การสร้าง CONTENT ที่ดีต้องมีพื้นฐานอะไร???
Suttiwat Naskan

การสร้าง CONTENT ที่ดีต้องมีพื้นฐานอะไร???


ศุทธิวัต นัสการ



           ในยุคปัจจุบันที่มีแบรนด์ (Brand) สินค้าเกิดขึ้นมากมาย หลายต่อหลายบริษัทต่างทุ่มงบประมาณกับการทำโฆษณา และสื่อที่เรียกว่าไวรัล วิดีโอ (Viral Video) แต่หลายบริษัทต่างพบว่าสิ่งที่ตนเองพยายามทำนั้นกับไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเนื่องมากจาก การลืมสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อสาร นั่นก็คือ การมีคอนเท้นต์ “Content” ที่ดี ที่จะทำให้ผู้รับสาร ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายของเราเข้าใจว่าแบรนด์ต้องการบอกอะไรกับพวกเขา ลองมาดูกันว่าพื้นฐานที่สำคัญที่เราจะสามารถสร้างคอนเท้นต์ทีดีได้อย่างไร

  • 1.เริ่มต้นจากอะไรคือ Content Marketing? หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการทำคอนเท้นต์การตลาดคือการ ทำไวรัลวิดีโอ การแชร์ โพสต์ ไลค์ คอมเม้นท์ .... แต่จริงๆ แล้ว คอนเท้นต์การตลาดคือ การทำให้ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงแบรนด์และคุณค่าที่เกิดขึ้นถ้ากพวกเขาเลือกบริโภคแบรนด์ของเรา และในแต่ละคอนเท้นต์นั้นก็ต้องดูว่าเรามีเป้าหมายอย่างไร อยากให้เกิดผลลัพธ์อะไรหากเสนอออกไปแล้ว
  • 2.เรื่องที่สำคัญพอๆ กับการสร้างคอนเท้นจ์ให้น่าสนใจก็คือ การ สร้างให้หัวหน้างาน หรือ ผู้บริหารเข้าใจว่า อะไรคือ Content Marketing และสิ่งที่ได้จากคอนเท้นต์นั้น ไม่ใช่แค่ปริมาณของคนที่เข้ามาดู เข้ามาไลค์เพียงเท่านั้น
  • 3.Content Marketing ไม่ใช่ Interruption Marketing เพราะ คอนเท้นต์คือการสื่อสารเรื่องของข้อมูลที่สร้างคุณค่า ไม่ใช่การโฆษณาขอยของตรงๆ วิธีคิด คือการทำให้คนที่ดูเกิดการรับรู้และอยากที่จะเข้ามารับรู้ข้อมูลที่เราต้องการจะสื่อสาร จำไว้ว่า “คนไม่อยากดูโฆษณา”
  • 4.กลยุทธในการทำคอนเท้นต์ (STRATEGY) เป็นสิ่งสำคัญที่นักคอนเท้นต์ไม่ควรมองข้าม เพราะ จะทำใคอนเท้นต์เป็นที่นิยมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกลยุทธที่วางไว้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ดี ก็มาจากการมองเห็นเป้าหมายว่าเราอยากจะสื่อสารอะไร ต้องการให้เกิดผลอย่างไร เช่น ต้องการให้คนดูเกิดการรับรู้ (Awareness) หรือต้องการอธิบายว่า brand สร้างมูลค่าการตลาดอย่างไร หรือจะสร้าง inspiration หรือจะให้ความรู้ เป็นต้น และที่สำคัญต้องแยก Output กับ Outcome ให้ได้ !!!
  • 5.จำไว้เสมอว่า นักคอนเท้นต์ ไม่ใช่ นักโฆษณา เพราะ วิธคิดช่างแตกต่างกันเสียเหลือเกิน นักคอนเท้นต์นั้น เน้นในเรื่องกการสื่อสารที่เกิดประสิทธิภาพ การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในเนื้อหา ต่างกับการโฆษณาที่บอกคุณสมบัติของสินค้า เป็นต้น
  • 6.การจัดการคอนเท้นต์ (Content Management) ต้องเข้าใจว่าการจัดการคอนเท้นต์ที่ดีนั้น จะต้องมีทีมงานที่ดีและมความสามารถสนับสนุน คนทำคอนเท้นต์ไม่สามารถทำงานทุกอย่างได้ทั้งหมด นั่นหมายถึง คิดคอนเท้นต์ เขียนงาน ออกแบบกราฟฟิค และ อื่นๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ต้องสนับสนุนกัน และผู้บริหารต้องเข้าใจว่า การมีทีมงานที่มีความสามรถ และการแบ่งบทบาทหน้าทีในการทำงานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ!!! ที่จะทำให้ได้คอนเท้นต์ที่มีพลัง
  • 7.KPI หรือดัชนีชีวัดความสำเร็จของคอนเท้นต์ เหมือนที่ได้เกริ่นคร่าวๆ ไปในตอนต้นว่า การชี้วัดนั้นไม่ไช่ปริมาณของจำนวนการเข้ามาดู มาไลค์ มาแชร์ เท่านั้น แต่ตัวชีวัดที่ดีต้องตั้งขึ้นเพื่ออธิบายถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการได้รับแมสเสจนั้น และสามารถเชื่อโยงกับเป้าหมายที่อยากให้เกิดขึ้นได้ต่างหาก
  • 8.Content Optimization ... คือ การปรับปรุง ปรับเปลี่ยนแก้ไขอยู่ตลอดเวลา เป็นที่รู้กันดีกว่า คอนเท้นต์ที่ดี ต้องเหมาะสมกับสภาพบริบทและเงื่อนไขของเวลา คอนเท้นต์ทีดีก็สามารถอยู่ได้นาน แต่กว่าที่คอนเท้นต์จะดีได้ มันต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อขับเคลื่อให้เกิดการพัฒนาที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ มากที่สุด
  • 9.งบประมาณ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ การมีคอนเท้นต์ที่ดีแล้ว เรายังต้องอาศัยสื่อหรือการโปรโมทคอนเท้นต์ให้เป็นที่รู้จักอีก ซึ่งก็เป็นคำตอบว่า ถ้าคอนเท้นต์ดีแต่ไม่ลงทุนต่อในการนำเสนอ คอนเท้นต์ที่ดีก็ไม่มีความหมาย

­





­



CONTENT ทีดี ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี

CONTENT ทีดี ต้องคำนึงถึงว่าใครคือกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย

CONTENT ทีดี ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในการนำเสนอ

CONTENT ทีดี ต้องคำนึงถึงเวลาและความเหมาะสม (กาลเทศะ)

CONTENT ทีดี สามารถนำเสนอซ้ำๆ ได้ตลอด




            สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้ คือ เราสามารถนำวิธีคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการสื่อสารสังคม เพราะหลายครั้งที่เราสื่อสารงานภาคสังคมออกไปสู่สาธารณะ กลับไม่ได้เกิดการรับรู้และการตอบรับที่ดีจากคนในสังคม อาจเป็นเพราะว่า เราไม่ได้จำเพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายและอาจไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการสื่อสาร ถึงจะเป็นคอนเท้นต์ที่ดี ที่สร้างคุณค่าก็ตามแต่เราไม่สามารถใช้คอนเท้นต์เดียวกันในการสื่อสารได้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงหลายครั้งที่การนำเสนอคอนเท้นต์เป็นไปแบบน่าเบื่อรูปแบบซ้ำๆ ไม่เกิดความสร้างสรรค์ นอกจากนั้นแล้วคนที่ทำคอนเท้นต์เองไม่เข้าใจคุณค่าที่ต้องการจะสื่อสารอย่างแท้จริง ทำให้หลายครั้งสื่งที่สื่อสารออกไปเป็นเพียงแค่การทำ What โดยไม่เกิดการรับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่หลายๆ องค์กรทำ ดังนั้นหากหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่เป็นภาครัฐ ที่ต้องการจะสื่อสารคอนเท้นต์อะไรบางอย่างออกไปสู่สังคม อาจจะต้องหวนกลับมาคิดทบทวนอีกครั้งและเห็นคุณค่าต่อเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น การลงทุนหรืองบประมาณที่เสียไปนั้นก็น่าจะสร้างให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้นเช่นกัน




สรุปการเรียนรู้จากงาน SPARK CONFERENCE #2: AGE of EXPERTISE (Content Marketing and Social Media) วันที่ 6 มีนาคม 2558 : Content Marketing Challenge 2015 ผู้บรรยาย: คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง