ตัวอย่างการวางแผนการสอนที่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิด โดย คุณสุจินดา งามวุฒิพร
Atomdony Modtanoy
เป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารโรงเรียนและคุณครูที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมต้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำกันอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะมีชิ้นงานให้ร่วมกันระดมความคิดในกลุ่ม 3 ชิ้น ได้แก่ Smile การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการเขียนแผนการสอน
Smile การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแบบสหวิทยาการ
Smile การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
ในแต่ละชิ้นจะมีอยู่ 3 ใบงาน ประกอบด้วย วิธีการเตรียมการเขียนแผนการสอนจะต้องบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ได้ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร และประเมินผลลัพธ์ (KPA) คุณลักษณะที่เกิดกับผู้เรียน นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงหรือไม่ อย่างไร
จะขอยกตัวอย่างชิ้นงานแรก เรื่อง “การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนการสอน “ มีการนำเสนอของท่านผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มหนึ่ง ผู้นำเสนอ คือ ผอ.ธีระวัธน์ สิงหบุตร จากโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม กลุ่มของท่านวิเคราะห์ไว้ครบถ้วนมาก จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจนะคะ
ใบงานแรก "ครูจะใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรในการจัดการเรียนการสอน"
พอประมาณ ใช้เวลาอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน เหมาะสมกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่ออย่างเหมาะสม งบประมาณและบริบทเหมาะสม
มีเหตุมีผล วัตถุประสงค์และเหตุผลในการจัดการเรียนรู้ตรงตามคุณภาพผู้เรียน ก่อให้เกิดลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีเหตุมีผล มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียน
ภูมิคุ้มกัน มีแผนการจัดการเรียนรู้ ครูมีทักษะในกระบวนการแก้ปัญหา มีแผนสำรองสำหรับรองรับเหตุฉุกเฉิน
ความรู้ ครูต้องมีความรู้เรื่องการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์หลักสูตร รู้เรื่องรูปแบบ/กระบวนการวัดผล ประเมินผล มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
คุณธรรม ครูต้องมีความรับผิดชอบ เป็นมืออาชีพ ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้มาแนะนำเด็ก
ใบงานที่ 2 "นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง"
พอประมาณ ได้รู้ศักยภาพตนเอง สถานภาพตนเอง (พ่อแม่ ครอบครัวมีฐานนะอย่างไร ชุมชน ประเทศ เป็นอย่างไร)
มีเหตุมีผล นำความรู้จากห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันตามสถานการณ์และอย่างมีเหตุมีผล
ภูมิคุ้มกัน รอบคอบในการดำเนินชีวิต ใช้ศักยภาพตนเองได้เต็มที่ รู้ภาวะเสี่ยงและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความรู้ ได้ความรู้ 8 กลุ่มสาระวิชา รู้ ตระหนักและประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรม เกิดได้มากมาย (ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เน้นย้ำว่าครูต้องสร้างเงื่อนไขการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์นี้ด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงความคาดหวังที่อยากให้เกิดคุณธรรมได้เอง)
ใบงานที่ 3 "ประเมินผลลัพธ์ (KPA) คุณลักษณะที่เกิดกับผู้เรียน" โดยเชื่อมโยงกับ 4 มิติ คือ วัตถุ (เศรษฐกิจ) สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ความรู้
วัตถุ รู้หลักการใช้เงินและสิ่งของอย่างคุ้มค่า
สังคม รู้และเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
สิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
วัฒนธรรม รู้จักท้องถิ่น
ทักษะ
วัตถุ ใช้วัตถุอย่างคุ้มค่า
สังคม มีทักษะการทำงานเป็นทีม ปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
สิ่งแวดล้อม ดูแลสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมของท้องถิ่น
ค่านิยม
วัตถุ ประหยัดและออม
สังคม สามัคคี แบ่งปัน จิตอาสาและจิตสาธารณะ
สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และเห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม รักความเป็นไทย และเข้าใจความเป็นสากล
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนจากการระดมความเห็นของกลุ่มผู้บริหารในงานชิ้นแรก ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่คุณครูได้ช่วยกันระดมความคิดกันอย่างเข้มข้น ซึ่งผลงานที่เสร็จสมบูรณ์หลังจากปรับแก้ไขแล้ว ทางโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงจะนำขึ้นเว็บที่www.sufficiencyeconomy.org ต่อไปค่ะ เชื่อว่าเมื่อคุณครูเข้าใจและสามารถเขียนแผนการสอนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้แล้ว จะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อตัวคุณครูเองและนักเรียนที่เป็นผลลัพธ์ของความสำเร็จ