สรุปบทเรียน จากการลงพื้นที่ 'สำรวจเวลาชีวิต 24 ชั่วโมง' ของเยาวชนสตูล 15 ชุมชน
กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

­

สรุปบทเรียน จากการลงพื้นที่ 'สำรวจเวลาชีวิต 24 ชั่วโมง' ของเยาวชนสตูล 15 ชุมชน พบว่า น้องๆใช้เวลาส่วนใหญ่ไปเรียนและทำกิจกรรมส่วนตัว หลายคนช่วยพ่อแม่ทำสวน กรีดยาง แต่บอกว่า ไม่ได้ทำอะไร! พูดเสียงเบาๆ

เรียนรู้อะไรจากทีมงาน วิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล ที่วิเคราะห์ข้อมูลต่อ... ข้อมูลสะท้อนอะไรที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง?

­


1.เยาวชนไม่ได้ "เห็นคุณค่าของอาชีพพ่อ-แม่"

2.เยาวชนไม่ได้เห็นว่า การใช้เวลาเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ เป็นเรื่องการหล่อหลอมจิตสำนึกสาธารณะ

3.พ่อ-แม่ ให้คุณค่ากับการเล่าเรียน ในระบบ เก่งวิชาการ มอบหมาย "หน้าที่" พัฒนาสำนึก บ่มเพาะนิสัย character building ให้กับโต๊ะครูที่มัสยิด ให้กับอาจารย์ที่โรงเรียน

4.การไม่เห็นคุณค่าในอาชีพของพ่อ-แม่ นำมาสู่การ 'ไม่ภูมิใจในอาชีพของตนเอง' นำมาสู่การไม่รู้จักชุมชน ไม่รู้จักคุณค่าในอาชีพต่างๆในชุมชน ไม่รู้จักจังหวัด ไม่รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด

5.เห็นวัฒนธรรมเกิดใหม่ในวิถีชีวิตวัยรุ่น "ดูบอลกลางคืน เล่นเกม เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค" ซึ่งคนออกแบบกิจกรรม ก็ต้องปรับตัว และให้เวลาส่วนตัวกับวัยรุ่น

6.เยาวชนควรเรียนรู้บทบาทหน้าที่ การทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม

7.ความยั่งยืนในการทำงานพัฒนาเยาวชน ไม่ได้อยู่ที่เยาวชนเก่งขึ้น แต่อยู่ที่...การเรียนรู้้ร่วมกันของพี่เลี้ยงเยาวชน โคช พ่อ-แม่ และผู้นำชุมชนที่เก่งขึ้น ไปพร้อมกับเยาวชน เกิดกลไกความสัมพันธ์ใหม่ในชุมชน และการลงมือทำของเยาวชนส่งผลให้ปัญหาในชุมชนค่อยๆคลี่คลาย

นี่แหละคือ "ระบบนิเวศใหม่" The new social learning ecology เป็นระบบความสัมพันธ์ใหม่ที่ส่งเสริมการพัฒนาประชากรเยาวชน ที่คนในชุมชนลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ส่งมอบอนาคตใหม่ให้ลูกหลาน

­

­

­

#การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

­