การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลเสริมพลัง โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชน
Nathchida Insaart

การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลเสริมพลัง (Empowerment Evaluation : EE)
โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อการพัฒนาเยาวชน จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

การประชุมครั้งนี้มี 2 ภาคี เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ "สงขลาฟอรั่ม" ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา และ "มูลนิธิกองทุนไทย" ผู้ดำเนินโครงการ "ปลูกใจ...รักษ์โลก" กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน ระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2558 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ 

­

­

­เสริมพลังขั้นที่ 1 

โจทย์ภาพฝัน...โครงการพลังเยาวชนพลเมืองสงขลา
สิ่งที่ทีมงานสงขลาฟอรั่ม เยาวชน พี่เลี้ยง ร่วมกันระดมความคิดมีภาพฝันอยากเห็นพลเมืองสงขลาเป็นคนที่มีคีย์เวิร์คสำคัญๆ เป็น...
-พลเมืองเยาวชน
-ความรู้จากการปฏิบัติจริง
-จิตสำนึกพลเมืองรักและปกป้องบ้านเกิด
-พื้นที่การเรียนรู้ของโครงการเป็นต้นเหตุในการปลูกพลัง สร้างสิ่งที่งามให้ประเทศนำไปสู่ความยั่งยืน
-พลเมืองเยาวชนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ความรู้ที่ตนสร้างเป็นฐาน
-พัฒนาตนเองและกลุ่มด้วยทักษะชีวิต ฉลาดรู้
-การสื่อสารสาธารณะด้วยพลังถ้อยคำ
-เป็นพลังในการปรับเปลี่ยนระบบคิดของสถาบันการศึกษาและชุมชน
-สร้างความรักแบบครอบครัว
นำทีมโดยพี่หนู พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม

ปลุกหัวใจไปให้ถึง..
“โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา เป็นกระบวนการสร้างพลเมืองเยาวชนที่พัฒนาตนเองและกลุ่มให้มีทักษะชีวิต และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกพลเมืองรักและปกป้องบ้านเกิด”

นี่คือความหมายของโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โดยสงขลาฟอรั่ม ที่สรุปความคิด ณ วันนี้

­

เริ่มเช้านี้ด้วยสมาธิผ่อนคลาย..ก่อนเสริมพลังในวันที่สอง 

การนั่งสมาธิคือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การเริ่มเช้าวันใหม่ในการทำงานได้อย่างมี “สติ”


­

วันสุดท้าย Check in….
เช้านี้คุณ Check in แล้วหรือยัง! หนึ่งในกระบวนการเรียนรู้การเปิดใจ ผ่อนคลาย กับเพื่อนๆ ร่วมเวที เป็นการรีเฟรสตัวเองเพื่อรับการประชุมในเช้าวันนี้

­

­


คุณค่าของเยาวชนสงขลา

"สงขลาฟอรั่ม" ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ได้ถอดบทเรียนการทำโครงการมา 3 ปี
- เยาวชนมีทักษะชีวิตการแสดงออกเพิ่มมากขึ้น
- เยาวชนได้เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
- เยาวชนเกิดความรู้ องค์ความรู้จากการปฏิบัติจริง เช่น เรื่องหาด ที่นำความรู้ไปใช้ได้จริง
- เยาวชนเกิดความรอบรู้มากขึ้
- เยาวชนทำให้เกิดการยอมรับในการนำ”ความรู้”ไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรพัฒนานิสิตนอกชั้นเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
- เยาวชนสร้างองค์ความรู้การเปลี่ยนแปลงของชายหาด
- เยาวชนเห็นคุณค่าในประวัติศาสตร์ในชุมชนมากขึ้นและหวงแหน
- เยาวชนจุดประกายเรื่องประวัติศาสตร์แหล่งโบราณ
- เยาวชนได้จุดประกายความคิดให้เกิดเครือข่ายในการทำงานด้วยกันในเมืองสงขลา
- เยาวชนสร้างสามารถศรัทธาและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนนอกพื้นที่และสามารถเปลี่ยนทัศนคติของครูในโรงเรียน 

­

­

­