โครงการ ศึกษารวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้านเพื่อการฟื้นฟูโดยการหาวิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ชุมชนบ้านทุ่งพัฒนา ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
พรรณมาลี พานทวีป

“อยากให้คนในหมู่บ้านลดการซื้อผักจากข้างนอก หันมาปลูกผักกินเองเพื่อลดรายจ่าย” คำบอกเล่าถึงเป้าหมายสำคัญในการลงมือทำโครงการศึกษารวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้าน เพื่อการฟื้นฟูโดยการหาวิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ของชุมชน จากกลุ่มเยาวชนบ้านทุ่งพัฒน

เพราะอยากเห็นคนในชุมชนหันมาบริโภคผักพื้นบ้านที่ปลอดสารพิษ ในขณะที่ตัวเองก็อยากรู้จักพื้นบ้านให้มากกว่าเดิม ทำให้เยาวชนรวมตัวกันเพื่อสืบค้นข้อมูลผักพื้นบ้านที่มีในชุมชนเพื่อเก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้ และ ทำเนียบผักพื้นบ้านของชุมชน อีกทั้งคิดต่อยอดหาแนวทางการปลูกผักพื้นบ้านให้ดูร่วมสมัยด้วยการปลูกแบบจัดสวน ผักชนิดไหนสามารถปลูกใส่ขวดได้ก็นำมาปลูกใส่ขวดที่สามารถตกแต่งให้สวยงามได้ เพื่อยกระดับผักพื้นบ้าน 

“โครงการนี้ทำให้เราเข้าใจว่า ข้อมูล คือสิ่งสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม”

บทเรียนจากการนำเสนอโครงการในรอบแรก อยากทำโครงการผักพื้นบ้าน แต่กลับตอบไม่ได้เลยว่าผักพื้นบ้านคืออะไรบ้าง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แจ๋ว และเพื่อนๆ มองว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะต้องรู้และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองจะทำให้มากที่สุด เพราะนั่นคือหัวใจหลักของการทำงาน

แจ๋ว - จันทิมา อานัน
โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้าน เพื่อการฟื้นฟูโดยการหาวิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ของชุมช

­

“ประทับใจที่ได้เห็นความช่วยเหลือของคนในหมู่บ้านที่พร้อมใจมาร่วมกิจกรรม ดีใจที่เห็นชาวบ้านให้ความสำคัญกับโครงการของเรา”

งานบุญนูหรี คืองานบุญที่ทีมงานตั้งใจจัดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนพันธุ์ผัก แต่เพราะการสื่อสารที่ผิดพลาดทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด นำผักมากินกับขนมจีนแทน ภายใต้ความไม่เข้าใจของชาวบ้านในวันนั้นทำให้วาซิมรู้สึกประทับใจที่ได้เห็นความใส่ใจของชาวบ้าน และความร่วมมือคนในชุมชน บางคนนำพันธุ์ผักมาให้ บางคนก็ช่วยกันทำอาหารให้กับคนที่มาร่วมงานในวันนั้น

วาซิม ติงหวัง
โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้าน เพื่อการฟื้นฟูโดยการหาวิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ของชุมช

­

“เมื่อก่อนขี้อาย อยู่แต่ในบ้านไม่ออกไปไหน ตอนนี้กล้าแสดงออกมากขึ้น และรู้จักแบ่งเวลามากขึ้น”

เมื่อโครงการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทำให้มาต้องเรียนรู้ที่จะจัดสรรปันส่วนเวลาที่มีให้กับโครงการ จากเดิมใช้เวลาทั้ง 7 วันอยู่กับการเรียน เธอจึงเริ่มแบ่งเวลาช่วง           เสาร์-อาทิตย์ให้กับโครงการ แต่ก็ไม่ลืมที่จะแบ่งเวลาให้กับการเรียนของเธอด้วย 


มา -ปิยานุช ชายเหตุ
โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้าน เพื่อการฟื้นฟูโดยการหาวิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ของชุมช

การรวบรวมและปลูกผักพื้นบ้านของเยาวชนบ้านทุ่งพัฒนา ได้จุดประกายการมีส่วนร่วมและเห็นคุณค่าของการปลูกผักในชุมชนอย่างมาก เพราะโครงการของพวกเขาสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มเพาะเห็ดปลอดสารพิษของผู้ใหญ่ ก่อเกิดเป็นแนวคิดขยายผลจัดทำ ‘ตลาดนัดหมู่บ้าน’ เปิดให้ชาวบ้านนำผักที่ปลูกตามบ้าน รวมถึงปลาที่จับได้มาวางขายแลกเปลี่ยนกัน ส่วนกลุ่มแม่บ้านก็จะตัดเสื้อบ๊ะบ๋ามาขายด้วย

วันนี้ ‘แปลงผักพื้นบ้านเล็กๆ’ ในหมู่บ้านที่กำลังงอกงามด้วยน้ำพักน้ำแรงของเยาวชนโครงการนี้ แม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ที่กระตุ้นให้คนในหมู่บ้านหันมาอยากปลูกผักพื้นบ้านไว้ปรุงอาหาร หรือนำมาขายมากขึ้น แต่คุณค่าที่แท้จริงที่เกิดขึ้นกับชุมชนนั้น คือ โอกาสในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนของเด็กๆ เวทีที่จะช่วยบ่มเพาะให้เหล่าต้นกล้าแห่งบ้านทุ่งพัฒนา ได้เรียนรู้ เติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญของชุมชนต่อไป