การเขียนแบบคัดกรองประกอบการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ปศพพ.
ฤทธิไกร ไชยงาม

การบรรยายของอาจารย์ศศินีย์ เรื่อง การเขียนแบบคัดกรองประกอบการขอรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูยน์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) ทำให้ผมได้เรียนรู้หลายประเด็น ที่เด่นๆ เห็นดังนี้ครับ

สาเหตุที่ต้องมีแบบคัดกรองที่ดี เพราะการประเมินจริงที่ใช้เวลาเพียงวันเดียวนั้น การสื่อสารให้กรรมการได้เข้าใจ และเห็นความพร้อมของโรงเรียนในทุกๆ ด้าน (ตามเกณ์ประเมิน) ก่อนวันประเมินเป็นสิ่งจำเป็น กรรมการควรจะรู้ว่าจะไปดูอะไรในวันประเมินจริง ซึ่งจะเน้นการประเมินผลสำเร็จหรือผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนฯ คือ อุปนิสัย "พอเพียง" ของนักเรียน  และวิธีการนำ ปศพพ. มาใช้ในโรงเรียน โดยดูจาก การสัมภาษณ์ หรือจากร่องรอย หลักฐาน ต่างๆ ที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้


ความพร้อมที่สำคัญหรือถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ แสดงดังสไลด์ด้านล่าง
 

ท่านบอกว่า... การเขียนแบบคัดกรองฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียน เป็นหน้าที่ของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่จำเป็นต้อง "สื่อสาร" สื่อสารความสำเร็จและวิธีการนำมาใช้จนเกิดผลสำเร็จนั้น ดังนั้นเราควรมองว่าเป็นการเขียนให้ผู้ที่มาศึกษาดูงานหรือมาเยี่ยมโรงเรียนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะกรรมการที่จะมาประเมินฯ

 

หลักในการเขียนแบบคัดกรองฯ 

  • ต้องเขียนให้เห็น "วิธีคิด" หรือ "กระบวนการคิด" "กระบวนการทำ" ในการขับเคลื่อนฯ
  • ต้องเขียนให้เห็น "วิธีการทำ" "วิธีการนำไปใช้" ว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร วัดผลประเมินอย่างไร ฯลฯ 
  • ต้องเขียนให้เห็น "ความสำเร็จ" คือ เขียนให้เห็นผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมของบุคลากรทั้ง ๔ คือ ผอ. ครู นักเรียน และ กรรมการสถานศึกษา 
  • เขียนให้เห็น "ความเชื่อมโยง" เป็นเรื่องราว เห็นเหตุเห็นผล เห็นบริบท สอดคล้องกัน โดยเขียนให้เห็นภาพรวมก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียดหรือยกตัวอย่างเด่นๆ 

เสนอแนะกระบวนการเขียนแบบคัดกรอง

  • ทุกคนต้องทำความเข้าใจเกณฑ์ก้าวหน้า (เกณฑ์ประเมินก่อน) เนื่องจากเป็นเกณฑ์เชิงคุณภาพ อาจจัดการให้มีการแลกเปลี่ยน ตีความ อภิปราย เกี่ยวกับเกณฑ์ร่วมกัน ฯลฯ
  • ทำกิจกรรม "ถอดบทเรียน" การขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียน โดยจัดให้มีการประเมินผลสำเร็จของโรงเรียนอย่างเป็นระบบก่อน เช่น มีการสัมภาษณ์ครูแกนนำ หรือเด็กแกนนำ ให้ทุกคนเขียนเรื่องเล่าประสบการณ์ขับเคลื่อนของตนเอง ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนทราบผลสำเร็จของการขับเคลื่อน ซึ่งจะส่งผลให้ตระหนักและภูมิใจร่วมกัน 
  • ครูแกนนำขับเคลื่อนหรือผู้อำนวยการ นำผลสรุปจากการถอดบทเรียนและเรื่องเล่าจากทุกๆ ส่วน มาเรียบเรียงตามแบบฟอร์มของแบบคัดกรองฯ 
  • อ่านตรวจทาน แก้ไขคำผิด จับรูปแบบให้เรียบร้อย (ควรอยู่ในไฟล์เดียวกัน)
  • ส่งมายังมหาวิทยาลัย เพื่อจัดส่งไปยังมูลนิธิสยามกัมมาจล และส่วนกลางต่อไป 

ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนแบบคัดกรองฯ ของกรรมการคัดกรองฯ

 


เทคนิคและข้อเสนอแนะในการเขียนแบบคัดกรองฯ

  • ต้องเขียนให้ตรงบทบาทหน้าที่ของตนเอง กล่าวคือ ผู้บริหาร/ครูแกนนำขับเคลื่อน เขียนเรื่องบริหารจัดการและการขับเคลื่อนฯ  ครูเขียนถึงการจัดการเรียนการสอนเป็นต้น โดย อาจารย์ศศินีย์ได้ เสนอแนะโจทย์ของแต่ละฝ่าย ดังสไลด์ต่อไปนี้ 
 
 
 

 

  • ต้องไม่เขียนแบบ "ทวนเกณฑ์" กรรมการฯ พบว่า บางโรงเรียน นำข้อความต่างๆ ที่เขียนไว้ในเกณฑ์ก้าวหน้า มาเขียนแบบ "ทวนโจทย์" แต่ไม่เห็นวิธีการว่าทำอย่างไร วัดอย่างไร จึงทำให้ถูกตีกลับให้ต้องเขียนใหม่
  • ในส่วนเรื่องเล่า ต้องไม่เขียนแบบ "ตอบคำถาม" ให้เขียนเป็น "เรื่องเล่า" ที่ผู้อ่านจะรู้และเข้าใจตามประเด็นโจทย์ต่างๆ ได้เองหลังจากอ่านเสร็จ โปรดดูตัวอย่างในไฟล์เรื่องเล่าตัวอย่าง (ดาวน์โหลดที่นี่)
  • เขียนส่วนเหตุผลที่ขอรับการประเมิน ให้เห็นแรงจูงใจ และความพร้อมของโรงเรียนด้านต่างๆ 
  • เขียนให้เห็นภาพรวมก่อนในเรื่องนั้นๆ แล้วค่อยยกตัวอย่างเรื่องที่เด่นๆ ให้เห็นตามหลักการเขียนฯข้างต้น
  • ฐานการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเขียนรายละเอียดทุกฐาน เลือกเด่นๆ ตามความเหมาะสม ไม่เกิน ๓ ฐาน  
  • จำนวนเด็กนักเรียนแกนนำ ควรใส่ตามจริงๆ มีบางโรงเรียนใส่จำนวนนักเรียนแกนนำ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ของนักเรียน แสดงว่า กรรมการสามารถที่จะสอบถามติดตามหลักฐานต่างๆ ได้จากใครก็ได้ในจำนวนนั้นๆ..

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ท่านสามารถดาวน์โหลด เพาเวอร์พอยท์ ของ อ.ศศินี ลิ้มพงศ์ ได้ที่นี่ และ ไฟล์บันทึกเสียง ได้ทีนี่ครับ