บทเรียนพัฒนาการศึกษาที่ฟินแลนด์
กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร


กิตติรัตน์  ปลื้มจิตร

2  กันยายน 2557



Finnish lesson

Professor Erno Lehtinen, University of Turku

บทเรียนพัฒนาการศึกษาที่ฟินแลนด์ :
100 ปีที่แล้ว ฟินด์แลนด์มีปัญหาเรื่องการรู้หนังสือของคน ต่อมาปัญหาการจัดการศึกษา คือ การศึกษาไม่ตอบโจทย์สังคมที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม
ปี 1970 เกิดการปฏิรูปขนานใหญ่

● กำหนดเป้าหมายการศึกษาที่ชัดเจน
ฟินด์แลนด์ผลิตคนที่เป็นพลเมืองของโลก Global citizen โดย การศึกษา เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน (life long education for all) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการจะไปถึง เขาเชื่อว่าการศึกษาคือเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านต่างๆ ของประเทศ รวมทั้งการศึกษาจะเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจ และนวัตกรรมในประเทศ
รวมทั้งผู้เรียนจะอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข และมีคุณธรรม ดังนั้น บทเรียนสำคัญคือ เราต้องรู้ "เป้าหมายชาติ" ก่อนจะวางแผนการศึกษา

● ปรัชญาที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ ทุกสิ่งที่เรียนรู้นั้นมีความหมายทั้งระดับตัวเอง สังคม และโลก การศึกษาเป็นการสร้าง educate the whole personality of human

● กระจายอำนาจการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Big challange ความท้าทายในการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ คือ โรงเรียนที่มีคุณภาพอยู่แล้วไม่ยากเปลี่ยน ขณะที่โรงเรียนที่จัดการศึกษายังไม่ดีก็กลัวว่าศักยภาพยังไปไม่ถึง สิ่งสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ very decentralized ท้องถิ่นจัดการศึกษาเอง และต้องสร้างให้มีความไว้ใจในการจัดการศึกษาได้อย่างอิสระ มากกว่าการตรวจสอบควบคุม ดังนั้นสิ่งที่โรงเรียน และท้องถิ่นจำเป็นต้องมี คือ accountibility หรือ ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา หรือสร้างคนที่มีคุณภาพสู่สังคม

● กระบวนการพัฒนาครู คือ ♡หัวใจสำคัญ เพราะครูคือ ผู้ที่สัมพันธ์กับเด็ก ดังนั้น ในเรื่องการศึกษานั้น "ความสัมพันธ์" เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดมากกว่าการสอนสาระวิชา วิชาพัฒนาครูจึงเป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก และฝึกสังเกตวิเคราะห์แก้ปัญหาเด็กเป็นรายคน ครูต้องมีกลไก early detection และมี early intervention ในการแก้ปัญหาเด็ก ซึ่งตัวชี้วัดสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอน หรือคุณภาพการศึกษาไม่ใช่คะแนน pisa แต่วัดจาก "ความแตกต่างของเด็กเก่ง และเด็กอ่อนในห้องเรียนลดน้อยลง" ซึ่งเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้เด็กทุกคน

ดังนั้นครูฟินแลนด์จึงต้องจบการศึกษาอย่างน้อย ปริญญาโท มีเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าวืชาชีพหมอ การคัดเลือกครูยากเท่าคัดคนมาเป็นหมอ ครูได้รับการฝึกงาน ฝึกวิชาชีพการสอนตั้งแต่ปริญญาตรี ปี 2 ปี 3 และ ปี 4 ปริญญาโทเรียนรู้ที่จะฝึกการทำวิจัย ที่จะนำมาใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน แก้ปัญหาเด็ก และ พัฒนานวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งระหว่างเรียนครูจะถูกฝึกให้มีวัฒนธรรมการแบ่งปันอยู่เสมอ การเรียนรู้เป็นทีม การทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาเด็ก

หวังว่าไทยจะวิวัฒน์ไปตามความต้องการจำเป็นเร่งด่วน ในเร็ววัน