หัวใจการเป็น "นักออกแบบการเรียนรู้"
กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร


สนทนาว่าด้วยการเป็น "นักออกแบบการเรียนรู้"


เวลาเราจัดการเรียนรู้ไม่ว่ารูปแบบใดๆ เราจัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้อะไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร?


1. ได้ มุมมองความคิดใหม่ เปลี่ยนทัศนคติ ได้ความรู้ จากเดิมที่ไม่กว้างไม่ลึก แต่เชื่อมโยงได้ ทุกมิติ ทุกมุมมอง ได้ความรู้ที่ลึกขึ้น กว้างขึ้น

2. เปลี่ยนพฤติกรรม การแสดงออก การพูดหรือการกระทำ ที่เปลี่ยนแบบแผนที่เคยเป็นความคุ้นชินเดิมๆได้เลย

3. มี ทักษะ คือความสามารถหรือศักยภาพที่มีมากขึ้นจนเป็นความเชี่ยวชาญ มีหลายอย่าง เช่น ทักษะการคิดที่เป็นระบบ ทักษะการฟัง และอีกมากมายที่เป็นทักษะที่นำไปประกอบอาชีพ และทักษะชีวิต

4. เปลี่ยน สำนึกหรือมโนธรรมทางสังคม ความเข้าใจ ไปถึงเรื่องมุมมองทางสังคม ไปสู่การขับเคลื่อนทางสังคม ความเหลื่อมล้ำทางสังคม สำนึกพลเมือง เป็นสำนึกที่ไม่นิ่งดูดาย ตั้งแต่เล็กๆในครอบครัวไปจนถึงสังคม เช่น เมื่อเห็นคนไร้บ้านแล้วนำไปสู่การทำอะไร น้ำแล้งแล้วเราจะทำอะไร รู้ว่าจะเชื่อมโยงกับสังคมยังไง

5. รู้จักตัวเอง รู้จักตัวตนภายใน การตั้งคำถามกับชีวิต การไตร่ตรองชีวิต 

6. เรื่อง จิตใจและอารมณ์ความคิด เป็นจิตที่ใหญ่ นิ่ง กว้างขวาง เร็วต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่รอบตัว ไม่ได้มองแต่ในตัวเอง นิ่ง ตั้งมั่นได้ กล้าที่จะทานกับกระแสที่ผันผวน เป็นการเติบโตภายใน

7. การ เปลี่ยนแปลงทางด้านปัญญาที่ลุ่มลึก การรู้เท่าทันความจริงที่เป็น ไม่ยึดติดจนเกินไป มีปัญญาคลายการยึดติดได้ ปัญญาที่เห็นสภาวะธรรมแบบไม่มีตัวไม่มีตน เป็นการ เข้าถึงความจริงจนรู้สึกว่าเราปล่อยวางตัวเองได้ เช่น การทำงานกับคนอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เวลาทำงานก็หงุดหงิด แต่เราเข้าใจได้ว่ามีเหตุปัจจัย ที่มา ที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ และเราเท่าทัน จนปล่อยวางได้ทำงานต่อได้ ไม่รู้สึกไม่พอใจจนทำงานต่อไม่ได้ วิธีคิดแบบนี้ทำให้เราทำงานได้ ไม่เป็นคนที่ลมเปลี่ยนทิศ

(การเรียนรู้ในโรงเรียน ส่วนใหญ่ติดยึดแต่การท่องจำ ความรู้ และทักษะ ในข้อ 1 และ 2 แต่การมองเห็นสิ่งที่ลุ่มลึกกว่าไม่เห็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่ขอให้มีอาชีพไปประกอบได้ มีเงินที่เลี้ยงตัวเองได้ แต่มักจะทำให้คนคิดถึงแต่ตัวเอง มากเกินไป)

­

ปัจจัยที่ทำให้การเรียนรู้มันเกิดขึ้นได้ มีสิ่งที่สำคัญที่ต้องล้อกันให้ได้ คือ 


1. การตั้ง เป้าหมายการเรียนรู้ 

2. กา ออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ ที่จะเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ที่กว้างใหญ่ไพศาล และต้องเป็นเรื่องที่ไม่ใช่การใส่เข้าไป แต่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน 

3. กระบวนการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่ทำให้คนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ชัด เป็นการปฏิบัติจริง จึงจะเกิดประสบการณ์ตรง ต้องเชื่อมไปถึงพื้นที่ทำงานจริง โลกจริงที่เขาอยู่ได้

4. กา ถอดบทเรียน เมื่อคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ มันจะเกิดการปิ๊ง ที่เป็นประสบการณ์ภายในที่โยงไปโยงมาของตัวเองและกลุ่ม

(4 ข้อนี้ ถ้าสามารถเชื่อมโยงได้อย่างเป็นรูปธรรมจะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง)

5. การ สร้างบรรยากาศ และพื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัย ทำให้เขารู้สึก "มีเสรีภาพ" ในการแสดงออก ที่เขารู้สึกว่า การพูดของเขานั้นแลกเปลี่ยนได้ สถานที่ที่พร้อมต่อการเรียนรู้ได้ง่าย สอดคล้องกับการเรียนรู้เนื้อหา เช่น เรียนรู้เรื่องความยากจนคงไม่ใช่อยู่บนโรงแรม แต่ควรจะเป็นของจริงที่ชาวบ้านอยู่จริง ไปหาคนไร้บ้านบ้าง ไปหาชาวบ้านที่ถูกเบียดขับโดยการจัดการของภาครัฐ

(โรงเรียนส่วนใหญ่จึงตายแล้ว เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง)

6. กลุ่มเป้าหมายการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญมาก ประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ควรมีพื้นฐานที่เท่ากัน มีความต่างที่ใกล้เคียงกัน คำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียน เราต้องรู้ก่อนว่าจุดประสงค์ในการมาคืออะไร passion ของผู้เรียนอยู่ตรงไหน ต้องแคร์ว่ากลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงยังไงกับกระบวนกร ต้องคำนึง "การเชื่อมกันกับผู้เรียน"

7. ทักษะของกระบวนกร เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สำคัญมาก ๆ ทั้งทักษะที่จะทำให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ภายในตัวเขา ฟังเป็น ตั้งคำถามเป็น มีตัวตนน้อย พร้อมที่จะโดนตั้งคำถาม เข้าถึงผู้เรียน ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ได้ ถอดบทเรียนรู้ได้ ต้องเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนว่าเขาสามารถเข้าถึงบทเรียนได้แตกต่างกัน เชื่อว่าเขามีวิธีการเรียนแตกต่างกันใส่ใจในช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (มนุษย์เรื่องมาก ไม่มีพิมพ์เดียวกัน จึงต้องการช่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน)

8. กระบวนกรต้อง เข้าใจเบื้องลึกของการออกแบบกระบวนการ ต้องมีวิธีคิด สำคัญๆ คือ การแยกแยะองค์ประกอบของเนื้อหาการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ และการออกแบบกิจกรรมที่ทำสัมพันธ์กับเนื้อหาและเป้าหมาย

­

กระบวนการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ตรงเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ทดลองทำ ได้เห็นเอง ลงมือทำเอง ทำให้เราเข้าใจ "เห็นเองด้วยตัวเราเองภายใน" เกิด insight ข้างใน เช่น การบอกว่า น่านมีภูเขาหัวโล้น จากที่คนบอกกล่าว กับการที่ไปสัมผัสเองเห็นเอง ต่างกันมาก แต่การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงเป็นการเข้าถึงที่สัมพันธ์กับประสบการณ์จริง "เห็นและเข้าถึงอย่างประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง" ดังนั้นกระบวนกรต้องออกแบบเอง



กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง อาจมาจาก... 

- เกมกิจกรรมจำลองที่คล้ายๆกับชีวิตจริง เป็นกิจกรรมที่ย่นย่อในไม่กี่นาที
- การลงพื้น ที่ทำให้ได้ประสบการณ์ตรง
- การจัดสัมมนา ให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนวิธีคิด ที่ทำให้เข้าใจผู้เข้าร่วมมากขึ้น
- การทำโครงการเพื่อชุมชน
- ละคร ศิลปกรรมทุกแขนง เป็นสื่อเพื่อให้ได้บทเรียน
- การทำงานทางสังคมที่ผ่านประสบการณ์ตรง
- ประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต
- การไปเดินป่าเพื่อเข้าถึงธรรมชาติ

­

ขอขอบคุณคุณครู...พี่เล็ก และทีมเสมสิกขาลัยครับ