว
    • สภาการศึกษาแห่งชาติ
    • สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
    • สถาบันต้นกล้า
    • เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ
    • เครือข่ายปกาเกอญอ
    • โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
    • ฯลฯ

    ติดต่อองค์กร
    วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
    ที่อยู่: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (สำนักงานกรุงเทพฯ) : 97 ซอยพหลโยธิน 19/1 หมู่บ้านพหลโยธินกอล์ฟ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทรศัพท์: 0-2939-4577-8
    โทรสาร: 0-2939-4860