เวทีสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และออกแบบองค์กรสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนระดับจังหวัด
ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร

­การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและออกแบบองค์กร

สนับสนุนการพัฒนาเยาวชนระดับจังหวัด
ณ โรงแรมแม่น้ำรามาดา พลาซ่า
วันที่ 22 - 23 กรกฎาคม 2557


พี่ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ุ กรุณามาเป็นวิทยากรกระบวนการในการทำวิสัยทัศน์ร่วมในโครงการ Active Citizen ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลจับมือกับ สสส.ในการเคลื่อนกระบวนการพัฒนา Active Citizen ใน 4 จังหวัดคือ สงขลา ศรีสะเกษ สมุทรสงคราม น่าน 

ท่านกระตุ้นพวกเราให้คิดว่า วิสัยทัศน์ ที่เราจะทำกันไม่ใช่พูดแต่เปลือกเแต่มีความหมายอย่างไร ? เยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของเราเป็นกลุ่มที่ไม่นิ่ง สภาวะของเขาเป็นสภาวะเปลี่ยนผ่าน มี่ปัจจัยภายในตัวเขาและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อเขาอย่างไร ? และทำอย่างไรจะสามารถทำให้เยาวชนในวันนี้สามารถรักษา spirit ที่มีในวัยเยาว์ต่อเนื่องต่อไปในระยะยาวอีก 20 - 30 ปีข้างหน้าไม่สั่นคลอน ?

­

­

­

­

ผู้เข้าร่วม workshop วิสัยทัศน์ครั้งนี้ล้วนแต่เป็นตัวจริงใน 4 จังหวัดที่สนใจทำงานพัฒนาเยาวชนและพัฒนาชุมชนมายาวนาน ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องทำงานเยาวชนอย่างจริงจังเพื่อเตรียมการส่งมอบอนาคตให้คนรุ่นใหม่

­

­

­

แบ่งกลุ่มย่อยว่าเรามีความคิดความเชื่อเรื่องพัฒนาเยาวชนอย่างไร ? เชื่อเหมือนและต่างกันอย่างไร ? อะไรทำให้คนยึดโยงทำงานกันต่อ ?

­

­

วงนี้บางคนเปิดใจว่าการทำงานกับเด็ก / เยาวชน มีอุปสรรคที่กลุ่มนี้มีความสนใจสั้น การอบรมหรือ workshop เยาวชนต้องหาวิธีทำให้เขายังคงความสนใจในกิจกรรม workshop พัฒนาศักยภาพ เป็นเรื่องท้าทายมาก

­

­

กลุ่มนี้สนใจว่าวิธีการเชื่อมคนหลากหลายที่รักบ้านเกิดเข้ามาทำงานด้วยกันและการรักษา spirit ร่วมให้สามารถทำงานด้วยกันยาวๆ ทำได้อย่างไร ?

­

­

กลุ่มนี้กำลังถกกันว่าพี่เลี้ยงต้องชัดก่อนต้องมี spirit และเข้าใจก่อน ที่สำคัญต้องโตไปด้วยกันกับเด็ก เรียนรู้ไปกับเด็ก

­

­

สนใจถอดบทเรียนการต่อสู้ของสงขลาฟอรั่ม อะไรเป็นเงื่อนไขความสำเร็จ อะไรเป็นบันไดขั้นการพัฒนาโค้ช ปีนี้คุยกัน empower กัน 37 ครั้ง

­

­

การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กแต่ละยุคสมัยต่างกัน เด็กสมัยนี้จะใช้อะไรสร้างแรงบันดาลใจดี ?

­

­

เรียนก่อนจึงไปโค้ชได้

­

­

เสนอผ่านรูปจะทำไงดี ?

­

­

ได้เห็นว่าสงขลาฟอรั่ม ทำพัฒนาเยาวชนได้สำเร็จคือการเปลี่ยนความคิดเด็กและให้พื้นที่การทำงานเป็นโอกาสในการสร้าง Active Citizen ในพื้นที่

­

­

สถานการณ์ที่สร้าง spirit ร่วมของสงขลาฟอรั่มคือ สวล.และการเมืองในพื้นที่ เทียบกับที่สมุทรสงครามเราก็มีสถานการณ์ที่จะสร้าง spirit ได้หลายเรื่องเช่นปัญหาสิ่งแวดล้อมและชุมชน

­

­

เงื่อนไขความสำเร็จของสงขลาฟอรั่มคือผู้นำมีศรัทธาเป็นครูสูงใช้ media education เป็น มีกระบวนการ 5 ขั้นในการสร้างโค้ช มีพลังขับเคลื่อนสูง

­

­

บันได 5 ขั้นในการสร้างโค้ชคือ
1.ผู้นำองค์กรต้องมีพลังของ "ถ้อยคำ" ที่ดึงพลังน้องๆ ได้
2.พี่ 1 คนดูแลน้อง 6 กลุ่มใช้ข้อ 1. กับน้อง
3.พี่ต้องสร้างศรัทธาด้วยการทำความเข้าใจเรื่องที่น้องทำ แนะนำเขาได้
4.ทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงของน้องในประเด็นหลักทักษะชีวิต ... ทักษะพลเมือง
5.มี treatment ที่จะช่วยให้น้องทำงาน (โครงการ) ให้สำเร็จได้

­

­

สงขลาฟอรั่มให้ความสำคัญกับสื่อ แล้วสื่ออะไรที่มีพลังในการทำงานกับวัยรุ่น_คนรุ่นใหม่ ?

­

­

การสร้างทีมและโค้ชของพี่เลี้ยงโดยสงขลาฟอรั่มเป็นอย่างไร ? จึงสืบทอดต่อกันได้มาจนถึงวันนี้ เห็นสิ่งที่ดีคือสงขลาฟอรั่มไปโค้ชพี่เลี้ยงที่มากับเด็กด้วยทำให้มีแรงกระเพื่อมสูงทำเล็กเปลี่ยนได้มาก

­

­

คำถาม
1.การรักษาจิตวิญญาณมายาวนานทำได้อย่างไร ?
2.การทำงานพัฒนาเยาวชนให้เกิดสำนึกพลเมืองทำอย่างไร ?
3.กระบวนการทำงานกับพี่เลี้ยงเด็กทำอย่างไร ?

­

­

1.บทบาทภาคประชาสังคมที่เข้ามาสนับสนุนการทำงานของสงขลาฟอรั่มหรือไม่อย่างไร ?
2.ความสัมพันธ์แนวระนาบของสงขลาฟอรั่มกับเพื่อนๆ ที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ? เพราะน่าจะเป็นแนวทางที่ไปปรับใช้ต่อได้

­

­

1. สงขลาฟอรั่มใช้วิทยุชุมชนสร้างพลังชุมชนพลังคนรุ่นใหม่ตั้งแต่ปี 37 แต่ใน พศ. นี้จะใช้สื่ออะไร ?
2. จุดเด่นของสงขลาฟอรั่มใช้วิธีพัฒนาศักยภาพเด็กด้วยการให้เด็กลองทำงานเอง
3. พี่เลี้ยงมีวิธีหนุนเสริมและตั้งคำถามกับเด็กอย่างไร ?
4. สงขลาฟอรั่มมีวิธีค้นหาเด็กอย่างไร ?

­

­

วิสัยทัศน์คือการแสดงออกของจิตวิญญานของเรา!!
การฟังเรื่องราวจาก timeline การทำงานของสงขลาฟอรั่มจากปากของพี่หนูทำให้เราได้เรียนรู้อะไร ? ทั้ง 5 กลุ่มที่ร่วมกันมองต่างมีวิธีมองที่ต่างกัน
การสร้างวิสัยทัศน์ต้องตั้งคำถามให้เห็นรากเหง้าและจิตวิญญาณของตนเอง

­

­

­

­

­

­

ภาพแสดงความเข้าใจและการตีความการทำงานของสงขลาฟอรั่มจากกลุ่มต่างๆ ที่มาร่วมเรียนรู้
- มูลนิธิวิจัยท้องถิ่น
- มูลนิธิกองทุนไทย
- เครือข่ายรักษ์แม่กลอง
- เครือข่ายวิจัยท้องถิ่นน่าน
- เครือข่ายวิจัยท้องถิ่นศรีสะเกษ

­

­

กิจกรรมที่ 2 ให้แต่ละองค์กรไปคุยกันว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากสงขลาฟอรั่มและจะปรับใช้กับงานของแต่ละองค์กรอย่างไร ?

­

­

รักษ์แม่กลองชวนกันทำ timeline กันใหม่เพื่อทำความเข้าใจความเป็นมาเป็นไปและตัวตน จิตวิญญาณขององค์กร

­

­

ทีมน่านคุยกันว่าความสำเร็จของสงขลาคือได้เด็กตัวจริง แล้วน่านหละ เราได้เด็กมาอย่างไร ?

­

­

ทีมกองทุนไทยว่า สงขลาฟอรั่มมีจุดเกาะเกี่ยวเด็กที่พื้นที่ แล้วกองทุนไทยที่ทำประเด็น สวล.จะมีช่องทางเกาะเกี่ยวและหนุนเด็กระยะยาวได้อย่างไร ?

­

­

เราจะสื่อสารอย่างไรจึงจะสร้างพลังสังคมและเยาวชนให้เกิดความฮึกเหิมเข้ามาร่วมทางทำโครงการชุมชนกับเรา

­

­

­

Fred Kofman : ลูกศิษย์ของ Peter Senge เสนอภาพความสัมพันธ์ 3 ระดับ I, We และ It
1. การทำอะไรดีๆ ต้องมีปรัชญาในการทำงาน ที่ถอดออกมาจากปรัชญาชีวิตของตน การวางรากฐานทางจิตวิญญาณของตนถ่ายทอดไปสู่จิตวิญญาณของงาน การตั้งคำถามว่างานที่ทำมีความหมายต่อตนเอง ต่อพวกเรา / หมู่คณะ และสังคม อย่างไร ? เป็นการวางปรัชญาในงาน
2. เมื่อเห็นจิตวิญญาณแล้วจะต้องคิดถึงโครงสร้างและเครื่องมือในการทำงานมารองรับการทำงาน และมีกระบวนการอย่างไร


3. ชั้นสุดท้ายผลลัพธ์คือเป้าหมายความสำเร็จจะตามมาเมื่อมีปรัชญารองรับ โครงสร้างรองรับ

ข้อแนะนำคือให้แต่ละกลุ่มค้นหา 3 มิติ 3 ระดับคือ I,We,It และ ระดับปรัชญา โครงสร้าง และเป้าหมายผลลัพธ์ เพื่อไปทำ timeline จะทำให้เราสามารถตั้งคำถามกับ timeline การทำงานของเราเพื่อปรับงานได้ดีขึ้น พี่ชัยวัฒน์ว่างั้น ลองไปทำดูนะคะ

­


ชม "เวทีสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และออกแบบองค์กรสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนระดับจังหวัด"
ของวันที่ 22 - 23 กรกฎาคม เพิ่มเติมได้ที่ http://goo.gl/BC1Rpz