การเรียนรู้ของเยาวชนสตูลผ่านประวัติศาสตร์ชุมชนของตัวเอง
เจ้าหน้าที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล

การเรียนรู้ของเยาวชนสตูลผ่านประวัติศาสตร์ชุมชนของตัวเอง  นางสาวเฝาซีย๊ะ ขุนรักษ์

­

คิดได้แล้วทำ ดูแล้วเป็นเรื่อง “ง่าย” แต่เมื่อลงมือทำจริง “ไม่ใช่เรื่องง่าย” ซึ่งอาจจะทำให้เราพบเจอ หัวใจของการทำงานที่แท้จริง อาจจะไม่ได้อยู่ที่เรา “มีองค์ความรู้มาก คิดเก่ง นำเสนอเก่ง” เพียงอย่างเดียว แต่คือ การที่เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่ บทเรียนบางอย่างที่เกิดขึ้น การศึกษาหา “องค์ความรู้” อาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่นำทางให้เราค้นพบคุณค่าของการเรียนรู้ นำมาสู่การ “พัฒนาตนเอง”

­

ลองมาทำความรู้จักกับ “น้องเฝา” หรือ นางสาวเฝาซีย๊ะ ขุนรักษ์ ที่มีตำแหน่งแกนนำสภาเยาวชนในชุมชนเกตรี ที่ใช้โครงการ “เล่าขาน” ตำนาน “บูเก๊ตบุตรี” ที่นี่บ้านฉัน” (หนึ่งในหมู่บ้านที่มีเรื่องเล่าและตำนานในจังหวัด “สตูล”) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และพยายามถ่ายทอดให้กับรุ่นน้องรุ่นต่อไป “เส้นทางการเรียนรู้” อาจจะไม่ได้สวยงามราบรื่นอย่างที่คิด แต่มันอยู่ที่อะไร ? ซึ่งเราอาจจะต้องค้นหาคำตอบด้วยโจทย์ที่เราเลือกเอง

­

เริ่มจากความอยากรู้อยากศึกษา

­

#เริ่มจากความอยากรู้อยากศึกษา

“ชุมชนเกตรี” มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรื่องเล่ามากมาย แต่ไม่เคยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงข้อมูลบอกเล่า ซึ่งคำบอกเล่าของผู้รู้แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน จึงทำให้เยาวชนเกตรีมี “แรงบันดาลใจ” ที่อยากจะบันทึกรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชน อย่างน้อยก็ทำให้เยาวชนเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่ามาจากไหน? มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร? และเริ่มอยากรู้ความเป็นไปของชุมชน

­

การศึกษาประวัติศาสตร์ในชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง

#การศึกษาประวัติศาสตร์ในชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง

สิ่งที่คาดหวังจากที่เราได้มาทำโครงการก็คือ “การได้พัฒนาตัวเอง” จากการลงมือเก็บข้อมูลด้วยตัวของพวกเราเอง ได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน สิ่งสำคัญคงต้องมี “รุ่นน้อง” มาสืบสานต่อ เพราะเราทำงานสภาเด็ก และกำลังเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งก็อยากให้รุ่นน้องที่ทำโครงการกับเราตอนนี้มีโอกาสได้เข้ามาเป็นแกนนำได้อย่างที่พวกเราทำ”

­

คิดแล้วทำไม่ใช่เรื่องง่าย

­

#คิดแล้วทำไม่ใช่เรื่องง่าย

“พอมาเริ่มทำงานจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ต้องนั่งทำงานด้วยกันจนดึกเพื่อที่จะให้โครงการมันออกมาดี ก็ต้องหาข้อมูล ไปบ้านผู้ใหญ่บ้าน ไปอบต. เพื่อไปหาข้อมูลมาทำฐานข้อมูลโครงการ พูดคุยเพื่อให้ได้ความรู้มาเพิ่ม เพราะโครงการที่เราทำนี้ต้องทำเองทั้งหมด ประสบการณ์เรายังไม่เยอะก็ต้องทำให้เยอะขึ้นกว่าเดิม”

“การที่เราเป็นสภาเยาวชน” โครงการที่เรารับผิดชอบก็มีมาก ทำให้มีโครงการที่งานชนกันค่ะ ต้องแบ่งงานกันทำแล้วแกนนำมีน้อย ทำให้เรารู้สึกท้อ มีปัญหากันเองภายในกลุ่ม ต้องมาตั้งสติใหม่ “นี่มันแค่เริ่มต้น” เราจึงแบ่งเวลา และดูความถนัดของคนในทีม ใครถนัดส่วนไหนให้ไปทำหน้าที่ตรงนั้น เพื่อให้มีหน้าที่ในทุก ๆ ส่วนงาน”

“ซึ่งความกังวลที่เกิดขึ้นในการทำงานก็คือ “คน” และการทำงานภายในทีมค่ะ

.........................................................................................................

เยาวชนใน “โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูล” Satun Active Citizen ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสตูล

สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล

สามารถติดตามองค์ความรู้จากโครงการ Active Citizen ได้ที่ http://bit.ly/2xPLCVe

#มูลนิธิสยามกัมมาจล #activecitizen #satunactivecitizen #satun #scb #scbf