The World Beach Day แลเล แลหาด ครั้งที่ 5
Nathchida Insaart

งาน "The World Beach Day แลเล แลหาด ครั้งที่ 5"
ณ ห้องประชุมสงขลาบอลรูม โรงแรมบีพี สมิหลา บีชสงขลา และหาดชลาทัศน์-เก้าเส้ง ในวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558

­

­

คุณค่าอันยิ่งใหญ่ของหาดสมิหลา คุณค่าเยาวชน

"....วันนี้เยาวชนทั้ง 3 กลุ่ม จาก 30 กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ได้สนใจระบบธรรมชาติของหาดสมิหลาที่อยู่คู่บ้านเมืองเรามานาน ได้นำองค์ความรู้เรื่องระบบนิเวศน์หาดทรายมาเผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น คนไทยจะได้เข้าใจระบบหาดทรายเกี่ยวข้องกับชีวิตได้อย่างลุ่มลึก..
...ขอให้เชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนที่จะร่วมปกป้องทรัพยากรสงขลาได้อย่างทัดเทียมผู้ใหญ่เพียงผู้ใหญ่เปิดโอกาสและให้กำลังใจ"
คุณค่าอันยิ่งใหญ่ของหาดสมิหลา รายงานโดย อ.พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม เป็นการเปิดเวทีในเช้านี้

­

­

สถานการณ์หาดสมิหลาวันนี้
เริ่มช่วงแรกเปิดเวทีด้วยผลการศึกษาและติดตามสภาพหาดสมิหลาทั้งระบบโดยกลุ่มพลังพลเมืองเยาวชน
"จากสถานการณ์ชายหาดสมิหลาที่มีปัญหามายาวนานการแก้ไขปัญหาด้วยโครงสร้างแข็ง หรือ วิธีการอื่นใด ยังไม่เห็นทางออกของปัญหา
...จึงคิดว่าน่าจะมีภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมเพื่อศึกษาสภาพปัญหาหาด ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้จะได้เป็นความรู้ของท้องถิ่น จึงได้ร่วมมือกับสงขลาฟอรั่มเริ่มเก็บข้อมูลชายหาด โดยมีเยาวชนกลุ่ม Beach For Life และThe Sand เป็นแนวร่วมสำคัญในการเก็บข้อมูลมากว่าสามปี"
กล่าวถึงสถานการณ์หาดสมิหลาในปัจจุบัน โดยผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ที่ปรึกษากลุ่มพลเมืองเยาวชนสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

­

    

การเฝ้าระวังหาดทรายของกลุ่ม The Sand
"การเป็นพลเมืองจะต้องมุ่งมั่น เราภูมิใจที่ได้ร่วมอนุรักษ์สงขลาให้ยั่งยืน.."

นี่คือคำพูดของกลุ่ม The Sand ที่ส่งท้าย การนำเสนอผลการดำเนินโครงการเฝ้าระวังและติดตามหาดสมิหลา กรณีศึกษาเรืออรพิณ 4 เป็นโครงการเพื่อเฝ้าระวังหาดทรายของชุมชน ตลอดการเก็บข้อมูลตลอดสามเดือนพบว่าหลังกู้เรืออรพิณ 4 ออกไป ชายหาดมีการซ่อมแซมตัวเองอยู่เรื่อยๆ จนกลับคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชายหาดได้อีกวิธีหนึ่ง

­

­

อายุเท่าไหร่ ที่เราจะสามารถทำหน้าที่ "พลเมือง" ที่ตื่นตัว ตื่นรู้ และมีส่วนร่วมในการปกป้อง ดูแล แผ่นดินเกิดของตัวเองได้ อย่างมีคุณภาพ
เยาวชนพลเมืองสงขลา กลุ่มThesand นักเรียน ม.5-ม.6 เป็นตัวอย่างหนึ่ง YoungCitizen ที่ได้ทำโครงการเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบการเกยตื้นของเรืออรพิน ด้วยเครื่องมือ ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการวิจัย ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผล จนสามารถนำมาบอกเล่าได้อย่างชัดเจนเป็นระบบ เป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ และข้อมูลสำคัญที่นำมาใช้อ้างอิงสนับสนุนข้อเสนอในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา อยู่ในขณะนี้ 

­

Beach For Life
เด็กๆ ได้ชวนคนสงขลาเข้ามาเรียนรู้และร่วมกันติดตามสภาพหาดสมิหลา โดยการใช้เครื่องมือในการติดตามสภาพหาดสมิหลา ผลที่ได้คือ"ข้อมูลหาดสมิหลาทั้งระบบ" จะเป็นข้อมูลสำคัญของเมืองสงขลาเพื่อใช้ในการตัดสินใจดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหาดสมิหลาในอนาคต
การนำเสนอผลการศึกษาและติดตามสภาพหาดสมิหลาทั้งระบบ โดยกลุ่ม Beach For Life โครงการหาดเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นผลจากการลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันระหว่างสภาพลเมืองเยาวชนสงขลากับเทศบาลนครสงขลา โดยนายสมศักดิ์ ตัณติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา

­

­

"สิทธิ หน้าที่ตามกฏหมายคือประชาชนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐ.."
ปัญหากฏหมายไทย การกระจายอำนาจ
การบอกเล่าถึงสิทธิพลเมืองในการมีส่วนร่วม กรณีการอนุรักษ์หาดสมิหลา โดยกลุ่ม Crescent Moon Lawyers ว่าที่นักกฏหมายอาสาฯ และ โครงการ Law Long Beach ศึกษากฏหมายเพื่อคุ้มครองหาดทรายอย่างยั่งยืน