เขียนแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงต้องครบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ? โดย คุณศศินี ลิ้มพงษ์
Atomdony Modtanoy

ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ ได้เคยบรรยายเกี่ยวกับการจัดทำแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า

“คุณ ครูจะนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขสมดุล 4มิติ ไปบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้ หรือแม้แต่แผนการจัดการเรียนรู้แผนเดียวก็ตามคุณครูจะต้องบูรณาการให้ครบทุก องค์ประกอบของหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทั้ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยเริ่มต้นพิจารณาที่เงื่อนไขความรู้ก่อน ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ คุณครูจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง จะต้องจัดเตรียมความรู้อะไรบ้าง เด็กจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ทั้งก่อน ระหว่างแล้วก็หลัง จะต้องคิดให้รอบคอบก่อน ความรู้ที่ถูกต้องตามวิชาการ หลังจากนั้นในการจัดการแผนการเรียนรู้นี้ ครูจะส่งเสริมให้เกิดคุณธรรมในด้านได้บ้าง อย่างไร คำว่า อย่างไรนี้ คือไปสอดแทรกในขั้นตอนการเรียนรู้เด็กจะได้ประสบการณ์ แต่ต้องมีเป้าหมายชัดเจนก่อน ว่าต้องใช้คุณธรรมอะไรในการที่จะทำให้การเรียนรู้ของแผนบรรลุวัตถุประสงค์ เช่นเด็กต้องมีความอดทนหรือไม่ เด็กต้องมีความเสียสละหรือไม่ เด็กต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ ครูต้องวางแผนก่อน หลังจากวิเคราะห์เงื่อนไขแล้ว ครูก็มาดูว่าจะจัดการการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรู้ เรื่องความพอประมาณอย่าง ไรบ้าง เช่นใช้ของอย่างพอประมาณไม่มากไม่น้อยเกินไป ใช้เวลาในการทำงานไม่มากไม่น้อยเกินไป ทั้งของทั้งเวลาเป็นตัวอย่างของทรัพยากรที่ต้องใช้อย่างพอประมาณ เด็กต้องไปวิเคราะห์ด้วยว่าจะใช้ทรัพยากรอะไรบ้างในการทำงาน ต่อมาเรื่องเหตุผลครูต้องวิเคราะห์ก่อนจึงจะวางแผนได้ว่า การเรียนการสอนนี้จะทำให้เด็กคิดเป็นเหตุเป็นผลอะไรบ้าง เช่น ถ้าใส่กรดเข้าไปสีจะเปลี่ยนเป็นอะไร เหตุผลคืออะไร เด็กต้องฝึกความเข้าใจ อย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือทำไมเล่นบาสเก็ตบอลต้องยิงลูกโทษ

เหตุผล คืออะไร ซึ่งเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎกติกา การเล่นบาส ต้องมีคุณธรรมในการเคารพกฎกติกา ซึ่งเราต้องคิดไว้แล้วก่อนหน้า ให้เด็กเข้าใจเหตุผลว่าทำไมจะต้องเคารพกฎกติกา ส่วนภูมิคุ้มก้นในการเล่นบาสเกตบอลเล่นอย่างไรไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ทะเลาะกัน ไม่ให้เหนื่อยเกินไป จนกระทั่งไปนั่งหลับในชั่วโมงต่อไป แต่ขณะเดียวกันต้องทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย ให้ได้ซึมซับเรื่องการเคารพในกฎเกณฑ์ กติกา เห็นหรือไม่ชั่วโมงพละให้เล่นบาสเกตบอล ก็บูรณาการได้หมด 3 ห่วง 2 เงื่อน ถ้าไม่ครบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง มันเป็นเศรษฐกิจพอพัง เป็นเศรษฐกิจพร้อมพัง เพราะฉะนั้นเวลาบูรณาการต้องให้ครบ

อีก ตัวอย่าง การสอนการทำกระทง พอประมาณการใช้ใบตอง แค่อย่างไร ไม่มากไม่น้อยเกินไป เหตุผลทำไมต้องใช้ใบตองใบอ่อน ใบแก่ ใบแก่ใช้ข้างล่าง ใบอ่อนใช้ข้างบน ภูมิคุ้มกันการใช้ใบตองอย่างไรไม่ให้ยางเหนียวๆ ติดไม้ติดมือ ไม่เลอะ ต้องมีสติในการใช้ใบตอง วางแผนดีๆ ทำอย่างไรให้ใบตองออกมาสวยงาม นี้ก็เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เข้าต้องมีความรู้ ว่าใบตองใบแก่มันแข็ง ใบอ่อนมันนุ่มกว่า นี้คือความรู้เบื้องต้น เด็กต้องรู้อย่างนี้ก่อน ถึงเด็กไม่รู้ คุณครูต้องรู้ คุณครูจึงจะสอนเด็กได้ ความรู้อะไรอีก ควรรู้ว่าใบตองนี้เวลาเอาเข็มกลัด หรือที่เย็บกระดาษจะใช้อย่างไรไม่ให้เกิดบาดเจ็บ เป็นภูมิคุ้มกัน ไม้กลัดจะกลัดอย่างไรถ้าใหญ่ไปก็ไม่ได้ ใบตองจะแตก ภูมิคุ้มกันก็มากับความพอประมาณอีก ต้องมีความรู้เรื่องนี้ คุณธรรมเด็กต้องใจเย็น เวลาจะกลัดใบตองเด็กจะต้องใจเย็น เวลาฉีกใบตอง ต้องใช้ความอดทน ความเพียรหรือไม่ เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไปหมดเลย

ขอ แนะนำ Blog ของคุณสุจินดาค่ะ มีเรื่องการบูรณาการในสาระวิชาภาษาไทย สังคม และมีตัวอย่างการบูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนการเรียนการสอนสรุปจากการอบรมโครงการเสริมศักยภาพครู บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ที่จัดโดยโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง และศธ.ค่ะ