เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

การทำงานของเครือข่ายชุมชนเขา ราวเทียนทอง เริ่มจากการแกนนำคือ ผู้ใหญ่สายชล พวงพิกุล ที่เล็งเห็นสภาพผืนป่าที่เปลี่ยนไปในทางเสื่อมโทรมของชุมชน ทำให้มีความคิดหาแนวทางในการรักษาสภาพผืนป่าในชุมชน เริ่มจากการเป็นผู้นำซึ่งมีกลุ่มการทำงานเดิมอยู่แล้วคือ กลุ่มแม่บ้านเกษตร ที่เป็นการรวมกลุ่มกันสร้างอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน ทำให้เกิดความคิดเพิ่มเติมว่าควรจัดตั้งกลุ่มพ่อบ้านด้วยเพื่อให้ทุกคนใน ชุมชนได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยเริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อทำงานด้านป่าชุมชนและมีความคิดร่วมกันว่า “ถ้าเราใช้กันอย่างเดียวไม่มีการให้กลับคืนบ้าง ในอนาคตคงไม่มีให้เราใช้อีก” จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับลูกบ้านในชุมชนเพื่อหาแนวทางในการทำงาน

­

วิสัยทัศน์

มุ่งมั่นรักษาป่าชุมชนเขาราว เทียนทอง จ.ชัยนาท ร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างความสามัคคี และหาแนวทางความร่วมมือในการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

­

พันธกิจ

ปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนและเยาวชนให้ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

­

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

  • เพื่อรักษาผืนป่าสงวนแห่งชาติเขาราวเทียนทอง อ.เนินขาม และอ.หันคา จ.ชัยนาท
  • เพื่อเสริมสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความสามัคคี
  • เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • เพื่อสร้างกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติร่วมกันในการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น
  • เพื่อสร้างเยาวชนให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ใหญ่เกิดเป็นเครือข่ายเด็กและเยาวชนที่ร่วมปลูกจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

­

ผู้บริหารองค์กร

คณะกรรมการบริหาร

1. นางสายชล พวงพิกุล ผู้ประสานงานเครือข่าย

8. นายประสิทธิ์ อมรพัฒน์ กรรมการ

2. น.อ. ชลิต มุสิกโชติ ประชาสัมพันธ์

9. นายประสิทธิ์ ยงพิทักษ์วัฒนา กรรมการ

3. นายชัยนันท์ สุวรรณสถิตย์ เหรัญญิก

10. นายยงยุทธ อิ่มรั้ง กรรมการ

4. นายสายรุ้ง ฤทธิ์ทัพ กรรมการ

11. นายสมเจตน์ แจ่มศรี กรรมการ

5. นายซ้อน นาเอก กรรมการ

12. นายประสิทธิ์ ทองเพ็ง กรรมการ

6. นายแฉล้ม เกาะแก้ว กรรมการ

13. นายชวลิต แสงอรุณ เลขานุการ

7. นายมนัส ม่วงเกิด กรรมการ



คณะกรรมการที่ปรึกษา

1. พระครูโกศลชัยพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดหนองยาง

6. ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

2. พระอาจารย์สมคิด ธีรังกุโร
เจ้าอาวาสวัดเขาราวเทียนทอง

7. สำนักงานป่าไม้จังหวัดชัยนาท

3. ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์
ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน

8. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5

4. โรงเรียนบ้านเขาราวเทียนทอง

9. วิทยาลัยการอาชีพหันคา

5. โรงเรียนบ้านสระแก้ว

10. โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์


รูปแบบการบริหารจัดการ
การดำเนินงานของ “เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง” อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารงาน ซึ่งทำหน้าที่บริหารงานและ
จัดทำกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร พร้อมแบ่งโครงสร้างการดำเนินงานออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

  • ผู้ประสานงานเครือข่าย ส่าวนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่บ้านแกนนำหลักในการทำงาน ทำหน้าที่บริหารงานในองค์กรและ
    ประสานงานกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานในการปลูกจิตสำนึกรักษาผืนป่าสงวนแห่งชาติเขาราว
    เทียนทอง
  • ประชาสัมพันธ์เครือข่าย ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การทำงานเพื่อให้หน่วยงานหรือชุมชนอื่นร่วมรับรู้แนวทางการทำงาน
    ต่างๆภายในองค์กร
  • เหรัญญิก ทำหน้าที่ดูแลบัญชีรายได้ของเครือข่ายเพื่อให้สามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร
  • กรรมการ ร่วมกันทำหน้าที่คิดสร้างสรรค์กิจกรรมและการทำงานภายในองค์กร

นอกจากนี้เครือข่ายชุมชนเขาราวเทียนทอง มิได้ทำงานเพียงคนกลุ่มเดียวแต่มีการจัดตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งมีทั้ง
หน่วยงาน วัด โรงเรียน สำนักงานป่าไม้ วิทยาลัยการอาชีพ
ทำหน้าที่ประสานการทำงานร่วมกัน อาทิ วิทยาลัยการอาชีพ
ร่วมทำงานเพื่อให้ความรู้สร้างอาชีพเสริมอย่างการนำผลผลิตจากป่าไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า

สำหรับภาคการศึกษานั้นโรงเรียนต่างๆ ในชุมชนร่วมทำงานผ่าน “กลุ่มเยาวชนต้นตอ” ซึ่งร่วมกันทำกิจกรรมรักษาทรัพยากร
ธรรมชาติและผืนป่า เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษาป่าจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์
ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค (RECOFTC) ที่ร่วมจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพแก่น้องๆในกลุ่มนี้และทำให้กลุ่มเยาวชนต้นตอ
เหล่านี้สามารถผลักดันกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองเกิดเป็นจิตสำนึกร่วมในการรักษาทรัพยากรบ้านเกิด

จากความร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินงานดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกัน ทำให้ป่าแห่งนี้ฟื้นกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง จนได้รับการ
จัดตั้งเป็นป่าชุมชนตามระเบียบและข้อกำหนดของกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
และในปี 2543 ได้มีการขยายขอบเขตการดูแลรักษาพื้นที่ป่าไม้ไปในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติเขาราวเทียนทอง ซึ่งเป็นป่าอีกผืน
หนึ่งที่อยู่บริเวณใกล้หมู่บ้านจำนวนประมาณ 3,500 ไร่

­

ความสำเร็จของการดำเนิินงาน

  • ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าสภาพป่ามีการฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งสามารถลดการทำลายป่าจากไฟป่าได้ ทำให้เกิดความหลาก
    หลายทางชีวภาพ
  • ด้านเศรษฐกิจชุมชนและการทำมาหากิน มีทรัพยากรและอาหารป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์มากขึ้นมากกว่าเดิม สัตว์น้ำ
    เพิ่มปริมาณและหลากหลายมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากป่า เช่น ในปี พ.ศ. 2547
    ชาวบ้านประมาณ 60 ครอบครัว ที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่า (คิดเป็นร้อยละ 52 ของครัวเรือนทั้งหมด) มีรายได้จากการ
    เก็บของป่าขาย 111,264 บาท/ปี หรือคิดเป็น 18,500 บาท/ครัวเรือน
  • ด้านสังคมเกิดความร่วมมือของชาวบ้านในการทำกิจกรรมดูแลรักษาป่า และร่วมมือกับชุมชนใกล้เคียงในการพัฒนา
    เป็นประชาคมตำบลต่อไป รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการให้การสนับสนุนทั้งด้าน
    งบประมาณและทางวิชาการ
  • ด้านการพัฒนาตนเอง ทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ได้แก่ การประชุมวางแผนและติดตามผล
    การทำงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การศึกษาดูงาน การสัมมนาวิชาการ การฝึกอบรม และการเป็นวิทยากรให้กับ
    ชุมชนอื่นเพื่อขยายผล


เงื่อนไขความสำเร็จ

ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ทำให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานจนเห็นผลเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือการมีแกนนำหลัก
คือผู้ใหญ่บ้านที่มีจุดยืนในการทำงานเพื่อชุมชนอย่างเข้มแข็งโดยเริ่มลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำให้ชาวบ้านเห็นและเชื่อมั่นว่า
การทำงานจะประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ความรู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของเยาวชนใน
ชุมชนที่ร่วมทำงานกับผู้ใหญ่ ที่ช่วยขยายการปลูกจิตสำนึกรักธรรมชาติตั้งแต่เยาว์วัยล้วนส่งผลให้การดำเนินงานของเครือข่าย
ป่า ชุมชนเขาราวเทียนทองประสบผลสำเร็จจนสามารถฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของป่าชุมชนเขา ราวเทียนทองให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง และผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทองได้รับ รางวัลต่างๆ มากมาย


องค์ความรู้จากการดำเนินงานขององค์กร

  • การจัดการทรัพยากรป่าไม้
  • ชุมชน มีการจัดทำข้อตกลง กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกันของผลผลิตจากป่า เช่น การเก็บ เห็ดโคน จะเก็บโดยไม่ทำลายรังปลวกที่ทำให้เกิดเห็ดโคน ไม่ขุดจนถึงรังปลวก หลังจากขุดหรือเก็บเห็ดแล้วจะปรับ พื้นที่ไม่ให้
    มีหลุมมีบ่อเพื่อน้ำจะได้ไม่ขัง และซึมลงไปในรัง ปลวกไม่ทำให้รังปลวกเน่าและให้ผลผลิตเห็ดในปีต่อไป หรือการเก็บ
    หน่อไม้และไม้ไผ่ มีการกำหนดเวลาห้ามเก็บ หน่อไม้ช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน
  • การสร้างข้อตกลงในการดูแลและใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชนมีดังนี้
  • 1. ห้ามตัดไม้ หรือขุดย้ายต้นไม้ทุกชนิดออกจากป่าชุมชน
    2. ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด
    3. ห้ามทำให้เกิดไฟป่า
    4. ห้ามนำรถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไป เข้าไปในเขตป่าชุมชน
    5. ห้ามใช้อุปกรณ์ในการขุดหาหน่อไม้
    6. ห้ามเก็บหาหน่อไม้ที่มีความยาวเกิน 1 เมตร
    7. จะต้องมีการหยุดเก็บหน่อไม้ทุกปี
    8. การเก็บหาผักหวานและอีนูนให้ใช้วิธีเด็ดหรือสอย เท่านั้น ห้ามตัดโค่นต้นไม้
    9. การเก็บกลอยและพืชสมุนไพรจะต้องแจ้งต่อ คณะกรรมการป่าชุมชนก่อนเก็บหาทุกครั้ง


รางวัลความสำเร็จ

  • ปี 2551
  • - รางวัลกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น หรือแหนบทองคำ ผู้ใหญ่บ้าน สายชล พวงพิกุล

  • ปี 2550
  • - รางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทบุคคล นางสายชล พวงพิกุล "สร้างแนวร่วม เพื่อรวมพลัง"
    - รางวัลสนับสนุนชุมชนฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า โครงการ ป่างาม น้ำใส ร่วมใจรักษ์ ครั้งที่ 5 มูลนิธิกองทุนไทย
    - รางวัลแม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น ผู้ใหญ่บ้านสายชล พวงพิกุล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ปี 2543
  • - รางวัลตำบลเขียวขจี กรมพัฒนาชุมชน

  • ปี 2542
  • - โลห์ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนดีเด่น กรมป่าไม้

­

บทความที่น่าสนใจ

  • “เยาวชนต้นตอ”ร่วมแตกหน่อ
  • โครงการขององค์กร

    ผลงานเด่นจาก “กลุ่มเยาวชนต้นตอ” เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง จ.ชัยนาท
    กลุ่มเยาวชนต้นตอ เป็นการรวมกลุ่มของเยาวชนเครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง ที่ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมสำรวจป่า การทำแนวกันไฟ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

    กิจกรรมของกลุ่มเยาวชนต้นตอ ยังมีอัลบั้มเพลง “สานสัมพันธ์คนกับป่า” ซึ่งมีเพื่อนๆจากค่ายเยาวชนทอฝัน มาร่วมขับร้องบทเพลงที่มีเนื้อหาและเรื่องราวเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า ที่มีกลุ่มเยาวชนต้นตอเป็นแกนนำหลักในการแต่งเนื้อร้องและทำนองทั้งหมด โดยรายได้จากการจำหน่ายซีดีเพลงนี้ยังได้นำไปใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อปลูกจิต สำนึกในการร่วมอนุรักษ์ผืนป่าในชุมชนของตนเอง

    ­

    ­

    รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

    ต้องการขยายผลการดำเนินงานและสนับสนุนการทำงานขององค์กรให้ดำเนินการอย่างต่อ
    เนื่อง และมีแผนที่จะจัดทำ“หลักสูตรท้องถิ่น”เพื่อร่วมปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์
    ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้การจัดการทรัพยากร
    ชุมชนอย่างยั่งยืน

    ติดต่อองค์กร
    เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
    ที่อยู่: 199 ม.10 ต.เนินขาม อ.เนินขาม ชัยนาท 17130
    โทรศัพท์: 08-6037-3837