เวทีรายงานผลดำเนินงานต่อคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ 1/2558
Nathchida Insaart

เวทีรายงานผลดำเนินงานต่อคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการโครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดเพื่อสร้างพลเมือง เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 9.00 – 14.00 น. ณ ห้อง Victory Room โรงแรม VIC 3 Bangkok สนามเป้า

­

­

กล่าวเปิดงาน

“...มูลนิธิสยามกัมมาจลเป็นเพื่อนของคนที่ทำงานทางด้านการพัฒนาเยาวชนซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ โดยใช้วิธีคิด วิธีทำงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่อง และให้องค์กรภาคีร่วมเป็นตัวของตัวเอง โครงการนี้เน้นท้องถิ่นเพราะที่ผ่านมาการเน้นที่ส่วนกลางมากเกินไปจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้ท้องถิ่นไม่แข็งแรง แนวโน้ม 20-30 ปีที่ผ่านมาเยาวชนอยู่ในฐานะลำบากเยาวชนถูกกระทำ มองว่าเยาวชนจะพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพได้สูงกว่านี้และมีชีวิตที่ดีกว่านี้อีกเยอะ มีเยาวชนที่เพลี้ยงพล้ำมีเยอะซึ่งไม่ควรเป็นเช่นนี้ เราต้องช่วยกันให้ลดน้อยลงกว่านี้ ช่วยกันทำให้ลูกหลานไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เพลี้ยงพล้ำ หลักการหัวใจสำคัญ โจทย์ทำให้เด็กเกเรเป็น SOMEBODY ให้ได้จะทำให้พวกเขารู้สึกภูมิใจ พวกเราที่มาร่วมกันในที่นี้ก็น่าจะมีแนวคิดเดียวกันนี้ในการร่วมกันพัฒนาเยาวชน....”
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล 



เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็น Active Citizen

คุณอุบลวรรณ เสือเดช ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวถึงเป้าหมายในกระบวนการของการพัฒนาโครงการตลอดระยะเวลา 6 เดือน เพื่อพัฒนาให้เยาวชนได้รู้จักถิ่นเกิดตัวเอง และสามารถเชื่อมสู่สังคม-โลกได้ รู้จักคิด วิเคราะห์ พัฒนาลักษณะนิสัยเช่นความรับผิดชอบ ด้านทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อนำไปสู่การเป็น Active Citizen นั่นเอง

...โดยมีวัตถุประสงค์การประชุม เพื่อให้องค์กรพัฒนาเยาวชนทั้ง 4 แห่งได้มีการรายงานผลการดำเนินงานระยะแรกของโครงการต่อคณะกรรมการกำกับทิศทาง และรับฟ้งข้อเสนอแนะต่อการวางแผนดำเนินงานในระยะต่อไป เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนเรื่องรูปแบบการพัฒนาเยาวชน active citizen ในระดับจังหวัด ขององค์กรทั้ง 4 แห่ง

....กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเวทีมี 4 พื้นที่ 1. เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม: โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.ศรีสะเกษ: โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ3. เจ้าหน้าที่มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน (วัดโป่งคำ): โครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย

­

­

กระบวนการเรียนรู้ภาคตะวันต

....การให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่น เช่นการให้เยาวชนได้ทดลองให้ชิมน้ำในแม่น้ำ แต่พวกเขาไม่กล้าชิมเพราะบอกว่าน้ำไม่สะอาด ทำให้เห็นว่าเพราะเด็กเชื่อมโยงไม่ได้ว่าน้ำประปาที่ตัวเองใช้มาจากไหน จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กมีจิตสำนึกรับต่อการเปลี่ยนแปลงวันข้างหน้า เราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางสังคม สร้างความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสาธารณะให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีบทบาทในการดูแลตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นในอนาคต โดยผ่านการเรียนรู้และการเสริมสร้างศกยภาพ ภายใต้การทำกิจกรรม
...หัวใจสำคัญและที่จะทำต่อคือการสร้างกลไกให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เรื่องกลไกพี่เลี้ยง ประสบการณ์การทำงานหนึ่งปีที่ผ่านมาทำให้ทีมงานเกิดการเติบโตได้เรียนรู้พลังพลเมืองอย่างแจ่มชัดขึ้น...
ชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ ผู้จัดการศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม: โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก

­

­

ฟื้นเยาวชน สานต่องานผู้ใหญ่

กระบวนการหนุนเสริมพัฒนาเยาวชนในโครงการมี 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่สำคัญเช่นเรื่องการหนุนเสริมทักษะชีวิตกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการศึกษาและความรู้ ช่วยสร้างให้เยาวชนเกิดสำนึกเรื่องท้องถิ่นและสำนึกความเป็นพลเมือง

ผล...หลังทำโครงการมา 6 เดือน เยาวชนศรีสะเกษได้กลายเป็นพลังของทั้งโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ

ผล...พี่เลี้ยงในชุมชนเริ่มเห็นผลการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ จากการทำโครงการระยะแรกจะทำแทนเด็กเพราะกลัวว่าโครงการทำแล้วไม่สำเร็จ พอมาถึงระยะกลางๆ เริ่มเข้าใจกระบวนการว่าควรให้เด็กลงมือทำเองจึงปล่อยให้เด็กทำเอง เพราะมั่นใจศักยภาพว่าเด็กสามารถทำได้แล้วนั่นเอง

ผล..ความสำเร็จโครงการเยาวชนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น โรงเรียน เช่นโครงการ โซดละเว ผ้าไหมลายลูกแก้ว เป็นต้น

- การรายงานโดยคุณรุ่งวิชิต คำงาม หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.ศรีสะเกษ: โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ -

­


กระบวนการปลุกหัวใจไปให้ถึง

นางพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม นำเสนอโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา

จุดเริ่มต้น...การสร้างพลเมืองคือการสร้างคุณภาพของประชากร คุณภาพที่มองเห็นแผ่นดินเกิดโดยเริ่มจากแผ่นดินเล็กๆ ในบ้านตนเอง ซอยเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน ให้เขาได้มีเส้นทางที่จะทำประโยชน์ให้พื้นที่ชุมชนเหล่านั้นได้บ้าง เขามีเรื่องอะไรที่อยากทำ อยากหนุน ให้มีประโยชน์ขึ้น...

วิสัยทัศน์โครงการ
ปลุกหัวใจไปให้ถึง “...โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา เป็นกระบวนการสร้างพลเมืองเยาวชน เพื่อพัฒนาตนเองและกลุ่มให้มีทักษะชีวิตเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกพลเมืองรักและปกป้องบ้านเกิด..”

กระบวนการสร้างพลเมืองเยาวชนโดยสงขลาฟอรั่ม 1.กระบวนการพัฒนาโครงการเยาวชนด้วยวิธีกลั่นกรองหลายมิติ 2.กระบวนการ Coaching (พี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา) 3.กระบวนการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองจากชุมชนพลเมืองที่มีอยู่จริง-กรณีชุมชนริมน้ำคลองแดน 4.กระบวนการสรุปบทเรียน/สื่อสารสาธารณะ

ผลลัทธ์ 3 ปี สงขลาฟอรั่มได้สร้างแกนนำเยาวชนที่เป็น Active Citizen จำนวน 65 กลุ่มกระจายอยู่ทั่วจ.สงขลา เยาวชนเหล่านี้
ตัวอย่างกลุ่ม The Sand ที่ศึกษาเรื่องกรณีเรืออรพิณ 4 มาติดอยู่ที่ชายหาดสมิหลา 3 เดือนกลายเป็นกรณีศึกษาและสร้างเด็กกลุ่มนี้ให้มีทักษะการวัดหาดและกลายเป็นกลุ่มวิทยากรการวัดหาดประจำเมือง


­

“พี่ต้องไม่ครอบงำความคิดของน้องต้องจับหัวใจโครงการของน้องให้ได้ ต้องไม่ทำให้ฝันหรือหัวใจสำคัญของโครงการน้องเสียไป...
มินี” นูรอามีนี สาและ จากสงขลาฟอรั่ม :โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ร่วมสะท้อนบทบาทการเป็นพี่เลี้ยง

­



ผลการพัฒนาเยาวชนเมืองน่าน...


พระครูสุจิณนันทกิจ (พระอาจารย์สมคิด จารณธัมโม) ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน (วัดโป่งคำ): โครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน

“ทางมูลนิธิมีฐานทุนเดิมคือเครือข่ายพระสงฆ์ เครือข่ายโรงเรียน ระดับโรงเรียนประถมและมัธยม เครือข่ายงานวิจัยเดิมกับเครือข่ายน่าน งานวิจัยเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้คนน่านตื่นขึ้นมาให้รู้ว่ามีภัยบางอย่างเข้ามา เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เมืองน่าน...

โครงการที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนมาเรียนรู้ ผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนที่ทำให้เยาวชนสามารถเชื่อมตัวเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานสืบทอดร่วมดูแล ในฐานะที่เป็นพลเมืองรุ่นใหม่ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเมืองน่านท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างสมดุล

นายอภิสิทธิ์ ลัมยศ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้โครงการ
กระบวนการพัฒนาเยาวชนจังหวัดน่าน คนเหนือเรียกว่ากลุ่มหนุ่มสาวที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันซึ่งเรียกว่า “เยาวชน”
กระบวนการในการพัฒนาเยาวชนน่าน เริ่มตั้งแต่การค้นหาเยาวชนผ่านข้อเสนอโครงการ (Community Project) พัฒนาศักยภาพเยาวชน โดยใช้หลักงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือพิจารณาโครงการ ให้ความสำคัญในระยะต้นน้ำที่มีการคัดกรองโครงการเป็นพิเศษ....

ปีแรก จาก 18 โครงการ ในสามประเด็นการจัดการทรัพยากร ความมั่นคงทางอาหาร ประเพณีวัฒนธรรม ผ่านมาหนึ่งปี เยาวชนแกนนำเห็นผลที่เกิดขึ้นคือการทำงานเป็นทีม ความสัมพันธ์กับชุมชน แต่ที่ยังขาดคือเรื่องการวิเคราะห์ การบันทึกข้อมูล

หนึ่งปีที่ผ่านมาเกิด...

กลุ่มฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง น้องๆ สนใจศิลปะพื้นบ้าน ถือเป็นมรดกล้ำค้าของคนในชุมชน เยาวชนหลงลืมอนุรักษ์ ทำอย่างไรให้สืบทอดและเห็นคุณค่าความสำคัญ และการเปิดโอกาสของคนในชุมชนที่มองเห็นศักยภาพของเยาวชน มีการรวมกลุ่มกันตั้งกองทุนเพื่อเป็นสวัสดิการให้น้องๆ อาทิ เจ็บป่วย เป็นต้น

กลุ่มเยาวชนบ้านหัวนา โครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนต้นน้ำบ้านหัวนา เห็นป่าชุมชนเริ่มเสื่อมโทรมลงไปจึงรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยกันฟื้นฟูร่วมกับผู้ใหญ่โดยช่วยสำรวจพื้นที่ป่าเพื่อให้เห็นความสำคัญของป่าบ้านหัวนา

กลุ่มเยาวชนไทลื้อบ้านหนองบัว โครงการเรียนรู้เครือญาติและการสืบเสาะเรื่องราวภาพแห่งอดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนไทลื้อในอดีตที่เริ่มเลือนหาย เด็กๆ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงใช้เครื่องมือผังเครือญาติและภาพเก่าเล่าเรื่องมากระตุ้นให้เยาวชนรู้จักรากเหง้าและเครือญาติของตนเองผลที่เกิดขึ้นเด็กๆ รู้จักอดีตของบ้านหนองบัวมากขึ้นและรู้สึกภาคภูมิใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

­

­

การหนุนงานของสยามกัมมาจล...

คุณกิตติรัตน์ ปลื้มจิตร เจ้าหน้าที่โครงการ จากมูลนิธิสยามกัมมาจลเผยถึงการหนุนงาน 14 เดือนให้กับ 4 องค์กรว่า
“ทางเรามีการหนุนการดำเนินงานของ 4 จังหวัด หนุนให้ทำ จัดการความรู้ สื่อสารสังคม และพัฒนาศักยภาพ
...ตั้งแต่ต้นน้ำ ก่อนลงค้นหาเยาวชน จัดเวทีที่สำคัญ เวทีกำหนดวิสัยทัศน์โครงการมีการแชร์วิสัยทัศน์ร่วมกัน จากนั้นทีมได้ลงไปในพื้นที่เพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัทธ์
....และมีกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน เรียนรู้ข้ามจังหวัด ทำให้เกิดการขยับงานในพื้นที่มากขึ้น
....เวทีพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงในการทำงานกับเยาวชน เกิดเวที 4 ครั้งโดยเษมสิขาลัย อาทิ ออกแบบการเรียนรู้ สรุปบทเรียน เพื่อเรียนรู้การเป็นโค้ช(พี่เลี้ยง)
....นอกจากนี้ยังมีเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการทำงาน โครงการพัฒนาเยาวชนระดับจังหวัดเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่
....ที่สำคัญมีการถอดบทเรียน กรอบในการจัดภาพการเรียนรู้การทำโครงการของเด็กในมิติไหนบ้างในรายโครงการ
...การถอดบทเรียนที่เป็นคนนอกไปต้องคำถามรีเฟคชั่นทำให้เกิดการเรียนรู้อีกมุมหนึ่
...การสื่อสารสังคม หลังจากได้เรื่องราวการเรียนรู้ของน้องๆ ส่งเผยแพร่ออกไปทันที
สรุปผลการดำเนินงาน มีพื้นที่ทำงาน 4 องค์กร 8 จังหวัดมีพลเมืองเยาวชน Active Citizen จำนวน 280 คน 

­

­

“โจทย์ที่ให้น้องทำเป็นโครงการของน้องหรือโครงการของเรา เป็นสิ่งที่พี่เลี้ยงต้องตระหนักอยู่เสมอ”

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจ
กล่าวทิ้งท้ายให้แต่ละองค์กรกลับไปคิด 

­

­