​พรมแดนความรู้เรื่องการเรียนรู้นั้นกว้างขวาง
เจ้าหน้าที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล

การออกแบบโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่และ young active citizen ที่ทำงานมา 7 ปีร่วมกับภาคีเครือข่าย สิ่งสำคัญนั้นเชื่อว่า

1. การเรียนรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในโลกจริง การได้คิดเอง ทำเอง ทำงานเป็นทีม สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลาย ตามโจทย์ปัญหาของผู้คนในชุมชน ที่ทำงาน ที่บ้าน กลุ่มอาชีพ (learning from the real world situation)

­

2. การเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดขึ้น ช่วง ‘ภาวะสั่นคลอน’ ‘ตัวตนถูกท้าทาย’ นำมาซึ่งห้วงเวลาแห่งการคิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง นำพาการเปลี่ยนแปลง (transformative learning)

คำถามอันทรงพลังของโคช ที่มาถูกที่ ถูกจังหวะ ถูกเวลา จะเกิดขึ้นเมื่อถึงวาระแห่งการเปลี่ยนแปลง

­

­

3. การเรียนรู้เป็นการฝึกฝน ฝึกตน ฝึกนิสัย ทำซ้ำๆด้วยความมุ่งมัน ตั้งใจ อดทนจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย ยอมฝืนใจเพื่อเปลี่ยนตัวเองในหลายๆเรื่อง (Character building)

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเส้นทางการเรียนรู้ (learning journey) ในการทำโครงการเพื่อชุมชนหรือโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและโครงการอื่นๆ ที่เยาวชนจะได้เรียนรู้มากมาย...จากการจัดการตัวเองทั้งภายในและภายนอก เรียนรู้จากเพื่อนที่แตกต่างในการทำงานเป็นทีม และเรียนรู้จากการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ วางแผนและลงมือแก้ปัญหาในงานที่เป็นโจทย์ปัญหา ความรู้สึก ความต้องการของผู้คน

#learningdesign
#learningjourney
#ต่อกล้าให้เติบใหญ่ต่อยอดไอเดียคนรุ่นใหม่ใช้ได้จริง
#youngactivecitizen

ขอบคุณพี่สาวที่มาช่วยออกแบบการเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียนเยาวชนต่อกล้าให้เติบใหญ่ปี 6 อย่างเมามันส์ Kwanhatai Somkaew Weerawan Kang

จาก https://www.facebook.com/joepluemjit/posts/2219200928130981

­

­