โครงการ ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง เยาวชนบ้านหนองยางฟ้า ต.ทาทุ่งหลวง อ.เเม่ทา จ.ลำพูน
พรรณมาลี พานทวีป

­

ถ้าเห็นเพื่อนไม่กินผัก น้องจะทำอย่างไร?

จากคำถาม (ที่เหมือนจะง่าย) คำถามเดียว ใครจะไปคิดว่า 4 น้องวัยใสแห่งเมืองลำพูน จะรวมพลังกันคิดออกมาเป็นกิจกรรมที่ให้ผลอย่างน่าเหลือเชื่อ ไม่ใช่แค่เรื่องกินผัก แต่ยังเชื่อมโยงไปสู่วิถีภูมิปัญญา และเชื่อมร้อยสายใยให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
นอกจากการทำโครงการ”ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง”จะไปเปลื่ยนให้เยาวชนหลายคนในชุมชนหันมากินผักแล้ว แกนนำเยาวชนอย่าง ‘ก้อง-พิมพ์-เอื้อง-ทอย’ ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน ลองไปดูกันว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้พวกเข้าเกิดการเปลี่ยนแปลง

­

“ผมฝึกควบคุมตัวเอง ผ่านการ ฝึกควบคุมกล้อง เพราะต้องได้มุมกล้องและภาพที่ดีออกมาสื่อสาร”

“สำหรับผม สิ่งที่ยากที่สุดในการทำวิดีโอคือการถ่ายวิดีโอครับ” ก้องเล่าต่อ “มันต้องหามุมกล้องที่ดี ควบคุมกล้องให้ดี ซึ่งพวกผมถ่ายกันหลายรอบมากบางครั้งถ่ายอยู่ดีๆ ก็ขำแล้วก็พากันหัวเราะ ก็ต้องเริ่มถ่ายใหม่ ดังนั้นต้องฝึกควบคุมตัวเองและกล้องให้ดี พวกเราก็เปลี่ยนกันถ่ายครับ ก็ได้เรียนรู้กันทุกคน ส่วนการเรื่องตัดต่อก็ศึกษาวิธีทำจากในยูทูปครับ กว่าจะทำเสร็จใช้เวลานานมาก วิดีโอแรกนี่หลายวันเลยครับ”ก้อง-ก้องกิจ อ้ายวัน

­

“ทำโครงการเกี่ยวกับผัก แต่ไม่กินผัก

เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือในบทบาทแกนนำต้องเริ่มฝึกกินผักและทำให้น้องเห็นเป็นตัวอย่าง”ทีมรู้สึกภูมิใจอย่างมากเมื่อพบว่าน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการเริ่มกินผักเยอะขึ้น“เรารู้จากการสังเกตเด็กในซอยที่เราให้ความรู้และชักชวนมาเข้าโครงการ รวมถึงเราใช้แบบสอบถามค่ะ ผลคือเด็กๆ เริ่มกินผักมากขึ้น บางคนที่ไม่กินผักเลยก็เริ่มกินบ้างแล้ว โดยเฉพาะตัวหนูเองเมื่อก่อนไม่กินผัก ก็เริ่มมากินตอนทำโครงการ เพราะเราเป็นแกนนำ ต้องทำให้น้องเห็นค่ะว่าเรากินได้” เอื้องเล่าพร้อมรอยยิ้ม

เอื้อง - ดญ.ภาษินี เจสะวา

­

“ความยากจากสิ่งที่ไม่เคยทำ เปลี่ยนให้เป็นสิ่งถนัดที่เราทำมันได้ และสามารถนำไปปรับใช้ประโยชน์ได้จริง”

การทำสื่อเป็นความยากของ พิมพ์ ที่ไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อนเลย โดยเฉพาะ วิดีโอแต่เมื่อได้ลองทำแล้วก็จะทำเป็น และเกิดเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ในอนาค
“เป็นเรื่องดีค่ะ เพราะได้ประสบการณ์ที่เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ อย่างที่ใกล้ตัวที่สุดตอนนี้ก็คือ ครูให้ทำวิดีโอส่งงานครูค่ะ” พิมพ์เล่าพร้อมรอยยิ้ม

พิมพ์-เพียรนภา เนาวเรศ

­

“ความท้าทาย คือทำอย่างไร? ให้เด็กในชุมชนกินผักในอาหารพื้นเมือง และค้นพบว่าความรู้ประโยชน์ของผักในอาหารพื้นเมืองที่ดี ใกล้ตัวที่สุดมาจาก “ปราชญ์ชุมชน” ของเราเอง

โจทย์ของทีมคือการสร้างกระบวนการให้เด็กๆ ในชุมชนหันมารับประทานผักในรูปแบบของอาหารพื้นเมืองให้มากขึ้น ซึ่งองค์ความรู้ไม่ต้องไปหาไกล เพราะคุณยายของก้องเป็นปราชญ์ชุมชนด้านอาหารพื้นบ้านอยู่แล้ว ที่เหลือก็แค่การวางแผนโครงการและลงมือทำจริง!

ก่อนจะได้ข้อมูล “ตอนแรกเราก็ปรึกษาหาวิธีกับทีม วางแผนเสร็จแล้วเราก็ไปบอกผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำชุมชน เพื่อขอไปชี้แจงโครงการในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านครับ” เพื่อที่ผู้ใหญ่ในชุมชนจะได้ทราบเป้าหมายในการทำงานของพวกเรา ทอยเล่ากระบวนการทำงานของที

ทอย-อัจศราวุธ สารกาศ

­

โครงการนี้คือสิ่งดีๆ นอกจากให้ความรู้เรื่องโภชนาการแล้ว การเรียนรู้เหล่านี้ ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยดึงเด็กๆ ออกจากเรื่องยาเสพติด เกม ฯลฯ และทำให้เด็กๆ รู้จักรากเหง้าของตนเองผ่านวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นอีกด้วย มากกว่านั้น คือเกิดกิจกรรมที่คนในชุมชนทุกช่วงวัยได้มาใช้เวลาร่วมกัน จนทำให้คนในชุมชนไว้วางใจในตัวเยาวชนและร่วมแรงกันเพื่อแก้ปัญหาให้ชุมชนของตนดีขึ้น